Back

เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาประจำโครงการ Freedom Home

เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาประจำโครงการ Freedom Home

: The Exodus Road

: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

: 1291

: 28 September 2021

29 October 2021

The Exodus Road  คือองค์กรไม่แสวงกำไร ทำงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพื้นที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย ทั้งอินเดีย อาเซียนรวมถึงประเทศไทย สำหรับประเทศไทยนั้นเราได้ดำเนินกิจกรรมด้านการป้องการ และปราบปรามการ ค้ามนุษย์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 และได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน มูลนิธิฯได้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์กับกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับและปราบปรามการค้ามนุษย์ว่า ด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนพ.ศ. 2552

 

เรากำลังมองหาเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาที่มีทักษะและประสบการณ์ เพื่อมาร่วมดูแลผู้เข้าร่วมโครงการที่เคยตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ สำหรับหน้าที่ในตำแหน่งนี้เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษานั้นจะทำหน้าที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจผลกระทบจากบาดแผลทางใจของพวกเขาที่ส่งผลต่อ จิตใจ, ร่างกาย, อารมณ์ ของพวกเขา และช่วยให้พวกเขาพัฒนากลไกสำหรับการเผชิญปัญหา และแผนความปลอดภัยเพื่อตัวของพวกเขา ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาก็จะต้องช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถที่จะตัดสินใจเลือกเกี่ยวกับความปลอดภัยทางร่างกายและอารมณ์ของพวกเขาเหล่านั้น และแนะนำการฝึกอบรมและงานที่เหมาะสมให้กับพวกเขา เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาประจำโครงการฟรีด้อมโฮมจะต้องทำความเข้าใจในผลกระทบทางใจของแต่ล่ะคน และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับ แม่บ้าน และ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ และสามารถที่จะวิเคราะห์ความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ และทักษะในการทำงานร่วมกับภายในองค์กรณ์, ภาคเอกชน, ภาครัฐ, และ NGO

 

วัตถุประสงค์ของงาน : เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษานั้นจะต้องใช้ความรู้ในหลายสาขาอาชีพเพื่อในการที่จะช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และผู้ที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก. เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษานั้นทำการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการที่รับตัวมาใหม่เบื้องต้นร่วมกับทางสถานพยาบาล และให้คำแนะนำในการดูแลและการรักษาในลำดับถัดไป. เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษานั้นจะทำหน้าที่ในการดูแลการรักษาสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ล่ะคนที่มีบาดแผลทางใจในทุกๆสัปดาห์ ควบคู่ไปกับการรักษากับทางสถานพยาบาลที่ได้กำหนดไว้ ตลอดจนถึงการจิตบำบัดแบบกลุ่มร่วมกับผู้ที่มีบาดแผลทางใจคนอื่นๆ, การช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโครงการที่อยู่ในในยามวิกฤติ, และให้การสนับสนุนทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ; ควบคู่ไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการรักษาสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน. นอกจากงานในการให้คำปรึกษาแล้ว, เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษายังจะต้องช่วยสนับสนุนนักสังคมสงเคราะห์ในการสอนทักษะพื้นฐานต่างๆ, การฝึกอบรมทางธุรกิจ, และช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการค้นพบเส้นทางอาชีพของตนเอง

พื้นที่ในการปฏิบัติงาน : จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

รายงานตรงกับ : เจ้าหน้าประสานงานโครงการ AFTER CARE

 

เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาประจำโครงการ Freedom Home (บ้านอิสระ)

 

มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนา, ดำเนินการ, ทบทวน และดูแลโครงการนำร่องที่ให้การสนับสนุนหลังการช่วยเหลือให้กับเหล่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในประเทศไทย

เราตระหนักดีว่าเหยื่อของการค้ามนุษย์แต่ล่ะคนนั้นมีเรื่องราวของตนเองที่ต่างกันไป, ถึงแม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีอดีตที่ยากลำบาก แต่ มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ เชื่อว่าหากพวกเขาเหล่านั้นสามารถที่จะเข้าถึงความปลอดภัย, การเยียวยารักษา, และโอกาส พวกเขาเหล่านั้นก็สามารถที่จะก้าวข้ามและไปสู่อนาคตที่มีความหวังได้ และเมื่อคำนึงถึงสิ่งเหล่านั้นแล้ว, โครการหรีด้อมโฮมจึงเป็นสถานที่ที่รวบรวมเหล่าผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์มาไว้เพื่อที่จะมาดูแล, หาวิธีการต่างๆที่มีความยืดหยุ่นสูงและเหมาะสม ที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึงเหยื่อที่ได้รับบาดแผลทางใจเหล่านั้นได้, จำกัดขอบเขตในการสนับสนุน, และโครงการในการช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นกลับสู่สังคมแบบรายบุคคลโดยอิงจากสิทธิ์, การเยียวยารักษาและทางเลือกของพวกเขาเหล่านั้น  

 

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก

 

ดำเนินการประเมินทางสถานพยาบาลและให้คำแนะนำในการรักษา

  • ให้คำปรึกษาทางด้านบาดแผลทางใจแบบรายบุคคลในทุกๆสัปดาห์
  • ทำการการประเมินด้านชีวจิตสังคม (biopsychosocial) อย่างครอบคลุม
  • ใช้มาตรการทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน เช่น PCL 5 สำหรับอาการ PTSD และ PHQ-9 สำหรับภาวะซึมเศร้า
  • ทำการประเมินความปลอดภัย และความเสี่ยงของผู้เข้าร่วมโครงการ, และวางแผนความปลอดภัยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย, ก้าวร้าว, หรือทำร้ายตนเอง
  • ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆในการวางแผนการรักษาแบบองค์ร่วมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
  • หากมีความจำเป็น ให้จัดหาการรักษาจากนอกองกรณ์ที่มีความเป็นมืออาชีพ และเชื่อถือให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ และประสานงานกับผู้แนะนำการรักษาของสถานพยาบาล   

 

ดูแลในส่วนของการป้องกันภาวะวิกฤตของบาดแผลทางใจ, การเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤต, และค่อยติดตามภาวะวิกฤต

  • ให้การตอบสนองทันทีต่อวิกฤตในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางสถานพยาบาลและพฤติกรรมในโครงการ
  • คอยติดตามและเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤต และการวางแผนความปลอดภัยกับร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการ
  • ดำเนินการหารือเพื่อเข้าไปช่วยเหลือร่วมกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ และผู้เข้าร่วมโครงการ

 

เข้ารับการฝึกอบรม และใช้หลักสูตรการรักษาบาดแผลทางใจ

  • เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งหมด และดูแลผู้มีบาดแผลทางใจตามขั้นต้องของโครงการฟรีด้อมโฮม
  • เข้าร่วมการดูแลกับทางสถานพยาบาล ทั้งในรายบุคคลและแบบกลุ่มในทุกๆสัปดาห์
  • มีความมุ่งมั่นในการที่จะเข้าใจตัวเอง และมีทักษะในการสื่อสารกับกลุ่ม

 

เดินทางไปกับผู้เข้าร่วมโครงการเมื่อมีการดำเนินกระบวนการทางกฎหมาย

  • เดินทางร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะในช่วงกลางวันหรือกลางคืน เพื่อไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ในกรณีที่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าร่วมกระบวนการทางกฎหมายในชั้นศาล
  • ช่วยเหลือที่ปรึกษากฎหมายของผู้เข้าร่วมโครงการในการช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการเตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นศาล
  • ให้การสนับสนุนทั้งในด้านอารมณ์และจิตใจกับผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งก่อน, ระหว่าง, และหลังกระบวนการทางกฎหมาย

 

ช่วยในการปรับปรุงรูปแบบการบำบัดแบบกลุ่มที่มีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับต้องการของโครงการฟรีด้อมโฮม

  • ทบทวนรูปแบบของการบำบัดแบบกลุ่มในปัจจุบัน, เพื่อเสนอสิ่งที่ควรที่จะแก้ไข, และสร้างแผนการดำเนินงานสำหรับการแก้ไขนั้น
  • จัดทำเอกสาร และคู่มือสำหรับรูปแบบการรักษาของโครงการฟรีด้อมโฮม
  • วางแผนและดำเนินการบำบัดแบบกลุ่มในแต่ล่ะสัปดาห์ พร้อมรายงานผล

 

ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับทีมผู้บริหาร, นักสังคงสงเคราะห์, และแม่บ้านเพื่อให้การดูแลบาดแผลทางใจให้กับผู้อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง

  • เข้าร่วมการประชุมตามที่กำหนดไว้ เช่นการประชุมทีม, การฝึกอบรม, การประชุมกรณีศึกษา, และการประชุมสรุปของทีม เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ.

 

การเสริมสร้างทักษะและความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ

  • ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ล่ะคนฝึกทักษะพื้นฐานในด้านต่างๆเช่น ทักษะในการสื่อสารที่ดี, ความสามารถในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ, และวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
  • ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการค้นพบงานที่พวกเขาสนใจ และช่วยผลักดันเพื่อสร้างความพร้อมให้กับพวกเขา
  • เตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าร่วมโครงการจัดการกับความกดดัน และความคาดหวังทั้งในการทำงานและการเรียน ที่พวกเขาอาจจะพบเจอก่อนและในระหว่างการทำงานหรือเรียนของพวกเขา
  • ให้ความรู้ในเรื่องของโทษของสิ่งเสพติด
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในด้านต่างๆในที่ทำงาน
  • ช่วยผู้เข้าร่วมโครงการค้นหากิจกรรมที่เหมาะกับพวกเขา

 

สอนทักษะต่างๆที่จำเป็นในการใช้ชีวิต และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ และการเงินตามหลักสูตร

  • ประสานงานกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อจัดทำบทเรียนในเรื่องของทักษะต่างๆจำเป็นในการใช้ชีวิต เพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างปลอดภัยในทุกๆด้านสำหรับอนาคตของพวกเขา
  • ทบทวนความรู้ในเรื่องของทักษะต่างๆจำเป็นในการใช้ชีวิตให้กับผู้เข้าร่วมโครงการแต่ล่ะคนโดยให้สอดคล้องกับอาชีพและช่วงการศึกษาของแต่ล่ะคน
  • จัดการฝึกอบรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการในเรื่องของทักษะการจัดการธุรกิจ และการเงินในทุกๆสัปดาห์
  • ร่วมกันตรวจหาสิ่งที่ควรจะปรับปรุงในบทเรียนหรือความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการกับหัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในทีม
  • ดูแลและคอยติดตามเงินเดือนหรือค่าจ้างของผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อประโยชน์ของตัวพวกเขา

 

การจัดการความสัมพันธ์กับเหล่าผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

  • คอยช่วยเหลือและรักษาความสัมพันธ์เชิงบวกกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง, องค์กร NGOs อื่นๆ,  และนายจ้างในภาคเอกชน
  • ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ในการแนะนำอาชีพต่างๆ, การฝึกอบรมทักษะรอง, ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์, และทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งให้กับผู้เข้าร่วมโครงการทั้งในก่อนและระหว่างทำงาน, และแก้ปัญหาต่างๆร่วมกับนายจ้างเมื่อจำเป็น
  • ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผู้เข้าร่วมโครงการให้ไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้, พร้อมทั้งทบทวนแผนงาน และให้การช่วยเหลือตามความจำเป็น

 

การจัดเก็บเอกสารต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

  • เก็บรักษาเอกสารต่างๆของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ทั้งในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร และออนไลน์ เช่นเอกสารการประเมินเบื้องต้น, เอกสารบันทึกกรณีต่างๆ, แผนการรักษากับทางสถานพยาบาล, และอื่น ๆ
  • ใช้ทั้งเอกสาร และไฟล์ดิจิทัลในการบันทึกการเข้าไปช่วยเหลือ และความคืบหน้าของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
  • ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
  • แจ้งให้หัวหน้างานทราบหากพบความเป็นไปได้ในการพัฒนาบริการหรือเอกสาร

 

ส่วนงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบจะนำไปปรึกษากับหัวหน้างานของคุณตามความเหมาะสม

  • ดูแลกะการทำงานของแม่บ้านในแต่ล่ะสัปดาห์
  • ช่วยแม่บ้านเตรียมอาหารสำหรับคนในบ้านพัก
  • พาผู้เข้าร่วมโครงการไปยังสถานพยาบาล
  • ทำงานร่วมนักสังคมสงเคราะห์ในการประเมินครอบครัว และชุมชน

 

คุณสมบัติและทักษะด้านต่างๆ

ทักษะหลักที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้คือ 

  • มีทักษะในการสื่อสาร (การเขียน / การพูด) และความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • มีจรรยาบรรณส่วนบุคคล, ความซื่อสัตย์, ความหลากหลาย และความน่าไว้วางใจที่โปร่งใส
  • สามารถที่จะนำทางได้ ภายใต้ความคลุมเครือในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • มีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
  • มีความยืดหยุ่นและความแข็งแกร่งทางจิตใจ
  • เปิดใจและอดทนต่อผู้คนและสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
  • มีทักษะในการสังเกตและการตัดสินใจที่ดี
  • สามารถพัฒนาฐานอารมณ์ให้มั่งคง และจัดการกับความเครียดและความวุ่นวายทางอารมณ์ที่เกิดจากการทำงานกับผู้ที่มีบาดแผลทางใจได้
  • สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้
  • มีทักษะการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ที่ดี
  • มีทักษะการจัดการความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ดี
  • มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เคยเผชิญกับการกดขี่และมีบาดแผลทางใจ
  • มีกระบวรการทางความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และทักษะการแก้ปัญหาที่ดี
  • มีทักษะการพูดเพื่อเป็นตัวแทนให้กับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง
  • มีทักษะการทำงานเป็นทีมที่ดี
  • มีความกระฉับกระเฉง, ความยืดหยุ่น, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, และ การทำงานเชิงรุก; เป็นสมาชิกที่สามารถส่งสร้างการส่งเสริมในเชิงบวก และในเชิงประสิทธิภาพ ในการการฝึกอบรมเชิงกลยุทธ์ และในโครงการริเริ่ม
  • ทักษะในด้านภาษา: มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษ (หากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
  • ได้รับวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชา สังคมสงเคราะห์, จิตวิทยา หรือ สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ; และ/หรือ มีประสบการณ์ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้อง
  • มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปีในสายงานสังคมสงเคราะห์ หรือในงานให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์
  • มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษารายบุคคล 
  • มีความรู้ในการดูแลผู้ที่มีบาดแผลทางใจ และการรักษาสุขภาพจิต
  • มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้ที่มีบาดแผลทางใจ
  • มีประสบการณ์ในการเขียนบันทึกกรณีการรักษา, อื่นๆ 
  • สามารถที่จะทำงานร่วมกับองค์กรได้หลากหลาย ทั้งภาครัฐและเอกชน
  • มีความเชี่ยวชาญในโปรแกรม Microsoft Word และ Excel 
  • หากว่ามีประสบการณ์การในการทำงานในส่วนของโครงการดูแลหลังการรับตัวจะพิจารณาเป็นพิเศษ

 

ขั้นตอนการสมัครและสัมภาษณ์


ขั้นตอนที่ 1 ในการสมัคร : ส่งเอกสารตามที่ระบุในด้านล่างนี้เข้ามาทางอีเมล์ karn@theexodusroad.com หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 065-9897525

- จดหมายแนะนำตัว

- เรซูเม่ (ประวัติส่วนบุคคล, การศึกษา และการทำงาน)

- บุคคลอ้างอิง


ขั้นตอนที่ 1 ในการสัมภาษณ์: เข้ารับการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว, สถานที่จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
ขั้นตอนที่ 2 ในการสัมภาษณ์: การสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ และหรือการประชุมผ่านระบบ VDO Call

 

The Exodus Road เป็นผู้ว่าจ้างที่ให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ The Exodus Road ไม่ได้สังกัดอยู่กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และจะไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเชื้อชาติ, สีผิว, ศาสนา (ลัทธิ), เพศ, การแสดงออกทางเพศ, อายุ, ถิ่นกำเนิด (บรรพบุรุษ), ความทุพพลภาพ, สถานภาพการสมรส, รสนิยมทางเพศหรือสถานะทางการทหารในกิจกรรมหรือการปฏิบัติการใดๆ. หากท่านมีความต้องการที่จะสมัคร, กรุณาส่งเอกสารตามที่ได้กำหนดไว้ ตำแหน่งนี้พร้อมสำหรับการจ้างงานทันที, โดยพิจารณาการสมัครเป็นรายบุคคล

Contact : karn@theexodusroad.com / 065-9897525


ผู้ประสานงาน / Coordinatorเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน / Officer