: มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.)
: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
: 1041
: 11 March 2021
19 March 2021
การจัดจ้างวิทยากร
เพื่ออบรมการผลิตสื่อสังคม (Social Media) ให้กับเด็กและเยาวชน
สำหรับกิจกรรมเวทีเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
ภายใต้โครงการ SEAS of Change Phase II
ความเป็นมา
มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) เป็นภาคีในการดำเนินโครงการ Stopping Exploitation through Accessible Services ระยะที่ 2 (SEAS of Change Phase II) ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การ แพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศกัมพูชา และองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสวีเดน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก Sida CIVSAM เป็นระยะเวลา 3 ปี (2562-2565) ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน เป้าหมายหลักของโครงการ คือ เสริมพลังความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคประชาสังคมทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนข้ามชาติเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยการผลักดันเชิงนโยบายกับภาครัฐทั้งสองประเทศ โดยโครงการฯมีพื้นที่ในการดำเนินงานในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ระยอง ตราด และสมุทรสาคร
สำหรับการดำเนินโครงการระยะที่ 2 (กรกฏาคม 2562 – มิถุนายน 2565) ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปีนั้น ภายใต้ผลลัพธ์ที่ 3 มุ่งหวังให้ภาคประชาสังคม รวมถึงเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชน ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพ เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนข้ามชาติโดยเฉพาะเด็กหญิงและเยาวชนผู้หญิง ได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและเป็นบริการที่มีความเท่าเทียมทางเพศ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน
โครงการฯ มีแผนในการจัดกิจกรรมเวทีเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ช่วงตั้งแต่
เดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม 2564 โดยส่งเสริมให้โอกาสเด็กและเยาวชนชาวไทยและชาวกัมพูชาที่ศึกษา/อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งเด็กและเยาวชนกัมพูชาจากประเทศกัมพูชาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ประสบการณ์การเรียนรู้ สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายใต้สถานการณ์โควิด-19 และร่วมกันร่างข้อเสนอแนะ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสิทธิบริการทางสังคมขั้นพื้นฐานต่อไป
ในการนี้ ทางโครงการฯ มีแผนจัดอบรมทักษะการผลิตสื่อสังคม (Social Media) ให้กับเด็กและ
เยาวชนในพื้นที่เป้าหมายสำหรับกิจกรรมเวทีเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
วัตถุประสงค์กิจกรรม
เพื่อจัดอบรมทักษะการผลิตสื่อสังคม (Social Media) ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนข้ามชาติ อายุ 14-18 ปี สำหรับกิจกรรมเวทีเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ในรูปแบบ face-to-face หรือ ออนไลน์ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19) จำนวน 2 รุ่น และมีเด็กและเยาวชนจำนวน 20 คน/รุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมตัวแทนเด็กและเยาวชนในการเข้าร่วมกิจกรรมเวทีเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศไทย-กัมพูชาต่อไป
รายละเอียดงาน
No. |
รายละเอียด |
ช่วงเวลา |
หมายเหตุ |
1 |
ประชุมกับทีมเพื่อร่วมกันออกแบบแผนการอบรม (เน้นทำสื่อสังคม เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กได้ส่งเสียงและเสนอแนะ ให้พวกเขาได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและเป็นบริการที่มีความเท่าเทียมทางเพศ) |
สัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม 2564 |
|
2 |
ส่งร่างแผนการอบรม |
สัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม 2564 |
|
3 |
สรุปแผน/กำหนดการจัดอบรม และเตรียมจัดกิจกรรมอบรม |
สัปดาห์ที่สี่ของเดือนมีนาคม 2564 |
|
4 |
จัดกิจกรรมอบรม |
จัดกิจกรรมอบรม จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 2 วัน (วันแรก: สร้างสัมพันธภาพ วันที่สอง: อบรมการผลิตสื่อสังคม)
|
รุ่นที่ 1: 27-28 มี.ค. 64 รุ่นที่ 2: 3-4 เม.ย. 64 |
5 |
ประชุมสรุปงาน/ถอดบทเรียน |
ภายในสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน 2564 |
|
สิ่งส่งมอบ
1. แผน/กำหนดการจัดอบรม โดยครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้
1.1 แนะนำ Online Platform ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละ Platform
1.2 การจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับข้อกำหนดของแต่ละ Platform
1.3 การเลือกเนื้อหา หรือสร้าง content ที่สร้างสรรค์ โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
1.4 วิธีการสร้างสื่อที่ใช้ เช่น การถ่ายคลิป การตัดต่อ หรือการทำกราฟฟิค ภาพนิ่งประกอบวิดีโอ เป็นต้น ผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นอย่างง่ายๆ ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี แบบไม่ติดลิขสิทธิ์ (เน้นการทำงานด้วยมือถือเป็นหลัก)
1.5 วิธีการ หรือเทคนิกในการโพสต์ เพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย การยิงแอด การเลือกช่วงเวลาโพสต์
1.6 ข้อความระวังด้านจริยธรรม ความปลอดภัย การละเมิดสิทธิผู้อื่น
1.7 แนวทางการรับมือผลตอบรับด้านบวก และด้านลบ เช่น จากการโดนบูลลี่ ละเมิด หรือคุกคาม
2. การจัดอบรม
2.1 ดำเนินการจัดอบรมตามหัวข้อเบื้องต้น โดยหากเป็นการอบรม Online อาจจะต้องมีสื่อประกอบ เผื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถดูย้อนหลังได้ (ในกรณีเกิดปัญหาจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต เป็นต้น)
คู่มือการอบรม : จัดทำคู่มือการอบรมโดยครอบคลุมหัวข้อข้างต้น ในรูปแบบ e-file
คลิปวิดีโอกิจกรรมสั้นๆ เพื่อจะนำมาใช้เป็น เรื่องราวความสำเร็จเล็กๆ ของเด็กและเยาวชน จากการจัดอบรมแต่ละครั้ง จำนวน 2 คลิป คลิปละประมาณ 10 นาที
คุณสมบัติของผู้สมัคร
สามารถสร้าง platform จัดอบรม face-to-face หรือ ออนไลน์ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19) สอนเด็กและเยาวชน ในการเขียนเนื้อหา การทำคลิป การตัดต่อวิดีโออย่างง่าย และการโพสต์วิดีโอคลิป หรือสื่อต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
มีทัศนคติในการทำงานกับเด็กและเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ และเคารพความหลากหลายของคนอื่น
ส่งใบสมัครมาที่
หากผู้ใดสนใจ กรุณาส่งประวัติและตัวอย่างผลงานบางส่วน รวมทั้งแนวคิดในการจัดกิจกรรมและงบประมาณ มาที่คุณมงคล สุวรรณศิริศิลป์ อีเมล: mongkol00@gmail.com และ คุณศศิวรา ตุลยายน อีเมล: sasivara.tulyayon@plan-international.org ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2564