Back

แถลงการณ์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวแคมเปญระดับโลก “Protect the Protest” เพื่อปกป้องสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมที่กำลังถูกคุกคามทั่วโลก

30 July 2022

538

แถลงการณ์  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวแคมเปญระดับโลก “Protect the Protest”  เพื่อปกป้องสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมที่กำลังถูกคุกคามทั่วโลก

Amnesty International launches global campaign to confront unprecedented worldwide threat to the right to protest

The right to protest is under unprecedented and growing threat across all regions of the world, Amnesty International said today, as the organization launched a new global campaign to confront states’ widening and intensifying efforts to erode this fundamental human right.

From Russia to Sri Lanka, France to Senegal, and Iran to Nicaragua, state authorities are implementing an expanding array of measures to suppress organized dissent. Protesters across the globe are facing a potent mix of pushbacks, with a growing number of laws and other measures to restrict the right to protest; the misuse of force, the expansion of unlawful mass and targeted surveillance; internet shutdowns and online censorship; and abuse and stigmatization. Meanwhile, marginalized and discriminated groups are subjected to even further barriers.

Amnesty International’s “Protect the Protest” campaign will challenge attacks on peaceful protest, stand with those targeted and support the causes of social movements pushing for human rights change.

“In recent years we have seen some of the biggest protest mobilizations for decades. Black Lives Matter, MeToo, and the climate change movements have inspired millions the world over to take to the streets and online to demand racial and climate justice, equity and livelihoods, and an end to gender violence and discrimination. Elsewhere, people have stood up in their thousands against police violence and killings, state repression and oppression,” said Agnès Callamard, Amnesty International’s Secretary General. 

“Almost without exception, this wave of mass protest has been met with obstructive, repressive and often violent responses by state authorities. Instead of facilitating the right to protest, governments are going to ever greater lengths to quash it. This is why, as the world’s biggest human rights organisation, we have chosen this moment to launch this campaign. It’s time to stand up and loudly remind those in power of our inalienable right to protest, to express grievances, and to demand change freely, collectively and publicly."

 

Restrictive legislation, blanket bans, and emergency powers

A range of issues including the environmental crisis, growing inequality and threats to livelihoods, systemic racism and gender-based violence have made collective action ever more necessary. Governments have responded by introducing legislation imposing illegitimate restrictions on the right to protest. For example, we have seen blanket bans on protests, as seen in Greece and Cyprus during the Covid-19 pandemic. In the UK, a new law contains provisions providing police officers with wide-ranging powers, including the ability to ban ‘noisy protests’, while in Senegal, political demonstrations in the centre of Dakar have been banned since 2011, precluding protests near government buildings.

Governments of all kinds are also increasingly using emergency powers as a pretext to clamp down on dissent. This was seen at the height of the Covid-19 pandemic in countries including Thailand, while in the Democratic Republic of Congo, a government-imposed ‘state of siege’ has provided military and police officers with extensive powers to restrict protest in the provinces of Ituri and North Kivu since May 2021.

 

Demonization of protestors

Governments across the world are justifying restrictions by arguing that protest constitutes a threat to public order and by stigmatizing protesters; branding them “troublemakers”, “rioters”, or even “terrorists”. By casting protesters in this light, authorities have justified zero-tolerance approaches: introducing and misusing vague and draconian security laws, deploying heavy handed policing, and taking pre-emptive deterrent measures. 

This approach was witnessed in Hong Kong, where the National Security Law and its expansive definition of “national security” have been used arbitrarily, among other things, to restrict protest.

And, in India, the anti-terror Unlawful Prevention (Activities) Act (UAPA) and the crime of “sedition”, have been used repeatedly against peaceful protesters, journalists, and human rights defenders.

 

Militarization of policing

While governments have long relied on aggressive tactics to police protests, security forces have increased the amount of force they use in recent years. 

So-called less lethal weapons, including batons, pepper spray, tear gas, stun grenades, water cannons, and rubber bullets are routinely misused by security forces. And, since the early 2000s, Amnesty International has documented a trend towards the militarisation of state responses to protests, including the use of armed forces and military equipment. In countries including Chile and France security forces in full riot gear are often backed by armoured vehicles, military-grade aircraft, surveillance drones, guns and assault weapons, stun grenades and sound cannons. 

During the mass uprising that followed the 2021 coup in Myanmar, the military used unlawful lethal force against peaceful protesters. More than 2,000 people have been killed, according to monitors, and more than 14,000 arrested since the military seized power.

 

Inequality and discrimination

People who face inequality and discrimination, whether based on race, gender, sexual orientation, gender identity, religion, age, disability, occupation, social, economic or migratory status are also more affected by restrictions on their right to protest and face harsher repression.  

For example, women, LGBTI and gender-non-conforming people are facing different types of gender-based violence, marginalization, social norms and legislation.  In countries including Sudan, Colombia and Belarus, women have been sexually assaulted for participating in protests, while in Turkey, for example, Pride marches have been banned for years. 

“Our campaign comes at a critical juncture. The precious right to protest is being eroded at a terrifying pace, and we must do all we can to push back,” said Agnès Callamard. 

“Countless protesters have been killed in recent years, and it is partly on their behalf that we must now raise our own voices and defend our right to speak truth to power through protests in the streets and online.”

 

Background

 

The briefing, Protect the Protest!: Why we must save our right to protest, is available here.

International human rights law protects the right to protest through a number of separate provisions enshrined in various international and regional treaties which, taken together, provide protests with comprehensive protection. Even though the right to protest is not codified as a separate right in human rights treaties, when people engage in protests, whether individually or collectively, they are exercising a variety of rights, which can include the rights to freedom of expression and peaceful assembly.

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวแคมเปญระดับโลก “Protect the Protest”

เพื่อปกป้องสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมที่กำลังถูกคุกคามทั่วโลก

วันนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เปิดตัวโครงการรณรงค์ระดับโลกครั้งใหม่ เพื่อเผชิญหน้ากับความพยายามของรัฐที่ขยายตัวและเข้มข้นมากขึ้น ในการบั่นทอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อันได้แก่สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และยังขยายตัวขึ้นไปในทั่วทุกภูมิภาคของโลก

จากรัสเซียถึงศรีลังกา ฝรั่งเศสถึงเซเนกัล และอิหร่านถึงนิการากัว ทางการในประเทศต่างๆ ได้ใช้มาตรการเพิ่มขึ้นเพื่อปราบปรามการรวมตัวแสดงความเห็นต่าง ผู้ชุมนุมทั่วโลกกำลังเผชิญกับมาตรการกดดันครั้งสำคัญในหลายรูปแบบ ทั้งการประกาศใช้กฎหมายและมาตรการที่เพิ่มขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม การใช้กำลังโดยมิชอบ การเพิ่มการสอดแนมข้อมูลอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายในวงกว้างและเป็นรายบุคคล การสั่งปิดอินเตอร์เน็ต การเซ็นเซอร์ออนไลน์ การถูกข่มเหง และการถูกตีตรา ในเวลาเดียวกันกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบและถูกเลือกปฏิบัติต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เพิ่มขึ้น

การรณรงค์ Protect the Protest” (ปกป้องสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นการท้าทายต่อการโจมตีการชุมนุมโดยสงบ เป็นการยืนหยัดเพื่อคนที่ตกเป็นเป้าหมาย และสนับสนุนเจตจำนงในการต่อสู้ของขบวนการเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน

ดร.แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่สุดในรอบหลายทศวรรษ ขบวนการแบล็คไลฟ์แม็ทเทอร์ (Black Lives Matter) มีทู (Me Too) และขบวนการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนหลายล้านคนทั่วโลก ออกมาชุมนุมประท้วงบนท้องถนนและทางออนไลน์ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมด้านเชื้อชาติและสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมและการหาเลี้ยงชีพ การยุติความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติทางเพศสภาพ ในที่อื่นๆ ประชาชนได้รวมตัวหลายพันคนต่อต้านความรุนแรงและการสังหารโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การปราบปรามและการกดขี่ของรัฐ

“โดยแทบไม่มีข้อยกเว้น คลื่นมหาชนของผู้ชุมนุมประท้วงเหล่านี้ ต้องเผชิญกับการตอบโต้ที่มุ่งขัดขวาง ปราบปราม และมักใช้ความรุนแรงของทางการ แทนที่จะสนับสนุนการใช้สิทธิในการชุมนุม รัฐบาลได้พยายามมากขึ้นที่จะปราบปรามพวกเขา ซึ่งเป็นเหตุให้พวกเราในฐานะองค์กรสิทธิมนุษยชนใหญ่สุดของโลก ได้เลือกใช้ขบวนการนี้เพื่อเปิดตัวการรณรงค์ครั้งนี้ ถึงเวลาที่จะต้องลุกฮือขึ้น และประกาศด้วยเสียงดังต่อผู้มีอำนาจ เพื่อให้ทราบว่าเรามีสิทธิในการชุมนุมประท้วงที่ไม่อาจพรากไปได้ เพื่อแสดงออกถึงความทุกข์ยาก และเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอย่างเสรี จากการรวมตัวและอย่างเปิดเผย”

 

กฎหมายจำกัดสิทธิ คำสั่งห้ามแบบเหมารวม และอำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ปัญหานานัปการ ทั้งวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นและภัยคุกคามต่อการดำรงชีพ การเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ และความรุนแรงบนฐานเพศสภาวะ ต่างทำให้การรวมตัวของมวลชนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน รัฐบาลตอบโต้ด้วยการประกาศใช้กฎหมาย เพื่อใช้อำนาจควบคุมจำกัดสิทธิในการชุมนุมประท้วง ยกตัวอย่างเช่น เราต้องเผชิญกับคำสั่งห้ามการชุมนุมแบบเหมารวม อย่างในกรณีของกรีซและไซปรัส ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร มีการประกาศใช้ กฎหมายใหม่ ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งการสั่งห้ามการประท้วงที่ส่งเสียงดัง ส่วนใน เซเนกัล ทางการสั่งห้ามการเดินขบวนทางการเมืองที่ใจกลางเมืองดาการ์ ตั้งแต่ปี 2554 ทำให้ไม่มีการประท้วงใกล้กับอาคารที่ทำการของรัฐบาล

รัฐบาลในทุกประเภทยังอ้างสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มการใช้อำนาจในการปราบปรามผู้เห็นต่าง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การประกาศ ‘สถานการณ์ควบคุมพิเศษ’ ของรัฐบาล ให้อำนาจอย่างกว้างขวางกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ เพื่อสั่งห้ามการประท้วงในจังหวัดอีทูรีและคีวูเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 

 

การใส่ร้ายผู้ชุมนุม

รัฐบาลทั่วโลกต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยอ้างว่าเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อย โดยการตีตราผู้ชุมนุม ใส่ร้ายพวกเขาว่าเป็น “ผู้สร้างปัญหา” “ผู้ก่อจลาจล” หรือแม้แต่ “ผู้ก่อการร้าย” การกล่าวหาผู้ชุมนุมเช่นนี้ ทำให้ทางการมีเหตุผลมาสนับสนุนการใช้แนวทางที่เข้มงวดอย่างสุดโต่ง อันนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงที่มีเนื้อหาคลุมเครือและมีบทลงโทษที่รุนแรง และเป็นการใช้กฎหมายอย่างมิชอบ มีการใช้มาตรการควบคุมการชุมนุมอย่างเข้มงวด และการใช้มาตรการเพื่อป้องกันการประท้วงในรูปแบบต่าง ๆ 

เราได้เห็นแนวปฏิบัติเช่นนี้ในฮ่องกง มีการใช้อำนาจโดยพลการตาม กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ และคำนิยามของ “ความมั่นคงแห่งชาติ” ที่มีเนื้อหาอันกว้างขวาง เป็นเหตุผลให้นำมาใช้เพื่อจำกัดการชุมนุม และอื่น ๆ

ในอินเดีย กฎหมายป้องกัน (การดำเนินงาน) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (UAPA) และความผิดฐาน “ยุยงปลุกปั่น” ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาผิดกับผู้ชุมนุมโดยสงบ นักข่าว และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

การใช้อุปกรณ์และยุทธวิธีทางทหารเพื่อควบคุมฝูงชน

แม้รัฐบาลจะใช้ยุทธวิธีที่ก้าวร้าวมาอย่างยาวนานเพื่อควบคุมการชุมนุม แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองกำลังความมั่นคงได้เพิ่มการใช้กำลังมากขึ้น

สิ่งที่เรียกว่าอาวุธที่ไม่รุนแรงถึงชีวิต (less lethal weapons) รวมทั้งไม้กระบอง สเปรย์พริก แก๊สน้ำตา ระเบิดแสง ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนยาง ได้ถูกเจ้าหน้าที่นำมาใช้อย่างมิชอบอย่างสม่ำเสมอ และตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลแนวโน้มที่มุ่งสู่การเพิ่มกำลังทหารในการรับมือกาชุมนุม รวมทั้งการใช้กำลังทหารและอุปกรณ์ของทหาร ในประเทศต่างๆ อย่าง ชิลี และ ฝรั่งเศส กองกำลังความมั่นคงในชุดปราบจลาจลเต็มรูปแบบ มักปฏิบัติงานโดยใช้รถหุ้มเกราะ เครื่องบินแบบที่ใช้ทางการทหาร โดรนเพื่อสอดแนมข้อมูล ปืนและอาวุธที่ทำลายล้างอย่างอื่น ระเบิดแสงและปืนใหญ่คลื่นเสียง

ใน เมียนมา ระหว่างการชุมนุมภายหลังจากการทำรัฐประหารปี 2564 กองทัพได้ใช้กำลังที่ทำให้อันตรายถึงชีวิตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ ส่งผลให้มีประชาชนกว่า 2,000 คนเสียชีวิต และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 14,000 คนนับแต่กองทัพยึดอำนาจ

 

ความไม่เท่าเทียมและการเลือกปฏิบัติ

ประชาชนที่เผชิญกับความไม่เท่าเทียมและการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากเรื่องเชื้อชาติ เพศสภาพ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ศาสนา อายุ ความพิการ อาชีพ สถานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรือการเข้าเมือง ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากการจำกัดสิทธิในการชุมนุมประท้วง และต้องเผชิญกับการปราบปรามที่รุนแรงขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิง ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และผู้ที่มีความแตกต่างจากบรรทัดฐานทางเพศของสังคม (GenderNon-Conforming) ต่างต้องเผชิญกับความรุนแรงบนฐานเพศสภาวะ ถูกผลักให้อยู่ชายขอบ ต้องเผชิญกับบรรทัดฐานทางสังคมและกฎหมาย ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง ซูดาน โคลอมเบีย และ เบลารุส ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการเข้าร่วมชุมนุมประท้วง ส่วนใน ตุรกี ทางการได้สั่งห้ามการเดินขบวนไพรด์มาหลายปีแล้ว

ดร.แอกเนส คาลามาร์ด ยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้อีกว่า การรณรงค์ของเราเกิดขึ้นในจังหวะที่มีความวิกฤตอย่างยิ่ง สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมอันทรงคุณค่ากำลังถูกบั่นทอนลงอย่างรวดเร็ว และเราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อขัดขืนแนวทางนี้ให้ได้

“ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกสังหารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราต้องทำงานเพื่อพวกเขา และต้องส่งเสียงเพื่อปกป้องสิทธิของเราในการพูดความจริงต่อผู้มีอำนาจ ผ่านการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนและทางออนไลน์” 

 

ข้อมูลพื้นฐาน

เอกสารสรุป “ปกป้องการชุมนุม!: เหตุใดเราจึงต้องรักษาสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม” สามารถอ่านได้จากที่นี่ 

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศคุ้มครองสิทธิในการชุมนุม โดยมีข้อบทหลายประการที่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาของสนธิสัญญาระหว่างประเทศและภูมิภาค ซึ่งหากนำข้อบทเหล่านี้มาพิจารณารวมกัน จะให้ความคุ้มครองอย่างเป็นองค์รวมต่อการชุมนุม แม้ว่าสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมจะไม่ได้ถูกกำหนดเป็นสิทธิแยกต่างหากในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่เวลาที่ผู้คนเข้าร่วมในการชุมนุมทั้งในนามบุคคลหรือในนามกลุ่ม พวกเขากำลังใช้สิทธิต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบด้วย

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112