Back

โลกทัศน์ และการพัฒนา

27 May 2023

533

โลกทัศน์ และการพัฒนา



เมื่อวานผมเห็นเพื่อนๆ แสดงความห่วงใย De Simone กัน  พากันช่วยแชร์ ช่วยโพสต์ ช่วยแท็ก นานาต่างๆ จนประหลาดใจ และก็แอบซาบซึ้ง คงเพราะเห็นว่า ในกระแส ไวน์ สุรินทร์ ที่กำลังโด่งดัง มาแรง กลับไม่เห็น De Simone ในกระแสธาร หรือ ไม่มีปรากฏในสื่อ บนโต๊ะไวน์ ว่าที่รัฐบาล จริงๆ วันแรกที่เห็น หรือ ทราบข่าว ผมก็ประหลาดใจ แอบผิดหวัง พอสมควร แต่พอมาคิดๆ อีกที นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ การถูกทำหล่นหาย ถูกลืม หรือ ถูกปฏิเสธ ทั้งจาก จังหวัด งานช้าง งานเกษตรแฟร์ งานอีเว้นราชการ ต่างๆ จึงไม่แปลกใจ กับชะตากรรมที่ De Simone เดินมาตลอด 7-8 ปี

ถามว่าถอดใจไหม ที่ไม่ถูกมองเห็น ไม่ถูกเลือก  ไม่หรอกครับ  ด้วยความที่มันเดินมาด้วยความอุตสาหะ และด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนพี่น้อง ลูกค้าที่ได้สัมผัสรสชาติ ได้ฟัง ได้เห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ต่างช่วยแชร์ ช่วยเชียร์ รีวิว อุดหนุน มาตลอด เพราะ อาณาจักรของเครื่องดื่มประเภทหมัก อย่างไวน์ ผลไม้พื้นบ้าน ที่ไม่ใช่องุ่น เป็นอาณาจักรที่โดดเดี่ยวมาก ทั้งในปริมณฑลคนชอบดื่ม ก็ไม่เลือก หลายคนอ้างว่า ดื่มไม่เป็น ( ผมว่าไม่จริง แค่ไม่ชิน แลพไม่เข้าใจ บริบท หรือ รูปแบบความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของการดื่มไวน์ เท่านั้น ) แต่ไวน์ คือผลไม้ คือความเชื่อมโยงกับคนเยอะมาก โดยเฉพาะเกษตรกร กับคนทำอาหาร เพราะไวน์ ความอร่อยขึ้นอยู่กับ บรรยากาศ เพื่อนร่วมโต๊ะ อาหาร ดนตรี อารมณ์ และ ชนิดของไวน์ ถ้าเข้าใจถ่องแท้ จัดวางองค์ประกอบถูก ไวน์ มีเสน่ห์มากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ อาทิ ไม่เมามาย เสียสติ ต่างจากเหล้า หรือ เบียร์ ไม่คึกคะนอง ระห่ำ ไวน์ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น การสนทนาสนุกขึ้น ช่วยย่อย ช่วยปรุงอารมณ์ให้ละมุนมากขึ้น และทำให้หลับสบาย

นอกจากเกษตรกร ความเกี่ยวข้องของไวน์ยังโยงไปถึง อาหาร ดนตรี การสร้างงานในท้องถิ่น และการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ ต่างๆ ที่ผมพยายามริเริ่ม คือ การคัดเลือกไม้พื้นเมืองไทย มาทำถังบ่ม การสกัด หรือ ค้นหาวัตถุดิบที่นำมาเป็นเครื่องปรุง ทั้งให้รสฝาด ให้กลิ่นหอมละมุน ให้รสเปรี้ยว หรือ กรดมะนาว (
ACID ) รวมถึงให้สีสัน สวยงาม และ ที่ลืมไม่ได้ คือ ยีสต์ สายพันธุ์ไทย จริงๆ ทั้งที่ทนอุณหภูมิและให้รสให้กลิ่นที่มีเอกลักษณ์

 

ผมพยายามมาตลอดที่จะเขียน พูด และ แผ้วถางสร้างอาณาจักรไวน์ ผลไม้พื้นเมือง ให้เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นในการมาเยือนเมืองไทย ปีที่ผ่านมาจึงได้ลงไป เปิดตลาด และมีแผนร่วมทุน ขยายสาขาโรงบ่ม De Simone กับเพื่อน พ้อง น้องพี่ ทางภาสคใต้ เพราะที่นั่นมีผลไม้มากมาย และมีนักท่องเที่ยวทั้งปี ทั้งสองฝั่งอันดามันและอ่าวปี ทั้งหมดล้วนชอบผลไม้ไทย แต่เราไม่มีไวน์ผลไม้ไทยดีๆ เสิร์ฟ

 

ถ้าถามผม ว่าทำไม เรื่องดีๆ แบบนี้ถึงไม่เกิดขึ้นสักที ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศที่ สร้างรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว เราเป็นประเทศที่ประชากรเกือบ 80% มีอาชีพเกษตรกรรม และเราเป็นระเทศที่ ผจญวิบากรรม เรื่องราคาผลผลิตผันผวน ตกต่ำบ่อย มากกว่านั้น เราเป็นประเทศที่ ดาษดื่น หรือ อุดมไปด้วยงานเทศกาล ประเพณี ที่คนมักดื่ม การดื่ม เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย และนั่น เองที่ ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีมูลค่านับล้านล้านบาทต่อปี และ ถูกผูกขาดมายาวนาน ทั้งกฎหมายและอำนาจรัฐ ซึ่งนี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ผม เทคะแนน รวมถึงพยายาม ส่งเสียงเชียร์ นโยบายพรรคก้าวไกล

แต่เรื่องหนึ่งที่ผมทำมาตลอดแต่ไม่สำเร็จ คือ การกระตุ้นสำนึกคนไทย ให้หันมาเชียร แชร์ และ อุดหนุน ดื่มกิน สร้างโอกาสให้ธุรกิจ เล็กๆ หรือ วิสาหกิจชาวบ้าน เกิดและเติบโต หลายคนเป็นลูกหลานเกษตรกร มีญาติ มีพี่น้อง เป็นเกษตรกร ประเทศนี้ เป็นประเทศเกษตรกร แต่ ปัญหา หรือ ผลผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากไร่ สวน จากผืนดินกลับไม่มีอนาคตเลย เพราะเราติดค่านิยมแบรนด์ดัง ไวน์นอนก จึงไม่มีใครคิดสร้าง วัฒนธรรมจากสินค้าไทย ที่ผ่านมาไวน์พื้นบ้านกลายเป็นถูกกด ถูกทำให้ด้อยค่า แม้แต่กฎหมายเอง ยังบังคับให้เราเขียนติดฉลากว่า “สุราแช่” ซึ่งนั่นคือการทำให้สินค้าที่ควรจะถูกยกระดับ ดูต่ำต้อย โลคอล จนไม่อาจเลอค่าได้

 

วันนี้ การที่ผมได้เห็น เพื่อน พี่ น้อง ลุกขึ้นมาช่วย มาแชร์ จึงรู้สึกตื้นตันใจมาก โลกจะยอมรับสินค้าไทยหรือไม่ มันอยู่ที่ คนไทยยอมรับตัวเองก่อนหรือเปล่า นี่คือคำพูด นักธุรกิจไวน์ กัมพูชา พูดกับผม ตอนที่ผมไปหาตลาดไวน์ที่เสียมเรียบ กัมพูชา ถ้าคุณจะให้คนอื่นดื่ม กิน สินค้าคุณ คุณต้องให้คนในประเทศคุณกินก่อน ยอมรับก่อน ผมอดทนต่อสู้กับความหดหู่ สิ้นหวังมายาวนาน วันนี้จึงอิ่มเอมใจ เหมือนความหวังหรือแสงสว่างกำลังฉายฉาน ส่องมาที่ไวน์ไทย  เราสร้างประเทศได้ แต่ก่อนจะเริ่มเราต้องมองเห็นว่า โลกทัศน์เรา มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ ไวน์ผลไม้พื้นเมือง ก็เช่นเดียวกัน....

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112