ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

กลุ่มรักษ์บ้านแหง ยื่นคัดค้านการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ฉบับที่ 2 พร้อมจี้ให้อุตหกรรมจังหวัดเพิกถอนประทานบัตรเหมืองถ่านหิน

 

           24 พ.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มรักษ์บ้านแหง กว่า 100 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ในนามเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ถึงคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) เพื่อขอคัดค้านการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ฉบับที่ 2 และขอเรียกร้องให้การจัดทำแผนแม่บทฯ ตามเจตนารมณ์ของ พรบ.แร่

           ซึ่งเนื้อหาในหนังสือได้ระบุว่า พื้นที่บ้านแหงเหนือ อ.งาว จ.ลำปาง ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกกำหนดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองถ่านหิน เพียงเพราะเป็นพื้นที่ที่เคยมีการยื่นคำขอประทานบัตรเอาไว้แล้ว เพราะกระบวนการขั้นตอนในการยื่นขอประทานบัตรนั้นไม่ถูกต้องตามกระบวนการทางกฎหมาย พื้นที่มีการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรที่ไม่ถูกต้อง มีข้อเท็จจำนวนมากในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และในพื้นที่เป็นพื้นที่ต้องห้ามมาตรา 17 วรรค 4 อีกทั้งทิศทางและแนวนโยบายในระดับประเทศและระดับโลก ล้วนแล้วแต่กำลังมุ่งหน้าสู้การงดใช้พลังงานจากถ่านหิน ด้วยเหตุนี้จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่มีการกำหนดพื้นที่บ้านแหงเหนือ เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง

           และแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำแผนแม่บทฉบับนี้ยังคงให้ความสำคัญกับ “มูลค่าแร่” มากกว่าชีวิตของประชาชนในพื้นที่

           จึงขอให้ชะลอการใช้บังคับ (ร่าง) แผนแม่บทบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) เอาไว้ก่อน และขอให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติสั่งการให้คณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่กลับไปเริ่มกระบวนการสำรวจพื้นที่ใหม่ เพื่อดำเนินการจำแนกพื้นที่ศักยภาพแร่ และต้องกันเขตพื้นที่หวงห้ามที่กำหนดไม่ให้มีการทำเหมืองตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มาตรา 17 วรรคสี่ ออกก่อนจะนำพื้นที่มาพิจารณาตามหลักดุลยภาพ และกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง โดยต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันทั้งผู้สนับสนุนโครงการ และผู้ไม่สนับสนุนโครงการ ประกอบกับต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการตัดสินใจของประชาชนในพื้นที่อย่างครอบคลุม

           จากนั้นได้ยื่นหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัดลำปางเพื่อถามย้ำถึงการเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินในพื้นที่ หลังจากบริษัทฯเหมืองแร่ขอหยุดการทำเหมืองไปกว่า 5 ปี เนื่องจากไม่มีศักยภาพในการทำเหมือง หลังชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน และฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนใบอนุญาต

           โดยอุตสาหกรรมได้แจ้งต่อชาวบ้านว่าเรื่องการเพิกถอนประทานบัตรต้องรอคำสั่งศาลถึงจะสั่งการได้ และบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องกังวลหากแม่หลวง พ่อหลวง ยืนยันไม่ยินยอมให้ทำเหมือง บริษัทก็ทำไม่ได้ แต่เรื่องการขอยุติการทำเหมืองยินดีแสดงหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรต่อชาวบ้านในภายหลัง แต่ทางกลุ่มรักษ์บ้านแหงยืนยันรอเอกสารที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพราะหลายครั้งที่ผ่านมาในการยื่นหนังสือ อุสาหกรรมจังหวัดล้วนเพิกเฉยไม่ตอบคำถามชาวบ้าน

           น.ส.ชุทิมา ตัวแทนกลุ่มรักษ์บ้านแหง ได้ให้สัมภาษณ์ว่าการมายื่นหนังสือในวันนี้ รู้สึกดีที่พี่น้องกลุ่มรักษ์บ้านแหงได้มารวมกันอีกครั้ง และได้รับคำตอบที่ชัดเจนขึ้นจากอุตสาหกรรมจังหวัดก็ทำให้เบาใจมากขึ้นว่าทางบริษัทฯเหมืองแร่ ยังไม่สามารถทำเหมืองได้ และการมาในครั้งนี้ก็เป็นการแสดงออกครั้งสำคัญที่ยืนยันว่ากลุ่มรักษ์บ้านแหงจะไม่ยอมให้มีเหมืองแร่ในพื้นที่อย่างแน่นอน