Back

ปฏิบัติการแก่ปัญหาคนจน ตอนที่ 6  ไวน์ขบถ

25 February 2022

717

ปฏิบัติการแก่ปัญหาคนจน ตอนที่ 6  ไวน์ขบถ



การสร้างทัศนคติใหม่ ให้โลกของแบรนด์ท้องถิ่น คือ ความมุ่งมั่นลึกในใจมาตลอด เพราะประสบการณ์ ทำสินค้าจากบ้านนอกไปขายในเมือง อย่างแรกที่เราเจอเลย คือ สีหน้า สายตา และน้ำเสียงของความ ไม่แน่ใจ ไม่เชื่อใจ ไม่นิยม สินค้าบ้านนอก!!

คำว่า ท้องถิ่น พื้นเมือง บ้านๆ หรือแม้กระทั่ง คำว่า โอท็อป ชุมชน ( วิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ฯลฯ) ล้วนติดกับดักภาพลักษณ์  สารพัด อาทิ  ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกนิยม ไม่ศิวิไลซ์ ไม่เท่ห์  ไม่อยู่ในวิถีวัฒนธรรมของคนเมือง ไม่เป็นไปตามแบบแผนวิชาการ ฯลฯ

ผมจะเล่าเรื่องไวน์   กรณี ไวน์ผม ผม ใช้โอ่งหมักนั้น ก็จะถูกมองว่า ดูไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคเชื้อราแบคทีเรีย โรงบ่ม ที่ไม่ได้ฉาบผนัง ไม่ได้ปูพื้น ไม่มีฝ้าเพดาน แถมใช้สังกะสี ไม่มีพนักงานคอยเช็ดถูก ฆ่าเชื้อทุกวัน  พนักงาน ไม่ได้สวมชุด ปกป้องแบคทีเรีย ไม่มีนวัตกรรมความสะอาด อุปกรณ์ ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ไม่มีถังไม้โอ๊ค ไม่ใช้สแตนเลส ฯลฯ ทั้งหมด คือ กับดักทางวิชาการ และการสร้างมาตรฐานขั้นสูง ที่กีดกัน หรือผลักไส หรือ กดให้สินค้าท้องถิ่น ต่างๆ ตาย  หรือ กลับไปตายที่บ้าน อย่างช้าๆ

วิชาการ ต่างๆ ที่สร้างมา ในแง่หนึ่งก็สามารถปลดปล่อย ความไม่รู้ให้คน แต่ในด้านหนึ่ง ก็กด ให้คนไม่สามารถมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีหรือทางเดินทางได้ ในโลกของตลาดแบบทุนกำหนด จึงสร้างมาตรฐานกำกับด้วย วิชาการ เทคโนโลยี และ การจัดการ ให้เกิดความหมาย ที่เหนือกว่า อาทิ ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ปรุง หรือ ควบคุมการผลิตจากผู้เชี่ยวชาญ แบบว่า โคตรเชี่ยวชาญ มีใบรับรอง ต่างๆ ด้านอาหาร บลาๆ 

เราไม่มีทางเดิน.... วันนี้ ไม่คุยเรื่อง กฎหมาย และ อคติของรัฐ นะครับ

เวลาผมไปขาย ผมจึงแลกใจกับ ผู้ซื้อ ไปเลย ไม่ต้องพยายามจะอธิบาย ไวน์ผม แม่งโคตรมาตรฐาน ซึ่งมันไร้ขอบเขตและฆ่าตัวเราเอง แต่ผมจะบอกว่า ไวน์ผม ผมทำเอง เก็บจากป่า ขยำขยี้บี้แบนทุบสับ ด้วยมือสากๆ ของผมเอง ไม่ใช่เครื่องจักร หมักจากโอ่ง บ่มในเพิงโรงนา อุณหภูมิของโลก
!!

ผมพูดด้วยความภูมิใจในกระบวนการ อันเรียบง่าย ไม่มีภาษาวิทยาศาสตร์ หรือ คำอธิบายที่แนบอิงวิชาการ ต่างๆ ไปจนถึง มาตรฐานรสชาติไวน์แบบตะวันตก หรือ ของฝรั่ง ผมจะบอก ผู้ที่เปิดใจและอยากลิ้มลองไปเลยว่า “คุณเชื่อในความรู้สึกและรสสัมผัส คุณเองหรือเปล่า ?”  ไม่ใช่เชื่อ ตำรา หรือ ถ้อยคำ กูรู หรือ อะไรสักอย่างที่กะเกณฑ์ รส กลิ่น สี อันเป็นมาตรฐาน ถ้าคุณเชื่อ คุณชิม แล้วถามตัวเอง ว่าทานได้หรือเปล่า รู้สึกดี ในรสสัมผัสนั้นหรือเปล่า ? และ คิดว่า ราคากับรสชาติ สมเหตุสมผลหรือเปล่า ? ถ้าสมเหตุสมผล รับได้ ดื่มได้ ก็ควิกเงินมาซื้อ...

จากประสบการณ์ หลายปีที่ ตระเวนขาย พบปะ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่ม ค้นหาตัวเอง โดยไม่ยึดติด ความเชื่อ ฝังใจฝังจำ และมีอิสระในตัวเอง ไม่ยากที่จะเข้าใจใหม่ หรือ รู้สึกใหม่ ให้ความหมายใหม่ ที่มองผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ในแบบ เข้าใจถึงธรรมชาติของมัน

ผมจึงมักเรียก สิ่งที่ผลักดันนี้ ว่า การต่อสู้ และเรียกไวน์ผม ว่า ไวน์ขบถ เพราะถ้ายังวนเวียนพยายามจะเหมือนไวน์ฝรั่ง เราก็ไม่มีทางปลดแอก ออกจากปลอกคอ ยังก้มหน้าจำนนเป็นสินค้า ที่ลอกเลียน เจ้าแห่งวัฒนธรรม เราคนพื้นเมือง ต้องกล้าที่จะดื่ม อาจหาญที่จะอวด ที่อ้าง ธาตุแท้แห่งเมรัยที่เรานิยม เราชมชอบ และชื่นชมในผลิตภัณฑ์ที่มาจาก ผืนแผ่นดินเรา อากาศของเรา น้ำของเรา ลมของเรา แสงของเรา จึงได้มาซึ่งรสชาติ แบบเรา

ดังนั้น สำหรับ ผม แล้ว แค่คุณหยิบไวน์
De Simone ขึ้นมาริน อวดโลก คุณก็ไม่ใช่ทาสภายใต้อารยธรรมใครแล้ว....!!

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112