Back

งานพัฒนากับปัญหาปากท้อง

15 February 2022

1418

งานพัฒนากับปัญหาปากท้อง

หลายปีมานี้ ผมกลับมาครุ่นมาคิดเรื่อง งานพัฒนาหลังยุคเคลื่อนไหว ( Post Social Movement) สำหรับผมที่มองว่าในช่วงทศวรรษ 2530-2550 ราว 20 ปี หรือ 2 ทศวรรษนี้ ประเทศไทยมีพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก้าวกระโดดมาก ผลพวงจากการเปิดประเทศทำการค้า ผลพวงจากการเมืองที่คลี่คลายหลัง 66/2523 และอานิสงส์ เศรษฐกิจโลกที่ทุนนิยมขยายอาณาเขตไปทักหย่อมหญ้า ผลักเศรษฐกิจแม้แต่ระดับชุมชน ตื่นรวยมากขึ้น

หลายๆเงื่อนไขรวมกัน ขยับให้โลกทัศน์ระดับชาวบ้าน มองเห็นหนทางเดินเศรษฐกิจและการเมือง เชื่อมประสานกันเป็นฐานคะแนนเสียง กระแสนิยม และตื่นตัวมีสำนึกทางการเมือง มองเห็นว่า การแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้าง และมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว กดดัน เรียกร้องนโยบาย เกิดการเมืองหน้าทำเนียบ เกิดขบวนการสมัชชาคนจน เกิดขบวนประชาชน อย่าง สกน. สกย. สกย.อ. เกิดเครือข่าย ต่างๆ เคลื่อนไหวถิบถี่ ทำให้ บทบาทรัฐ เกิดรัฐธรรมนูญ
2540 ที่วางรากฐานเรื่อง สิทธิชุมชน เกิดกลไกองค์กรอิสระ และเห็นบทบาทประชาชนในการพัฒนาการเมืองไทย เด่นชัด จนทำให้ นโยบายรัฐ ในยุคหลังๆ มองเห็นหัวประชาชนมากขึ้น หมายถึงเปิดโอกาสหรือรับฟังเสียงประชาชน หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

การเมืองเป็นเรื่องทิศทาง ความเชื่อมั่น ความพอใจ แต่ปากท้องเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งในยุคหนึ่ง ระหว่าง
2540-2546 ผลพวงจากเสถียรภาพการเมืองและการบริหารอย่างมืออาชีพ ทำให้เศรษฐกิจไทยขยับเยื้องย่าง มั่งคั่ง กระตุ้นให้คนไทย เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับความกินดีอยู่ดี ซึ่งหลังรัฐประหาร 2549 การเมืองในประเทศนี้ก็ระส่ำระสาย ไร้เสถียรภาพ รัฐประหาร 2557 ประเทศนี้ถูกล็อคดาวน์ทางการเมือง ตราบทุกวันนี้

หลังรัฐประหาร
2549 เป็นต้นมา ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มแบ่งฝักฝ่าย ถอนและถอย ไปสู่การเลือกข้างกลายเป็นความขัดแย้ง เคลื่อนไหว ปะทะ และไร้เสถียรภาพไปทั่วทั้งสังคม  หลังรัฐประหาร 2557 ขบวนการการเมืองภาคประชาชน แตกกระสานซ่านเซ็น ไร้ทิศทาง เหลือแค่บางกลุ่มที่ยังเกาะเกี่ยวเป้าหมายและเคลื่อนไหวบ้าง อาทิ กลุ่ม p Move และกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่

การเมืองไทยในยุคนี้จึงดูมืดมน ไปพร้อมๆกับปัญหาปากท้อง ที่ซึ่งผู้นำประเทศ มาจากทหารและการผลักดันของกลุ่มอำนาจเดิมๆ โดยมีทหารค้ำอำนาจ แต่ไม่มีสามารถคลี่คลายปัญหาเศรษฐกิจได้ นโยบายแจกกระจายจึงเป็นนโนบายขายโง่และกินบุญเก่า ตัวเองจนเศรษฐกิจยับแย่ วนลูบกลับมาเป็นปัญหาจัดเก็บภาษี ไม่ได้ ไม่มีงบประมาณตามแผนและกู้ยืมไม่หยุดของรัฐบาล

ยิ่งในระยะ
2-3 ปีที่ผ่านมา ในภาวะโรคไวรัส โควิดระบาด เศรษฐกิจโลกล็อคดาวน์ ปิดประเทศ คนไทย เศรษฐกิจไทย ปากท้องคนยากคนจน แรงงาน เกษตรกร จมดิ่งไปทั่ว และมืดมนยาวนาน ขนานไปกับการเมือง ที่ไร้ทิศทาง ระส่ำระสายและไร้ประสิทธิภาพ แถมกลไกการเมืองที่ยกร่างขึ้นมา เป็นรัฐสภา กลายเป็นมี 2 สภา ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่มีอำนาจ โหวต หรือ ตัดสินใจ เท่าเทียม ส.ส. หรือตัวแทนประชาชน นั่นก็คือ วุฒิสภา เป็นเครื่องมือของกลุ่มอำนาจเก่าที่มีไว้ ค้ำรัฐบาล!!

การเมือง เศรษฐกิจ โรคระบาดที่ยังหาทางยุติไม่ได้ เพราะเชื่อไวรัสมีพัฒนาการในตัวเองได้ตลอดเวลา  และขณะนี้ โลกกำลัง ร่ำๆ จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3  ( ระหว่างรัสเซีย กับ ยูเครน โดยมี สหรัฐอเมริกา พร้อมกระโจนหนุนยูเครน) ทิศทางเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ยิ่งมืดมน ไร้ทิศทาง ทั้งหมด

งานพัฒนาในทศวรรษนี้และภาคหน้าสำหรับผม จึงมองไปที่เรื่องปากท้อง มากกว่า การเมือง ว่าเราจะออกแบบ วิถีชีวิต วัฒนธรรมการดำรงอยู่อย่างไร ให้สอดคล้องหรือเข้มแข็ง ในสถานการณ์โลก ที่ผันผวนใกล้วิกฤติแบบนี้ เพราะปัจจุบัน นอกจากอำนาจ ตลาด เป็นตัวกำหนด วิถีชีวิตชาวบ้านแล้ว บทบาทงานออกแบบ สังคม ชุมชน อยู่ที่ภาครัฐ ส่วนบทบาทองค์กรพัฒนา หรือ
NGOs กลับ พร่า เลือน ไร้ทิศทาง อิงแอบไปตามแหล่งทุน อย่าง สสส. หรือ พช. หรือ อื่นๆ ไม่มีทิศทาง กรอบคิด ที่ชัดเจน แตกต่างจาก เมื่อ 2-3 ทศวรรษ ที่บทบาทงานพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ชัดเจนมาก ทำให้นี่คือโจทย์ที่ท้าทาย ว่า บทบาท NGOs ไทย จะไปทางไหนกัน  ในท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า ทุกครัวเรือน

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112