ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

แนวคิดพระยงยุทธ ทีปโก “เป็นพระจะทนดูชาวบ้านทุกข์ร้อนได้อย่างไร”

แนวคิดพระยงยุทธ ทีปโก    “เป็นพระจะทนดูชาวบ้านทุกข์ร้อนได้อย่างไร” 

ระยะทางของชีวิตคนเรา ล้วนคลาคล่ำไปด้วยความทรงจำ ที่ถูกผลักไปด้วยความฝัน ภารกิจ และจุดมุ่งหมายมากมาย ทั้งทางโลกและทางจิตใจ เป็นการเดินทางที่น่าอัศจรรย์ มีรูปแบบที่อิสระและพันธะใหม่ๆ ที่ยากจะกำหนดหรือบังคับได้ ทำให้เราหลายๆ คนจึงจำต้องเดินและรักษาสถานะอันสำคัญเหล่านั้นไว้ เป็นเกียรติเป็นคุณค่าแก่ตนเอง กระนั้น หากเราหันมาสนใจอัตชีวประวัติ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เชิงบุคคล ของคนธรรมดา คนเล็กคนน้อยนี่แหละ ล้วนแต่น่าสนใจ กับแรงบันดาลใจ มุมมอง และแนวคิด บุคคลที่เรียกฐานะตนเองว่า นักพัฒนาหรือ NGOs ( Non Government Organizations) 

พระอาจารย์ ยงยุทธ  ทีปโก แห่งวัดปางงุ้น ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่  เป็นสมณะอีกท่านหนึ่ง ที่ยึดมั่นในบทบาทพระนักพัฒนา มากว่า 30 ปี ท่านเป็นพระที่กล้าจะยืนเคียงข้างชาวบ้านจริงๆ ชาวบ้านที่ได้รับความไม่เป็นธรรม พระที่กล้าเผชิญหน้ากับความไม่ถูกต้อง  ทั้งจาก อำนาจรัฐ และกับ กลุ่มทุนอิทธิพลมืด จนหลายครั้งต้องหลบลี้ความตาย หรือถูกต่อต้าน ถูกใส่ร้าย  

ความอยากทำเพื่อคนอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างไร ใครก็ปรารถนาเช่นนั้น แต่ความอยากทำหรือสิ่งต้องทำนั้น นำมาซึ่งความเสี่ยง นำมาซึ่งความลำบาก ปัญหาสารพัดรุมเร้า จะมีสักกี่คนที่ยังเดินตามแรงปรารถนานั้น หรือที่เรียกว่า “อุดมการณ์”  กับพระอาจารย์ยงยุทธ ทีปโก ยังดุ่มเดิน เพื่อสร้างสรรค์สังคม ชุมชน ให้ดีงามขึ้น


ความน่าสนใจที่ต้องศึกษา หาความกระจ่าง ว่า ทำไมพระอาจารย์ยงยุทธ จึงหันมาเดินบนเส้นทางนี้ “พระนักพัฒนา”  พระอาจารย์ได้ เล่าย้อนไปว่า      “เดิมที มาจากการที่ได้เดินทางธุดงค์ไปในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยได้เห็นความทุกข์ยาก ความเหลื่อมล้ำในสังคม ความไม่เป็นธรรมในสังคม ฯลฯ

ปัญหามากมายเกิดขึ้น พระเราจะไม่ทำอะไร เลยหรือ ?     นอกจากรับอาหารมาฉันแล้วให้พรเท่านั้นเองหรือ ?    อาตมาคิดว่าพระเราน่าจะทำอะไรได้มากว่านี้นะ จึงคิดที่จะทำงานพัฒนาไปด้วย ไม่คิดที่จะเหยียบหัวคนทุกข์ยากไป r[พระนิพพานคนเดี๋ยวหรอกโยม

ตราบใดพี่น้องญาติโยมในสังคมยังมีความเดือดร้อนอยู่พระเราไม่ควรนิ่งดูดายกัน สิ่งไหนที่ช่วยได้ก็ต้องช่วยไม่ใช่เทศน์ให้ฟังอย่างเดียวต้องทำให้เป็นรูปธรรม หากพระเราไปมีส่วนแก้ไขปัญหาให้ชุมชน พระเราก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เราก็อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุข”  นั่นคือ คำตอบสั้นๆ  ที่พระอาจารย์ยงยุทธ เผยไว้ เป็นประกายความคิด เริ่มต้นบนวิถีสงฆ์ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ว่า หากชาวบ้าน ชาวพุทธ ยังทุกข์ยาก ถุกกระทำ ถูกละเมิด ชาวบ้านหรือชาวพุทธนั้นจะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร

การปกครองที่ดี การบริหารบ้านเมืองที่เป็นธรรมกับศาสนาที่ดีนั้น ต้องมองหรือสนใจ  ชาวบ้านกินอิ่มนอนอุ่น เมื่อกินอิ่มนอนอุ่นแล้ว การตรึกตรองหลักธรรมก็ง่ายขึ้น การปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนา ก็ทำได้ง่ายมากขึ้น มีหนทางพ้นทุกข์ ดับทุกข์ได้มากขึ้น

ความหวังตั้งใจในบทบาทพระสงฆ์ บนเส้นทางปลายๆ ชีวิต พระนักพัฒนาชนบทอย่างพระอาจารย์ยงยุทธ ทีปโก ท่านก็มี โดยเฉพาะกับเด็กๆ กับเยาวชนซึ่งเหมาะสำหรับเป็นวัยที่ควรปลูกฝังคุณธรรมในจิตใจ และการหลักการดำเนินชีวิตในสังคม

 

“ก็มีทำไปบ้างแล้วนะ อย่างกิจกรรมบทเพลง แต่งเพลง สะท้อนปัญหา ชุมชน สังคม บ้านเมือง ที่น้องๆคนต้นน้ำขับขานไปบางส่วนและอยากจะทำหนังสือบันทึกการต่อสู้ของพระบ้านนอกสักเล่มนึง  ตอนนี้ ยังมีพอมีเรี่ยวแรงอยู่ ก็อยากทำไปเรื่อยๆ ตราบใดที่สังคมยังมีปัญหาเช่นนี้ กะยังคงทำต่อไป แต่หากหยุดทำก็อยากจะใช้ชีวิตที่เงียบๆสักที่หนึ่ง อาจจะที่เชียงตุง ประเทศพม่า”