Back

จริต 6: ลักษณะนิสัยของคนในสังคมไทย

30 July 2022

12627

จริต 6: ลักษณะนิสัยของคนในสังคมไทย

ขอบคุณภาพ จาก : https://livingthelifeofdhammachart.wordpress.com/2020/04/28/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95-6/

 

 

6 Carita: Characteristics of the People in Thai Society

 

ดร. ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์*

Dr. Nuttawat Tangpatomwong

 

           จริตหรือจริยา คือการเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ ถือเป็นการแสดงและกิริยาท่าทางของสิ่งมีชีวิตที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้า หรือการรับเข้าทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และในสังคมไทยลักษณะนิสัยของคนก็แปรผันไปตามจริตต่างๆ เช่น 1) กลุ่มคนพวกราคจริต, โทสจริต และโมหจริต 2) กลุ่มคนวิตกจริต, กลุ่มคนสัทธาจริต, พวกกลุ่มคนพุทธิจริต เป็นต้น        

           “พฤติกรรม” การแสดงและกิริยาท่าทางของสิ่งมีชีวิตที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม เป็นการตอบสนองของระบบ หรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้า หรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ พฤติกรรมหมายถึงสิ่งที่บุคคลกระทำ แสดงออกมา ตอบสนอง หรือโต้ตอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งสภาพการณ์ใด สภาพการณ์หนึ่ง โดยที่ผู้อื่นสามารถสังเกตได้ โดยพฤติกรรมของมนุษย์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1) การรับรู้ เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่การมีสิ่งเร้ามากระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 และส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อการแปลความ     2) การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน มิใช่ผลจากการตอบสนองของสัญชาติญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ และ3) การคิด เป็นกระบวนการของสมองในการสร้างสัญลักษณ์หรือภาพให้ปรากฏในสมอง เพื่อ เป็นตัวแทนของวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น สังคมมนุษย์โลกปัจจุบันนี้ เป็นสังคมที่เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ยิ่งพัฒนาให้มากขึ้นไปเท่าใด ก็ยิ่งเกิดปัญหาจากการพัฒนาติดตามมากขึ้นไปเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุสนองความต้องการมากเท่าใดยิ่งไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกาภิวัตรบนโลกไร้พรมแดน จึงมีปัญหาทางจิตเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีพฤติกรรมการแสดงออกที่รุนแรง ขาดเมตตา ความสนใจใยดีต่อสิ่งรอบๆ ตัวอย่างไร้ความรู้สึก ทั้งๆ ที่พระพุทธศาสนาสอนว่า “เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก” ทำให้คนไทยยุคสมัยใหม่ตกเป็นทาสของประเทศทุนนิยมที่ผลิตสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเหยื่อล่อ ทำให้มนุษย์เกิดกิเลส อยากมีอยากได้สนับสนุนให้เกิดค่านิยมการบริโภคผ่านสือต่างๆ โดยปราศจากการควบคุมและมากเกินความต้องการอันพอดี เมื่อเกิดความอยากมี อยากได้ แต่ไม่มีเงินซื้อจะกระทำการทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย     ฉกชิงวิ่งราว ดังที่เป็นข่าวบนสื่อต่างงๆ แท้จะทุกวันอยู่เสมอ ในสังคมปัจจุบันจึงไร้ความมีน้ำใจ มนุษย์ชอบหมกมุ่นในกามคุณ เป็นที่รวมของสิ่งยั่วยุทางกิเลส ทางเพศ สื่อลามกต่างๆ มากมาย มีสิ่งมอมเมาในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น การพนันต่างๆ อีกมาก การเสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ ฯลฯ เมื่อสังคมไทยต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นว่านี้ ผู้คนจึงหมกมุ่นจนถอนตัวไม่ขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า การมีความพร้อมทางวัตถุจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข จึงชอบวิ่งไล่ตามวัตถุ ไขว่คว้าหามาบำรุงรำเริอชีวิต สิ่งใดที่ยังไม่มีเหมือนคนทั่วๆ ไปก็จะพยายามดิ้นรนแสวงหามาให้ได้ให้มี สิ่งที่มีอยู่แล้วก็ให้มีมากกว่าเดิม ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมาซื้อหาเพื่อการบำรุงบำเริอ และที่ถลำลึกลงไปจนอาจถึงขั้นทุจริต คอร์รัปชั่น คิดมิชอบต่อหน้าที่การงาน คนประเภทนี้จะหาความสงบสุขทางใจไม่ได้ไปจนตลอดชีวิต มนุษย์เราแต่ละคนเกิดมาในสถานที่ที่ต่างกัน ลักษณะบุคลิกไม่เหมือนกัน บางคนก็เกิดมามีอาการไม่ครบ 32 ประการ เหมือนกับคนอื่นๆ บางคนก็มีความทุกข์ยากลำบากเหลือเกิน บางคนเกิดมาก็ได้รับแต่ความสุขความสบาย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็เพราะว่า มาจากกรรม คือการกระทำในอดีตชาติ กรรมของคนเราไม่เหมือนกัน แม้แต่เป็นฝาแฝดเกิดมาด้วยกัน หน้าตาแทบจะเป็นคนเดียวกัน แต่จิตใจแตกต่างกัน จิตใจก็ไม่เหมือนกัน จริตก็ต่างกัน พระพุทธเจ้าท่านถึงตรัสว่า จริตของคนมีหลายอย่าง เพื่อให้เห็นกรรมเก่าจะได้ปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องกับจริตของตนเอง การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับเรากินยาเพื่อรักษาโรค การรักษาโรคต้องกินยาให้ถูกกับโรค โรคในที่นี้ก็เหมือนกับจริตนั่นเอง ยิ่งคนเราในสังคมปัจจุบันทุกวันนี้ ชอบตรวจสอบคนอื่น ไม่ยอมหันมาตรวจสอบตนเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อตฺตนา โจทยตฺตานํ” “จงเตือนตนด้วยตนเอง” หรือจงตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อนแล้วจึงสอนคนอื่น ทำได้เช่นนี้จึงจะไม่มัวหมอง ไม่ควรแต่คิดหาความผิดของคนอื่น หรือธุระที่เขาทำหรือยังไม่ทำ แต่ควรพิจารณาตนว่า อะไรที่ตนทำแล้วหรือยังไม่กระทำ ระบบการศึกษาอบรมของสังคมไทยในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก สอนให้รู้เรื่องภายนอกตัวและให้ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของการสร้างการเรียนรู้ มิได้เน้นว่า เมื่อเรียนรู้เรื่องของคนอื่นแล้ว ให้หันมาตรวจสอบตนเองบ้าง ระบบการศึกษาเช่นนี้ เมื่อตนเองมีข้อบกพร่องอะไรกลับมองไม่เห็น หรือเห็นแต่แกล้งทำเป็นไม่สนใจใยดี พฤติกรรมของมนุษย์ประการสำคัญ คือการมีศรัทธาเลือนลอย คนไทยนับถือพระนับถือเจ้าก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่เลือมใสอย่างมั่นคง ชาวพุทธที่นับถือพระรัตนตรัย จึงควรพึ่งตนเองยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ดูถูกความสามารถของตนเอง หันไปพึงผีสางเทวดา หรือสิงที่เหลวไหล หรืองมงายต่างๆ “การมองดูคนอื่นนั้น สู้มองตนเองไม่ได้ เพราะตนเองต้องรับผิดชอบต่อตนเองโดยตรง ส่วนคนอื่นเขาก็ต้องรับผิดชอบกับตัวเขาเอง” พระพุทธศาสนาได้แสดงถึงจริต 6 อันได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต และวิตกจริต ซึ่งองค์ความรู้ด้านจริตในพระพุทธศาสนา เป็นพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวตน เราสามารถพัฒนายกระดับศักยภาพของตนเองให้เพิ่มขึ้นได้ ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นบุคลิกภาพพื้นฐานตามที่เป็นจริงในปัจจุบัน และจะช่วยให้มนุษย์สามารถที่จะแก้ไขปัญหาและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่การแก้ไขปัญหาของมนุษย์นั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับความจริง ตามสภาพจิตใจของมนุษย์แต่ละคนด้วย เพื่อนำไปสู่การพ้นทุกข์ ซึ่งปัจจุบันการแก้ไขปัญหา ไม่ได้ช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์อย่างแท้จริง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ บางคนไม่เข้าใจสัจธรรมของชีวิต จึงพยายามหลีกเลี่ยงจากความเป็นจริงและการยอมรับความจริง ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับความทุกข์อยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุดนั่นเอง

           บทความวิชาการชิ้นนี้ ต้องการนำเสนอมุมมองและทัศนะโดยชี้ให้คนในสังคมมามองว่า ช่องว่างระหว่างวัย จะเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร สังคม และชุมชนหรือไม่? เพราะช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลให้คนในองค์กร สังคม และชุมชนมีพฤติกรรม ความคิด การตัดสินใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ที่ได้พบเจอมาในแต่ละยุคสมัยของตนไม่เหมือนกัน หากมองในเชิงบวกก็คือ ความหลากหลายเหล่านั้น จะก่อให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันอาจปรับเปลี่ยน ทั้งกระบวนงานและผลลัพธ์ให้ดียิ่งขึ้น หากมีแนวทางในการปรับความเข้าใจ และค่อยๆ ปรับทัศนคติก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และพัฒนาองค์กร สังคม และชุมชน ให้มีคุณภาพได้ตามหลักพระพุทธศาสนาที่แสดงถึง “จริต 6: ลักษณะนิสัยของคนในสังคมไทย” ไว้นั่นเอง

           ลักษณะนิสัยของคนเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างหนึ่ง โดยรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) คือวิถีการดำเนินชีวิตของคนมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต ใช้เวลา หรือใช้จ่ายเงิน โดยแต่ละบุคคลก็จะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่สั่งสมมาในอดีต รูปแบบการดำเนินชีวิตเป็นช่องทางในการแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงความคิดเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งความคิดเกี่ยวกับตนเอง หมายถึงความคิด ทัศนคติ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง  ซึ่งลักษณะนิสัยของคนนั้นจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยแบ่งออกเป็น 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1) ความคิดเกี่ยวกับตนเองตามที่เป็นจริง (Actual Self-Concept) เป็นการแสดงความคิดว่า ความจริงฉันเป็นใคร? มิติที่ 2)ความคิดเกี่ยวกับตนเองตามอุดมคติ (Ideal Self-Concept) เป็นการแสดงความคิดว่า ฉันอยากจะเป็นเหมือนใคร? มิติที่ 3) ความคิดเกี่ยวกับตนเองในมุมมองส่วนตัว (Private Self-Concept) เป็นการแสดงความคิดว่าฉันอยากให้ตัวเองเป็นอย่างไร? และมิติสุดท้ายมิติที่ 4) ความคิดเกี่ยวกับตัวเองในมุมมองของสังคม (Social Self-Concept) เป็นการแสดงความคิดว่า ฉันอยากให้คนอื่นมองฉันเป็นอย่างไร? สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือลักษณะนิสัยช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเอง ได้แนวทางในการปรับตน พัฒนาตน ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นและเลือกเส้นทางชีวิตที่เหมาะสมแก่ตนเอง โดยพฤติกรรมลักษณะนิสัย คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ที่คนเรากระทำซ้ำๆ อยู่เสมอ มีทั้งคิดซ้ำๆ พูดซ้ำๆ กระทำซ้ำๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน ต้องทำเป็นประจำ ถ้าไม่ได้ทำเช่นนั้นอีกจะรู้สึกว่า ตัวเองขาดอะไรไป เช่น ผู้ที่เคยสวดมนต์ก่อนนอนเป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ได้สวดมนต์ก็จะหลับยาก หรือบางคนที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ได้สูบบุหรี่ ก็จะรู้สึกหงุดหงิดจนไม่มีสมาธิที่จะทำงาน เป็นต้นพฤติกรรมลักษณะนิสัยของคนโดยทั่วๆ ไป อาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ นิสัยดีกับนิสัยไม่ดีหรือนิสัยเสีย ผู้ที่มีนิสัยดี ก็เพราะคิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่มี “สัมมาทิฏฐิ” ย่อมคิดดี จึงพูดดีเป็นปกติ (อันเป็นกระบวนการของการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8) ผู้ที่เป็นเช่นนี้ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีนิสัยดี นิสัยดีนี้จะเป็นโปรแกรมบุญ สำหรับสร้างสรรค์คุณความดีต่างๆ ของบุคคล อันเป็นทางนำความสุข ความสำเร็จและบุญกุศล มาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตนี้ อีกทั้งจะส่งผลดีไปถึงโลกหน้าอีกด้วยนี่คือ คุณของพฤติกรรมลักษณะนิสัยดี นั่นเอง ในทางกลับกัน ผู้ที่มีพฤติกรรมลักษณะนิสัยไม่ดี หรือนิสัยเสีย คือผู้ที่มีความเห็นผิดทำนองคลองธรรม หรือที่เรียกว่า “มิจฉาทิฏฐิ” จึงคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทำไม่ดีเป็นปกติ พฤติกรรมลักษณะนิสัยไม่ดีนี้ จะเป็นโปรแกรมบาปหรือโปรแกรมก่อกรรมทำชั่วประจำชีวิตของบุคคลนั้น อันป็นทางนำความยุ่งยาก เดือดร้อน ความทุกข์ ความล้มเหลว บาปอกุศล และศัตรูคู่อาฆาต  มาสู่ชีวิตของบุคคลนั้นๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตนี้ และเมื่อละโลกไปแล้ว ก็จะต้องไปสู่ทุคติอย่างแน่นอน นี่คือโทษของพฤติกรรมลักษณะนิสัยไม่ดี นั่นเอง ซึ่งหน้าที่ของพฤติกรรมลักษณะนิสัย ตามธรรมดาคนเราทุกคนต่างมีใจเป็นนาย ใจนี้ยังควบคุมพฤติกรรมทุกอย่างของคนเราอีกด้วย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ที่ว่า “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา (ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า)” ถ้าถามต่อไปว่า ใครหรืออะไรเป็นหัวหน้าควบคุมใจของเรา คำตอบก็คือนิสัยนั้นเอง ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายคอยควบคุมบงการคนเราให้ประพฤติดีหรือชั่วต่างๆ นานา พฤติกรรมลักษณะนิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องรีบฝึกให้กับทุกคน ตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อจะได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี ที่โลกต้องการ มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1) ความเคารพ 2) ความมีวินัย และ3) ความอดทน เป็นต้น พฤติกรรมเเละลักษณะนิสัยแตกต่างกันอย่างไร? พฤติกรรม คือการแสดงและกิริยาท่าทางของสิ่งมีชีวิตที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะนิสัย คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ที่คนเรากระทำซ้ำๆ กันอยู่เสมอๆ นั่นเอง โดยพฤติกรรมเเละลักษณะนิสัยเป็นความเชื่อมโยงมาสู่การที่คนเรานั้นจะค้นพบได้ว่า ตัวตนของเรานั้นเป็นคนอย่างไร? และตัวของเราเองนั้น มีความเป็นตัวของตัวเองหรือไม่อย่างไร? จนเกิดการหลอมรวมมาสู่สิ่งที่เรียกว่า "บุคลิกภาพ" (Personality) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล ที่บ่งบอก ความแตกต่างระหว่างบุคคล และได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังต่อไปนี้ เออร์เนส อาร์.ฮิลการ์ด (Hilgard, E. R.)  กล่าวว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคล และการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นปัจเจกบุคคลในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงลักษณะที่ส่งผลสู่การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตนเอง ความสามารถ แรงจูงใจ ปฏิกิริยาในการเกิดอารมณ์ และลักษณะนิสัยที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิต  ฟิลลิป จี.ซิมบาร์โด และฟลอยด์ แอล.รูช (Zimbardo, Philip., G. Floyd and L.Ruch)  อธิบายว่า บุคลิกภาพ เป็นผลรวมของลักษณะเชิงจิตวิทยาของบุคคล แต่ละคนมีผลต่อการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมหลากหลายของบุคคลนั้น ทั้งส่วนที่เป็นลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ง่าย และพฤติกรรมภายในที่สังเกตได้ยาก ลักษณะที่หลากหลายดังกล่าว ส่งผลให้บุคคลแสดงออกต่างกันในแต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา ริชาร์ด ซี.บุทซิน และคณะ (Bootzin, Richard R. and others)  ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพเป็นลักษณะนิสัยและรูปแบบของความคิด ความรู้สึก และการประพฤติปฏิบัติของบุคคลแต่ละคน อัลชลี แจ่มเจริญ  ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งหมดที่แสดงออกมาปรากฎให้คนอื่นได้รู้ได้เห็น ซึ่งแตกต่างกัน เพราะภาวะสิ่งแวดล้อมที่สร้างตัวบุคคลนั้นแตกต่างกัน ประการหนึ่ง และพันธุกรรมที่แต่ละบุคคลได้มาก็แตกต่างกัน ไปอีกประการหนึ่ง บุคลิกภาพ คือตัวบุคคลโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะทางกาย ซึ่งสังเกตได้ง่าย อันได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง น้ำเสียง คำพูด ความสามารถทางสมอง ทักษะการทำกิจกรรมต่างๆ และลักษณะทางจิต ซึ่งสังเกตได้ค่อนข้างยาก ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ ความมุ่งหวัง อุดมคติ เป้าหมาย และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ลักษณะดังกล่าวมีที่มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน ส่งผลสู่ความสามารถในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อมและความแตกต่างระหว่างบุคคล

ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ “บุคลิกภาพ” ที่อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และความสามารถในการ “รู้จักตัวเอง (Self Awareness)” ถือเป็นความฉลาดอย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้จักตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่า เรามองตัวเราอย่างไร? เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร? ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า “ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy)” คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการ            มีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำ จะมีความกระวนกระวาย มีความกังวล       เมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนๆ นั้น ความรู้ตัวและประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็น “บุคลิกภาพ” ขึ้นมา ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Freud, S.)  นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมาก ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า "อีโก้ (Ego)" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับอำนาจภายในร่างกาย หรือความต้องการ ความปรารถนาของคนๆ นั้น ซึ่งอาจจะเป็นความเห็นแก่ตัว (Id) กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความจริงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก จริยธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล (Superego) และเมื่อมีการชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัย 2 ปัจจัยนี้แล้ว ก็จะเกิดการตัดสินใจขึ้น โดยจะมีองค์ประกอบของบุคลิกภาพ ดังนี้ 1) ลักษณะทางกาย ได้แก่ รูปร่าง ทรวดทรง ความสูง น้ำหนัก ความปกติของอวัยวะ สีผม ผิวพรรณ หน้าตา ท่วงที ท่าทาง การแต่งกาย (ตามกาลเทศะ) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้ทราบถึงประสิทธิภาพของบุคคลทางกาย ซึ่งผู้พบเห็นจะประเมินเรา เมื่อเจอกันในเวลา 1-5 วินาทีแรก 2) ลักษณะทางจิตใจ เช่น สติปัญญา ความจำ จินตนาการ ความถนัด เจตคติ ความสนใจ ความตั้งใจ การตัดสินใจ ความคิดด้วยเหตุผล ฯลฯ เหล่านี้เกี่ยวกับสมองทั้งสิ้น 3) ลักษณะทางอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกแห่งจิตที่ก่อให้เกิดการกระทำต่างๆ เช่น ชื่นชอบ ตื่นเต้น โกรธ กล้าหาญ หวาดกลัว ตกใจง่าย ร่าเริง หดหู่ หงุดหงิด กังวล ฯลฯ และ4) ลักษณะทางสังคม หมายถึงท่าทีการปฎิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น วัฒนาธรรม ประเพณี ลักษณะงาน เป็นต้น

           พฤติกรรมลักษณะนิสัยนั้นมีลักษณะสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในแง่มุมต่างๆ คนที่มีพฤติกรรมลักษณะนิสัยบุคลิกภาพที่ดี จะมีบุคลิกภาพที่น่าประทับใจเริ่มตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวกัน เพราะอีกฝ่ายมักคาดหวังเอาจากประวัติความเป็นมาของเรา (หรือภาพพจน์ที่เคยได้ยินได้ฟังมา) เมื่อเจอหน้ากัน ภายใน 5 วินาทีแรก เราก็จะถูกประเมินแล้วว่า เป็นคนเช่นไรจากบุคลิกภาพภายนอก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเห็น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องต่างๆ เช่น สุขภาพร่างกาย หน้าตา ทรงผม เสื้อผ้า การแต่งตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ แลดูสะอาดเรียบร้อย เครื่องประดับ ลีลาท่าทางต่างๆ เช่น การยืน เดิน นั่ง การพูดจา น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง ไม่พูดกระโชกโฮกฮาก หรือขวานผ่าซาก รู้จักพูด รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสม     กับคนฟังและกาลเทศะ กิริยาท่าทางคล่องแคล่ว มีความมั่นใจ สรุปคือภาพรวมภายนอกทั้งหมดของคนเรา     ที่ดูดี ดังคำที่ว่า “กาย-ดูดี วาจา-น่าฟัง และใจ-เป็นบวก” และในทางกลับกัน คนที่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี          จะมีลักษณะภายนอกที่ดูไม่ดี ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม แก่กาลเทศะและสถานที่     ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม การแต่งกายที่ไม่สุภาพเรียบร้อย ปล่อยชายเสื้อลอยอยู่นอกกางเกง แต่งกายไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ การยืน เดิน นั่ง ไม่สุภาพ การพูดจา พูดกระโชกโฮกฮาก หรือขวานผ่าซาก ไม่รู้จักพูด รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนฟังและกาลเทศะ เป็นต้น

           จริต 6 เป็นหลักพุทธธรรมที่สำคัญ หมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา โดยเมื่อกล่าวถึงเรื่องของจริตนั้น   จะมุ่งเน้นไปที่การมองลักษณะของปุถุชนที่เป็นพื้นเพนิสัย หรือจิตที่อยู่ในตัวตนของแต่ละคนเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนที่เสียที่แตกต่างและปะปนกันไป มนุษย์เรานั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เข้าสู่การฝึกจิตให้ดีแล้ว     และยังคงดำเนินชีวิตอย่างเช่นธรรมดาสามัญ เป็นปุถุชนคนเดินดิน ก็ย่อมมีจริตในตัวครบทั้ง 6 จริต และการทำความเข้าใจในเรื่องของจริต 6 จะช่วยให้มนุษย์เรา รู้จักตัวเองมากขึ้นพร้อมทั้งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่     การพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นไป พระมหาเทียบ สิริญาโณ (มาลัย)  คำว่า “จริต” นั้นมีรากศัพท์ของคำมาจากภาษาบาลี คือคำว่า จรฺ แปลว่า เที่ยวไปประพฤติ เมื่อนำ จร ธาตุ + ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ซึ่งกฏของ ต ปัจจัยมีอยู่ว่า ถ้าลงหลังธาตุตัวใด ให้ลบที่สุดธาตุของศัพท์นั้นเสีย แต่ถ้าไม่ลบที่สุดธาตุ ให้ลง อิ อาคม จึงได้คำว่า จริต ซึ่งจริตใช้เป็นคำคุณศัพท์ เพื่อขยายคำนาม เช่น ราคจริต โทสจริต โมหจริต เป็นต้น หากใช้ในรูปคำนามเพียงลำพังจะมีรูปเป็น “จริยา” สำเร็จรูปมาจาก จร ธาตุ + ณฺย ปัจจัย โดยใช้อิตถีลิงค์ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและคัมภีร์ปรมัตถทีปนี  กล่าวถึง “จริต” โดยใช้เป็นคำนาม โดยแสดงเป็นรูปคำว่า ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา สัทธาจริยา พุทธิจริยา และวิตักกจริยา ส่วนในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ มีรูปคำว่า ราคจริตา โทสจริตา โมหจริตา สัทธาจริตา พุทธิจริตา และวิตักกจริยา และตลอดจนในคัมภีร์วิมุตติมรรค ได้กล่าวอธิบายถึงคำว่า “จริยา” ว่าหมายถึง จริยา 14 ประการ คือ ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา สัทธาจริยา พุทธิจริยา วิตกจริยา  ราคโทสจริยา ราคโมหจริยา โทสโมหจริยา ราคโทสโมหจริยา สัทธาพุทธิจริยา สัทธาวิตกจริยา พุทธิวิตกจริยา และสัทธาพุทธิวิตกจริยา และได้กล่าวถึงบุคคล 14 ประเภท ซึ่งตรงกันกับ 14 จริยาที่กล่าวมา คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต  สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต และสัทธาพุทธิวิตกจริต อนึ่ง จริยาอย่างอื่นก็ยังมีอยู่ เช่น ตัณหาจริยา ทิฏฐิจริยา มานจริยา และในส่วนของกรณีโลภะ และจริตที่เหลือมีความหมายไม่แตกต่างกันจากที่กล่าวมานี้  ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการกล่าวรายละเอียดของจริยา 14 ประการนี้ไว้เหมือนกัน แต่ให้เข้าใจโดยสังเขปว่า มีจริยาเพียง 6 อย่างเท่านั้น ดังนั้นจริต จึงมีความหมายว่า ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่งอันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน  ตัวความประพฤติ เรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป คือ (1) ราคจริต หมายถึงผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม (2) โทสจริต หมายถึงผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด (3) โมหจริต หมายถึงผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลาเหงาซึม เงื่องงง งมงาย     (4) สัทธาจริต หมายถึงผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย (5) พุทธิจริต หรือญาณจริต หมายถึงผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา และ(6) วิตกจริต หมายถึงผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิด จับจด ฟุ้งซ่าน เป็นต้น

           คำว่าจริต ในยุคสมัยปัจจุบัน จะเป็นลักษณะนิสัยที่เป็นสภาพความเร่งด่วน แต่ละบุคคลอาจมีพื้นเพนิสัยหนักไปทางใดทางหนึ่งตามปัจจุบันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่คงที่อาจจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมขณะนั้นเป็นตัวกำหนดจริต แต่พื้นเพเดิมของจิต ก็ยังปรากฏมีปะปนอยู่ตลอดเวลา ในพระไตรปิฎก  มีการแบ่งจริตเป็น 6 ประเภท ที่พระสารีบุตรได้กล่าวยกย่องพุทธคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วย “พุทธจักขุ” นั้นว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า (1) บุคคลนี้มีราคจริต (2) บุคคลนี้มีโทสจริต (3) บุคคลนี้มีโมหจริต (4) บุคคลนี้มีวิตกจริต (5) บุคคลนี้สัทธาจริต (6) บุคคลนี้มีญาณจริต ซึ่งในพระไตรปิฎก  ใช้จริตข้อที่ 6 ว่า ญาณจริต ส่วนคัมภีร์อื่นๆ ใช้คำว่า พุทธิจริต ทั้งนี้แนวทางการแบ่งจริต 6 นี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก ซึ่งในแต่ละคัมภีร์กล่าวถึงจริต 6 ได้สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ ดังในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  ได้กล่าวถึงจริยา 6 อย่างคือ (1) ราคจริยา (2) โทสจริยา (3) โมหจริยา (4) สัทธาจริยา (5) พุทธจริยา และ(6) วิตักกจริยา และในคัมภีร์วิมุตติมรรค  ก็ได้กล่าวถึงบุคคล 14 ประเภท  มี (1) ราคจริต (2) โทสจริต (3) โมหจริต (4) สัทธาจริต (5) พุทธจริต (6) วิตกจริต เป็นเบื้องต้น ซึ่งมีความหมายสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังรายละเอียดของจริต 6 ประเภทนี้ อยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอีกคือ คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ  และคัมภีร์ปรมัตถทีปนี  โดยการกล่าวถึง จริต 6 นั้น มีจุดประสงค์ที่มุ่งเน้นไปสู่การเตรียมตัวเพื่อพัฒนาปัญญาของบุคคลที่มีจริตต่างกัน แล้วเลือกแนวทางการเจริญสมถกรรรมฐาน 40 ประการ เป็นหลัก พระพุทธองค์ทรงได้วางแนวทางของบุคคล และพื้นเพนิสัยของสัตว์โลกเอาไว้ เพื่อที่จะทรงสามารถหาแนวทางชี้แนะ และสั่งสอนด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไปตามจริต หรือนิสัย ของบุคคลประเภทนั้นๆ จึงกล่าวได้ว่า แนวทางต่างๆ ที่ทรงวางไว้เป็นสิ่งพื้นฐานที่บ่งบอกได้ถึงความเป็นมาของจริต ทั้ง 6 ประเภท ได้เช่นกัน ซึ่งในเรื่องของจริต 6 ที่ได้ชี้แจงมาตั้งแต่ต้นว่า เกิดจากการที่พระสารีบุตร ได้กล่าวยกย่องพุทธคุณ เรื่องพระผู้มีพระภาคทรง มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ นั้นว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า (1) บุคคลนี้มีราคจริต (2) บุคคลนี้มีโทสจริต (3) บุคคลนี้มีโมหจริต (4) บุคคลนี้มีวิตกจริต (5) บุคคลนี้มีสัทธาจริต (6) บุคคลนี้มีญาณจริต ...” นี้ต่อมาภายหลังได้มีคัมภีร์ชั้นหลัง ได้แก่ คัมภีร์วิมุตติมรรค คัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ และคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ได้อธิบายขยายรายละเอียดเรื่องของจริต 6 ไว้อีกจำนวนมากเช่นกัน จริต 6 ที่อยู่ในตัวบุคคล มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถกล่าวถึงรายละเอียดคุณสมบัติที่แตกต่างกันได้ โดยประเภทของจริต         มี 6 ประเภทคือ 1) ราคจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจราคะ หมายถึงผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม ลักษณะของบุคคลผู้เป็นราคจริต บุคคลราคจริตจะมองดูรูปเสมือนหนึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน เขามองไม่เห็นข้อเสียของรูปนั้น และไม่ได้พิจารณาสิ่งเหล่านั้น เขาไม่ได้พิจารณาคุณความดี      แม้เพียงเล็กน้อยของรูปนั้น เขาไม่สามารถเป็นอิสระจากความต้องการในรูปารมณ์นั้นได้ แม้หลังจากพิจารณาแล้วเขาก็ยังไม่สามารถที่จะเป็นตัวของตัวเองได้ เขามีกิริยาท่าทางไปแนวทางเดียวกัน พึงทราบว่าบุคคลนั้นเป็นราคจริตด้วยอาการอย่างนี้ คนราคจริตเห็นรูปที่น่ารื่นรมย์ใจสักหน่อย ก็จ้องดูเสียนานเหมือนกับว่าเกิดความพิศวงติดใจในส่วนดีของรูป แม้จะมีส่วนเสียเล็กน้อยก็ไม่ถือสาอะไร ทั้งที่เห็นกับตา เมื่อจะจากก็อยากจะจากไปให้พ้น จากไปทั้งที่มีความอาลัยอยู่ด้วย คนราคจริตนั้นจะหลงใหล และติดอยู่กับความสวยงาม โดยมีตัวผลักดันเป็นความกำหนัดยินดี ลักษณะของคนราคจริตคือ บุคคลราคจริตจะมีสภาวะจิตที่หลงติดใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส จนเป็นอารมณ์ มีลักษณะบุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอม ความไพเราะ ความอร่อย ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน มีจุดแข็ง คือมีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกต เก็บข้อมูลเก่ง มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ   เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์ และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ จุดอ่อน คือไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำ ขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ชอบพูดคำหวานแต่อาจไม่จริง อารมณ์รุนแรง ช่างอิจฉาริษยาชอบปรุงแต่ง

2) โทสจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจโทสะ คือผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโทสะ ประพฤติหนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด รุนแรง คนโทสจริตนั้น จะไม่ชอบฝืนตัวเอง       กับความไม่ชอบใจ คือแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน มีเกิดความขัดใจหรือจะแสดงอาการต่อต้าน เมื่อรู้สึกว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ขัดแย้งก

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112