Back

ที่นอนตาย

31 May 2021

1043

ที่นอนตาย

การได้เผชิญภาวะวิกฤติ ขย่มเขย่า ชีวิตบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่อง เลวร้ายไปทุกด้าน อย่างน้อยๆ ก็ช่วยเตือน ว่า การที่เรายังมีชีวิตนั้น สำคัญมาก และยังโชคดีอยู่ เรื่องการแก้ปัญหา มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง ก็ส่วนของเรา เราก็พยายาม วางมาตรการ วางระเบียบ ชีวิตเราให้ได้มากที่สุด และมองระยะยาวๆ ส่วนที่สอง คือ ก็ต้องกดดัน เรียกร้อง ให้ภาครัฐ ทำงานให้ตรงแนวทางหรือถูกจุด หรือให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เสมอภาค และเท่าทันท่วงทีรวดเร็ว เพราะเท่าที่ดู ก็คงต้องบอกว่า แย่ และ แย่มากๆ ไม่มีแผนรองรับ ไม่มีมาตรการ ไม่มีฝีมือ มี่วิสัยทัศน์ ไม่พัฒนาอะไรเลย ที่เรา หรือ เด็กๆ มักพูด และพากันออกมาเรียกร้อง ก็เพราะเหตุผลี้ แหละ คือ ระบบไม่ทำงาน ในรัฐสภาที่ควรจะเป็นกลไก ทำงานอีกแรง คอยตรวจสอบ คอยยกมือสนับสนุนหรือคัดค้าน กลายเป็นว่า เป็นองค์กรหรือสถาบันที่คอยค้ำ คอยหนุนเข้ารกเข้าพง เพราะส่วนมากมาจากการ การแต่งตั้ง ( ส.ว.) และ มาจาก อำนาจและทุนเก่าอุปถัมป์ ไม่ได้ ส.ส. ที่ทำหน้าที่ผู้แทนประชาชน จริงจัง ซึ่งถ้ามองภาพใหญ่ก็สิ้นหวัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าสิ้นหวังแล้วก็อย่าปล่อยให้ตัวเอง สิ้นคิด รีบพูด รีบแสดงออก ผ่านสิทธิ เสรีภาพ ขั้นพื้นฐาน คือ ไล่ หรือ กดดันให้ลาออก เพื่อให้มีคนดีๆ เก่งๆ หน้าใหม่ๆ มาทำงาน มาแก้ปัญหา ความบอบช้ำ วิกฤติของบ้านเมือง เพราะ ชาติ คือ ความอยู่รอดของประชาชนทุกคน

 

การจัดการตัวเอง สำหรับผม มีหลายมิติ มีหลายวาระ ที่สำคัญ ตอนนี้ ก็เอาตัวเองให้รอด รอดจาก เชื้อโรคร้ายก่อน และรีบๆ ทำต่อมา คือ เอาให้รอดจาก ความอดอยาก หิวโซ เพราะเศรษฐกิจกำลังพัง ผลิตผลการเกษตร กังเสียหาย ไม่มีราคา แรงงานไม่มีงานทำ ธุรกิจไม่ได้ไปต่อ มานานหมดทุน หมดเนื้อหมดตัว ระบบทั้งระบบกำลังรวน ซวนเซ

แผนของเรา คือ เสริมช่องทาง ทุน โอกาส ดึงเพื่อนมาได้ก็ดึง ดึงทุน ดึงแรงงาน ดึงความร่วมมือ ทำตลาด ทำการผลิต แปรรูป ทำให้มีความหวัง มีช่องทางให้ได้ อาทิตย์หน้า ผมคาดว่าจะ “ระดมทุน” เพื่อช่วยเหลือผลผลิตการเกษตร ของเพื่อนๆ มาแปรรูปเป็นไวน์ คงเริ่มจาก มะม่วง เช่นเดิม

แผนต่อมา ไปมองอนาคตให้ไกลๆ ถ้าโลกกำลังแปรปรวน วิกฤติประหลาดๆ แบบนี้ ไม่ใช่แค่เรามี สวัสดิการ มีประกันรักษาพยาบาล เท่านั้น เพราะนี่ยังไม่มีพอ เรามี หมอแล้ว เราอาจจะเงินออมไว้กิน แต่เงินออมนี้แค่ไหนพอ ? 

อันสุดท้าย ที่ผมเคยพูดบ่อยๆ เมื่อ
10 กว่าปีก่อน คือ เรามีที่นอนตายหรือ ที่ที่เรา จะชราอย่างสงบ ผมอยากให้คุณเองเงินไปซื้อรถล้านกว่า หรือ คอนโดล้านกว่า มาซื้อที่ดิน ต่างจังหวัด แต่อย่าเลือกที่สวย อย่ามองแค่ความโรม๊าน ทางธรรมชาติ ให้มอง ชุมชน วัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อเราจะได้ไปอยู่เป็นส่วนหนึ่ง เป็นญาติเป็นเพื่อน ที่สักแปลงเล็กๆ พอได้ปลูปพืชผัก เลี้ยงเป็ดไก่ เป็นอาหารแบ่งเบารายจ่าย เป็นกิจกรรมพอเพลิดเพลินอารมณ์ เป็นยาใจ   และเป็น รายได้เล็กๆน้อยๆ

อย่าไปโลภให้ทุกข์ สัก
1 ไร่ 3 ไร่ ก็มากพอ สำหรับคนแก่ที่ไม่ได้ต้องการ สร้างฐานะแล้ว ผมเห็นคนชรา ที่อาศัยอยู่ตามบ้านพัก ในเมือง คอนโดสูงใหญ่  อพาทเม้น หรือ อาศัยอยู่ในคฤหาสถ์ หรูหรา ก็ไม่ได้มีความสุข แต่อย่างใด อยู่ทามกลางความประหวั่น ความโดดเดี่ยว เงียบเหงา และรอคอย

ผมว่า การ ค้นพบความสงบ ง่าย แบบวิถีชนบท หรือ ชุมชนเล็กๆ ถ้ารู้จัก ปฏิสัมพันธ์ แบ่งปันเบ่งเบา เกื้อกูลกัน รูปแบบชีวิตแบบนี้ ทั้งอบอุ่น ทั้งสร้างพลังให้ชีวิตมากกว่า มีวัด มีตลาดเล็กๆ มีที่ดินเพาะปลูก มีต้นไม้ให้ร่มเงา และมีเพื่อนบ้านให้เราไปมาหาสู่ ยกสำรับกำข้าว มากินด้วยกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราไม่ได้เกิดมาเป็นฟันเฟืองระบบ และเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่คิดจะหาตัวเลขเพิ่มในบัญชีแล้วก็ ซื้อๆๆๆๆ

เพราะเอาเข้าจริงๆ พอวัยหนึ่ง ที่เรี่ยวแรงเราลดน้อยถอยลง เราจะกลับมามองปรัชญาพอเพียงอย่างเข้าใจเอง ไม่ต้องให้ใครมาสอน มาออกแบบ เข้าใจแก่นธรรมของศาสนา เข้าใจวิถีการดำเนินชีวิต มาถึงจุดนั้น การได้นั่ง เงียบๆ ใต้ร่มไม้ คุยกันเรื่องเก่า ๆ จิบชากาแฟ รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารเป็ดไก่ หมู หมา ได้พร่ำบ่นไปเรื่อยๆ โดยไม่เดือดร้อนรำคาญหู ลูกหลาน นั่นสิ คือ ภาพชายชราที่มีเสน่ห์ น่าเคารพ และดูร่มเย็นกว่า อย่าลืม หาที่สัก ไร่สองไร่ หาชุมชนดีๆ เพื่อนบ้านดีๆ จะได้ไปมาหาสู่กัน แบ่งปัน สนทนา เสพสุขความรื่นรมย์ให้ชีวิต

โลกมันผันแปร เร่งรีบ และทอดทิ้งง่ายๆ  เราก็ไม่จำเป็นต้องรีบตาม และทำเช่นนั้น ส่วนใครคิดว่า ไม่มีที่ทาง อยากมี อยากหา ผมแนะนำสุรินทร์ บ้านผมนะครับ มาทำนา มาทำไร่ ที่ไม่แพง ผู้คน วัฒนธรรมก็เป็นแบบเปิด อยู่กับความแปลกแตกต่างอย่างเป็นมิตร จุดเด่นของคนอีสาน โดยเฉพาะคนเขมร เป็นบุคลิคที่เด่นที่สุดในหมู่วัฒนธรรมต่างๆในประเทศนี้


มีฐานะ มีค่ารักษาพยาบาล ถ้าไม่มีอำนาจ บริวาร ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะคุณเป็นมนุษย์ จึงต้องมีเพื่อนมนุษย์ ไว้ปลอบโยนกันทั้งยามทุกข์ยามสุข คุณค่าและความหมายของชีวิตคนมีเท่านี้ ถ้ายังหาได้ สร้างได้ ให้รับหา เพราะโลกโซเชี่ยล ทำให้คุณรู้จักเพื่อนดีๆ เยอะมาก อย่าปล่อยให้กาลเวลา สูญเปล่าเป็นแค่เพื่อนในโลกไซเบอร์ คุณสามารถสร้างมันขึ้นมาได้ สร้างชุมชนในฝันได้ สร้างวัฒนธรรมสร้างการปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติต่อกันได้ ผมรู้จักหลายคนมาหลายปี เรายังไม่เคยกินข้าวด้วยกันเลย เราเองที่ทำให้โลกโหดร้าย

เกษตรกร ขบถ แห่งไร่ทวนลม

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112