Back

มิตรที่อันตราย แจ็ค หม่า แห่ง อาลีบาบา

21 April 2018

2004

มิตรที่อันตราย แจ็ค หม่า แห่ง อาลีบาบา

ประเทศไทยมักดำเนินนโยบายต่างประเทศ อิงอยู่กับมหาอำนาจในทุกยุคทุกสมัย เช่นในอดีตอิงอยู่กับสหรัฐอเมริกา จนถึงจุดที่ไม่สามารถตอบสนองมาตรฐานได้ โดยเฉพาะเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ไทยจึงหันมาอิงกับอีกขั้วมหาอำนาจใหม่อย่างจีน ซึ่งการดำเนินนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบบนี้ ไม่ได้ทำให้ไทยได้เปรียบ เพราะสุดท้ายก็จบที่การเสียเปรียบมหาอำนาจอยู่ในทุกยุคทุกสมัย นี่จึงไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องในการดำเนินนโยบายเหล่านี้ ส่วนตัวมองว่า ก็เป็นนัยยะทางการเมืองระหว่างประเทศ ด้านจีนก็มองในเชิงความมั่นคงในระดับภูมิภาค แม้กระทั่งการใช้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานในการที่จะแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลของตัวเอง เพื่อที่จะคานอำนาจกับภูมิภาคอื่นๆ ที่เขาเข้ามามีบทบาท เช่น สหรัฐอเมริกา สุดท้ายจีนเข้ามาได้ประโยชน์กับชนชั้นนำทางการเมือง หรือชนชั้นนำทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ว่าไม่ได้ถ่ายทอดมาสู่ผู้คน ตนจึงเชื่อว่า ไทยไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงครั้งนี้เท่าที่ควร อาจารย์วิโรจน์ อาลี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยในเรื่องนี้ว่า การเข้ามาของนายแจ๊ก หม่า ถือว่ามีความสำคัญต่อรัฐบาลคสช. ค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกผูกไว้กับอีอีซี หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เหมือนเป็นการสร้างผลงานชิ้นโบว์แดง เพราะที่ผ่านมาแผนงานนี้ไม่ค่อยได้รับการตอบรับมากเท่าที่ควร เพราะในเวลาเดียวกัน นายแจ๊ก หม่า ก็เข้าไปลงทุนที่มาเลเซียด้วยจำนวนเงินลงทุนมหาศาล แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการดีลในครั้งนี้ ในแง่ของการลงทุนธุรกิจแบบใหม่ โดยเฉพาะประเภท อีคอมเมิร์ช และสิ่งที่แจ็ค หม่าพยายามสื่อสารออกมาก็คือ การรับซื้อสินค้าจากไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่จะให้คนจีนเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น โดยในรายละเอียดบางส่วนได้พูดถึงการส่งสินค้าเกษตรออกขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ช ซึ่งมีความยากในส่วนการจัดการระบบ ที่จะไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อยมากของประเทศ จนทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเสียประโยชน์ รัฐบาลมีหน้าที่ประสานและดำเนินการให้เกษตรกรรายย่อยทั่วไป สามารถส่งสินค้าขายผ่านระบบเองได้

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112