Back

แฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง

27 May 2023

443

แฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง

 

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

 

หลังจาก'วันนอร์' ชี้ MOU ควรเขียนกว้าง ห่วงสมรสเท่าเทียม-สุราเสรี ควรปรับถ้อยคำ ปรากฎว่า มีวาทะร้อนในโลกโซเชี่ยลระหว่างแฟนคลับทั้งจากพรรคก้าวไกลและประชาชาติที่ค่อนข้างรุนแรง ส่อการร่วมรัฐบาลอาจมีปัญหาซึ่งแฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง

 

#บทสัมภาษณ์วันนอร์ที่ทำให้แฟนคลับทั้งสองออกมาโต้กัน

 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ (ปช.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า ในเอ็มโอยูมีการพูดถึงหลักการกว้างๆ ในหลายๆเรื่อง แต่สิ่งที่พรรคประชาชาติต้องการให้ปรับ มี 2 ประเด็นหลัก คือ เรื่องสุราเสรีที่กระทบกับหลักศาสนา อยากให้มีการปรับถ้อยคำลงไม่ให้กระทบกับศาสนาใด อีกประเด็นคือเรื่องให้ความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ซึ่งสื่อโยงไปถึงนโยบายสมรสเท่าเทียม

 

โดยประเด็นเหล่านี้ พรรคไม่สามารถยอมรับให้มีในเอ็มโอยูได้โดยไม่มีข้อยกเว้น เราขัดข้องเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น และได้เสนอให้คณะทำงานร่างเอ็มโอยูดูว่าเรื่องนี้จะทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งพรรคเสนอไปว่าอย่างน้อยที่สุดในเอ็มโอยูหรือกฎหมายที่จะเดินหน้าต่อจากนี้

 

ทั้งนี้ต้องบอกว่าเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่มีผลบังคับไปถึงผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักศาสนา รวมถึงศาสนาอื่นๆ ที่เรื่องนี้ขัดหลักศาสนาเขาด้วย

 

เมื่อถามว่าคิดว่าการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลจะสำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า คิดว่าการตั้งรัฐบาลไม่น่ามีปัญหา มีพรรคเล็กๆ เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ

#นโยบายแก้ปัญหาชายแดนใต้สอดคล้องกันแต่

 

มีข้อกังวล สองเด็น “สมรสเท่าเทียมกับสุราก้าวหน้า”จากพรรคประชาชาติ

 

ถ้าพิจารณาพรรคก้าวไกลเสนอการแก้ปัญหา เชิงโครงสร้างชายแดนใต้ กว่า 18 ปี แตกต่างจากรูปแบบเดิม สอดคล้องกับข้อเสนอแนะทางวิชาการและประชาสังคมเพียงแต่คนชายแดนภาคใต้มีข้อกังวล สองเด็น “สมรสเท่าเทียมกับสุราก้าวหน้า”  สำหรับ 3 ปรับแก้ปัญหาชายแดนใต้   คือ 1 ปรับเป้าหมายความสงบ ให้ควบคู่กับความชอบธรรม 2 คือปรับเจ้าภาพในการนำไปสู่กระบวนการสันติภาพ ควรเป็นรัฐบาลพลเรื่อนไม่ใช่รัฐบาลทหาร ให้ ปชช.มีส่วนร่วมมากขึ้น และปรับที่ 3 คือ ปรับวิธีการ ปฏิรูปหน่วยงานและกฎหมายความมั่นคง หนุนให้ ต้องยกเลิกกฎอัยการศึก ดั่งที่รอมฎอน ปัญจอร์ ว่าที่สส.ก้าวไกลได้ยืนยันว่า “เร็ว ๆ นี้ ตามสัญญาครับจะมีการยกร่าง พ.ร.บ.กฎอัยการศึกใหม่ที่มีอารยะและทันสมัย จัดที่ทางที่เหมาะสมของกองทัพในรัฐประชาธิปไตย แทนที่ของเก่าซึ่งมีอายุ 109 ปี”

 

รวมทั้งจะการกระจายอำนาจที่ผู้บริหารท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้ง และยุบให้เหลือ 1 ตำแหน่ง อย่างผู้ว่าฯ ราชการจังหวัดที่เลือกตั้งเข้ามา และเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมทั้ง ต้องแก้กฎหมายให้อำนาจ จัดทำบริการสาธารณะไปอยู่กับท้องถิ่นเพื่อบริหารจัดการ ได้ ให้ไม่เหมือนเดิมที่ต้องฟังจากส่วนกลางอย่างเดียว รวมทั้งการกระจายอำนาจทางการศึกษาทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่”  ซึ่งนโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับพรรคประชาชาติอีกทั้งไม่ทิ้งประเด็นการศึกษาชายแดนใต้ที่แตกต่างจะที่อื่นๆหาก “การกระจายอำนาจทางการศึกษาทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ มิใช่เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น” 

 

รศ.ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรีผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ให้ทัศนะว่า “ การเข้ามามีบทบาทของพรรคประชาชาติ ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากนายวันนอร์ หัวหน้าพรรคฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำประเทศมาเลเซีย และสามารถประสานการพูดคุยเรื่องกระบวนการสันติภาพในพื้นที่

 

นโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคประชาติ สอดคล้องกับพรรคก้าวไกลหลายประเด็น โดยเฉพาะการลดบทบาทของทหารหรือหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ แต่เพิ่มบทบาทให้หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพฝ่ายพลเรือนมากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้การเมืองนำการทหารในครั้งแรกของพื้นที่

 

จึงน่าจับตาว่า พรรคท้องถิ่นนิยมอย่าง “ประชาชาติ” จะเข้ามามีบทบาทในกระบวนการสันติภาพเพื่อลดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไร?(อ้างอิงจาก https://mgronline.com) อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายท่านกังวลหน่วยความมั่นคงว่าจะยอมหรือ?

นอกจากนี้มีการปั่นกระแสรายวันหลังเลือกตั้ง “วาทกรรมสร้างความหวาดกลัวเช่นชายแดนใต้จะถูกแบ่งแยกดินแดน สอดคล้องกับการเมืองส่วนกลางว่า ล้มเจ้า เป็นลูกไล่อเมริกา หรืออเมริกาจะตั้งฐานทัพ”นี่เป็นข้อท้าทายของพรรคก้าวไกลซึ่งมีโอกาสทำงานร่วมกับพรรคประชาชาติ

#นักวิชาการเสนอให้แฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง

 

ทัศนะนักวิชาการสำหรับแฟนคลับทั้งสอง

 

หนึ่งสำหรับแฟนคลับก้าวไกล

 

อาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ ชาวยะลา อาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย ให้ทัศนะดังนี้

 

1. แฟนด้อมของส้มควรเปิดใจ เรียนรู้ถึงความแตกต่างและหลักความเชื่อทางศาสนาอื่นบ้าง อาจารย์วันนอร์ได้ยืนยันในหลักการของศาสนาที่ไม่อาจยอมรับในเรื่องนี้และเรื่องนี้ก็เป็นนโยบายของพรรคประชาชาติมาโดยตลอด   

 

2. อาจารย์วันนอร์ก็ยังเสนอทางออกของ กม.นี้ถ้าผ่านก็ให้มีข้อยกเว้นไม่บังคับใช้กับมุสลิม (ซึ่งกฎหมายนี้เมื่อโหวตในสภาก็ต้องผ่านแน่นอน ประชาชาติมีแค่ 9 เสียงเอง) 

 

3. ในสิงค์โปร์ที่เป็นเซคคิวลาร์สุดๆ มีรับรองอาชีพโสเภณีถูกกฎหมาย แต่มีข้อยกเว้นว่าอาชีพนี้ไม่ให้มุสลิมทำ เพราะในประเทศเขาก็มีประชากรมุสลิม

 

4. มาเลเซียประเทศมุสลิมแท้ ๆ มีคาสิโน การพนันถูกกฎหมายแต่ก็มีข้อยกเว้น ห้ามมุสลิมยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจนี้ในทุกด้าน 

 

5. ประเทศไทยมีความหลากหลายทางความเชื่อศาสนา กำลังจะมีประชาธิปไตยที่เบิกบาน กำลังจะมีสิทธิเสรีภาพ  แต่การแสวงจุดร่วม สงวนในความต่าง เป็นสิ่งที่ควรมีเช่นกัน การถล่มก่นด่าไปถึงศาสนาอื่น มันไม่ควรเกิดขึ้นเลยในสังคมอารยะแบบนี้ 

 

6. ขอให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จโดยเร็ว เราสนับสนุนพิธาเป็นนายก อะไรๆ ที่สะดุดขัดขวางก็ให้ฝ่าฟันผ่านไปได้ด้วยดี

สองสำหรับแฟนคลับพรรคประชาชาติ

อาจารย์กามาล อับดุลวาฮับ สะท้อนว่า

 

หลายปีก่อน มีงานศึกษาน่าสนใจชิ้นหนึ่งของ The Islamicity Foundation ที่ลองเปรียบเทียบประเทศต่างๆที่มีค่านิยมหรือหลักปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของอิสลามในประเด็นของระบบเศรษฐกิจ การพัฒนามนุษย์ หลักกฏหมายและระบบธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชนและการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยตัดประเด็นหลักปฏิบัติที่เป็นคำสอนเฉพาะมุสลิมเช่น การละหมาด ถือศิลอดและการประกอบพิธีฮัจย์ออกไป พบว่าลำดับต้นๆกลับเป็นประเทศตะวันตกทั้งหมด สูงสุดคือนิวซีแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์ ขณะที่ชาติมุสลิมกลับอยู่ลำดับท้ายๆ ก็ไม่น่าแปลกใจ ที่ปรากฏว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่ออิสลามอย่างสันติวิธีมักจะเลือกชาติตะวันตกเหล่านั้นเป็นที่ลี้ภัย อิสลามดำเนินอยู่ได้อย่างเสรีและเติบโตเบ่งบานในประเทศตะวันตก แต่หากกลับไปยังประเทศบ้านเกิดอาจจะถูกเพ่งเล็ง หรือแม้แต่ถูกจับกุมเพราะมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาล เพราะผู้ปกครองประเทศอิสลามส่วนใหญ่เป็นฝ่ายอำนาจนิยม เต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ ผลประโยชน์ของพวกพ้อง ไม่ต้องการฝ่ายที่เห็นต่าง  

 

พรรคก้าวไกลก็คงไม่ต่างจากชาติตะวันตกเหล่านั้น หากเอาตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับคำสอนของอิสลามเฉพาะประเด็นความโปร่งใส ความมีธรรมาภิบาล ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แนวคิดของพรรคก้าวไกลจะอยู่ลำดับแรกๆ แน่นอน และค่านิยมแบบนี้ืที่น่าจะส่งเสริมให้เกิดกับเยาวชนบ้านเราอะไรที่ไม่ตรงกับหลักการของเรา ก็ต้องบอกว่าไม่เห็นด้วย แสดงจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากในสังคมประชาธิปไตย”

 

ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด “อิสลามไม่มีทางตันทางการเมือง แนวปฏิบัติของท่านนบี ศอลฯ สำหรับนักปกครอง ในการรักษาเป้าหมายใหญ่ (มัศละหะฮ์) แม้ต้องเลี่ยงหลักรองๆ”

 

จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอิสลามสามารถกล่าวได้ว่า หลักใหญ่ใจความของการเมืองในอิสลามไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด ขาว-ดำ แต่เป็นเรื่องของการมองหาสิ่งที่ดีกว่า - มัศละหะฮ์ -  สิ่งที่สำคัญกว่า สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า 

 

หลักการนี้ ปวงปราชญ์ใหญ่ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เห็นพ้องและปรากฏอยู่ในตำรับตำราอิสลามมากมาย

 

อิหม่ามสะยูตีย์ กล่าวไว้ในตำรา الاشباه والنظائر ว่า

 

الْقَاعِدَةُ الْخَامِسَةُ: تَصَرُّفُ الْإِمَامِ عَلَى الرَّعِيَّةِ مَنُوطٌ بِالْمَصْلَحَةِ

 

"กฎข้อที่ 5 การปฏิบัติของประมุขแห่งรัฐที่มีต่อประชาชน ตั้งอยู่บนหลักประโยชน์-มัศละหะฮ์- ตามหลักการศาสนา"

 

หลักการนี้มีที่มาจากอัลกุรอานและหะดีษดังกล่าวข้างต้น

 

เพื่อการปกป้องรัฐอิสลาม อันเป็นเป้าหมายใหญ่ ท่านนบี ศอลฯ ยอมให้งดเว้นการใช้หลักการห้ามโกหกหลอกลวง อันเป็นหลักทั่วไปในยามปกติ 

 

หลักการอิสลามสำหรับคนทำงานอิสลามระดับสูง จึงไม่ได้ขาว-ดำ อย่างชัดเจน แต่เป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการเดินสู่เป้าหมายท่ามกลางอุปสรรคทุกชนิดที่เข้ามาทดสอบกึ๋นความสามารถ

 

หลังจากดร.ฆอซาลี เขียนบทความนี้ มีผู้ถามท่านว่า “ดังนั้นเราควรมองข้างเรื่องนโยบายของพรรคก้าวไกลที่ขัดกับหลักการอิสลามไปก่อนใช่ไม่ครับ อย่างน้อยให้ได้ร่วมรัฐบาล ได้เป็นรมต.ดีกว่า แล้วค่อยเจรจาหรือไม่ก็งดออกเสียงไป?

 

ท่านตอบว่า “ก็แล้วแต่สถานการณ์ครับ ว่าจะออกเบอร์ไหน 1) ไม่เห็นด้วย 2) งดออกเสียง หรือ 3) เห็นด้วย  โดยเปรียบเทียบกับข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมุสลิม และการคุ้มครองชีวิตและเสรีภาพของ ปชช.จชต. ซึ่งอิสลามถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าสำคัญกว่าและสำคัญกว่าเรื่องเหล่านี้    อยากให้ศึกษาตัวอย่างตุรกี ที่ปัจจุบันยังมีกฎหมายโสเภณีถูกกฎหมายและอีกหลายฉบับที่ขัดแย้งกับอิสลาม เวลาพรรคร่วมรัฐบาลเสนอ แอร์โดกันทำอย่างไร  เดาว่า ยังไงก็ไม่ปัดตกทั้งหรอก  ต้องมีเห็นด้วยบ้าง  ซึ่งผลเสียยังน้อยกว่าหลุดจากอำนาจปกครอง ที่จะทำลายโอกาสปกป้องชีวิตกลุ่มผู้ลี้ภัยและหลักการอิสลามอีกมากมายนับไม่หวาดไม่ไหว”

 

#ประชาสังคมชายแดนใต้เห็นสอดคล้องกับกระแสประชาสังคมและนักวิชาการทั้งประเทศให้หนุนโหวดพิธา

ประชาสังคมชายแดนใต้สององค์กรใหญ่คือสภาประชาสังคมชายแดนใต้และสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ( CAP ) เห็นสอดคล้องกับกระแสประชาสังคมและนักวิชาการทั้งประเทศให้เคารพหลักการประชาธิปไตย โดยสนับสนุนให้พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จนมีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือให้หนุนโหวดพิธา (อ่านเพิ่มใน https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000032183)

 

18 พฤษภาคม 2566  นายแวรอมลี แวบูละ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

เปิดเผยว่า “สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงขอวิงวอนให้นักการเมืองและ สว.ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมมีเหตุมีผลในการโหวตเลือกแคนดิเดตนายรัฐมนตรีในครั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจต่อบ้านเมือง รู้รัก รู้สามัคคี และการให้อภัยเพื่อให้ประเทศชาติเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ทุกภูมิภาครวมทั้งปาตานี/ชายแดนใต้พึงปรารถนา

ด้วยจิตคารวะ สส.และ สว.ทุกท่าน” กล่าวคือ

 

ชาวชุมชนปาตานี/ชายแดนใต้ (Patani Community) ทุกศาสนิกในพื้นที่ชายแดนใต้ต้องทนอยู่กับภาวะความกลัวในสถานการณ์ความรุนแรงมาอย่างยาวนานเกือบสองทศวรรษวิถีการดำรงชีวิตเต็มไปด้วยข้อจำกัดที่ไม่พึงประสงค์

จึงมีความคาดหวังสูงต่อการบรรลุผลของกระบวนการพูดคุยสร้างสันติภาพในพื้นที่ในระยะเวลาที่ไม่นานนัก ด้วยความเชื่อมั่นว่ากระบวนการทางประชาธิปไตยถือเป็นหนึ่งแนวทางสำคัญที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนของประชาชน

ในการหาทางออกของปัญหาที่ดำรงอยู่

ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประชาชนทุกภูมิภาค

ทั่วประเทศไทยได้มอบความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อการเมืองฝ้ายประชาธิปไตยอย่างท่วมท้นและขณะนี้มีแคนดิเดตนายกรัฐมนาตรี ชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล

แต่กลับปรากฏว่า มีตัวแปรสำคัญที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 ที่จะเป็นปัญหา

ต่อการดำเนินทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ลุล่วงไปด้วยดี คือ การที่มี สว.จำนวน 250 ท่านมีส่วนในการโหวตคะแนนเลือกผู้นำประเทศในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะงดออกเสียงหรือออกเสียงคัดเสียงการเลือกนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้

ทางสภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ

ในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเกรงว่าสถานการณ์ความขัดแย้งจะยิ่งยึดระยะเวลายาวนาน

ทำให้การพัฒนาประเทศโดยรวมยิ่งถดถอย โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ปาตานีชายแดนใต้

ที่มีความสุ่มเสี่ยงในหลายๆด้าน มีความเปราะบางในวิถีการดำรงชีวิตตลอดเวลาระยะที่ผ่านมาจวบจนถึงทุกวันนี้

สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงขอวิงวอนให้นักการเมืองและ สว.ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมมีเหตุมีผลในการโหวตเลือกแคนดิเดตนายรัฐมนตรีในครั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจต่อบ้านเมือง รู้รัก รู้สามัคคี และการให้อภัยเพื่อให้ประเทศชาติเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ทุกภูมิภาครวมทั้งปาตานี/ชายแดนใต้พึง

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112