Back

จากโคบอลท์ 60 ถึง ซีเซียม 137 เรากำลังกลายเป็นแผ่นดินมลพิษ

16 April 2023

966

จากโคบอลท์ 60 ถึง ซีเซียม 137 เรากำลังกลายเป็นแผ่นดินมลพิษ


สิ่งที่ผมเขียนวันนี้ อาจจะรู้สึกว่าไกลตัวมากสำหรับ เพื่อนพี่น้องของผม ผมเฝ้าฝันหรือคาดหวังว่า ระบบการจัดการสังคม ซึ่งดำเนินโดยภาครัฐ ทั้งท้องถิ่นและรัฐส่วนกลาง ควรจะได้รับรู้ “ข้อคิดเห็นประชาชน” คนตัวเล็กตัวน้อยอย่างพวกผม

อาทิตย์ก่อนผมได้คุยกับพี่ ที่รักมากท่านาหนึ่ง เรื่องวิบากรรม คนเชียงใหม่ รวมถึงคนทางภาคเหนือ เรื่องฝุ่นควัน จากการเผาไร่ เพื่อเตรียมผืนดินเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทุกๆปี ตอนนี้ กำลังกลายเป็นมฤตยูร้าย ทำร้ายสุขภาพคนทุกคน และกำลังขยายความรุนแรง ความยาวนานและความสาหัส ที่บางส่วนพัดลอยข้ามพรมแดนมาจากฝั่งพม่า สำหรับภูมิประเทศทางภาคเหนือ  วิบากรรมนี้ ไม่ได้มีแค่ ฝุ่นควันจากการเผาไร่ แต่โดยสภาพพื้นที่ และ การขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ไปทั่ว การรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแทบทั้งปี  และการเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ ล้วนแต่ สมรม รวมกันเป็นปริมาณเชิงคุณภาพของมลพิษต่างๆ เพราะชัยภูมิที่ตั้งชุมชน ปัจจุบันกาลเป็นเมืองของภาคเหนือ เป็นที่ราบแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา จึงเป็นจุดที่ อบอวล คละคลุ้ง และแนวปราการภูเขาคือกำแพงกักการพัดเวียนของฝุ่นควัน หมายถึง ถูกอบหรือรม ตลอดเวลา ตอนนี้ คนพอมีฐานะก็อยู่รอดด้วยการ เปิดแอร์ ปิดประตู ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาฝุ่น แต่ในระยะยาว อาจจะยิ่งซ้ำเติม จากสาร
CFC = คลอโรฟลูออโรคาร์บอน HCFC = ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน และ  HFC = ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก

ผมพูดเรื่องนี้ ตั้งแต่เมื่อ
20 กว่าปี และผมคนหนึ่งที่ไม่เคยหลงเสน่ห์เชียงใหม่ ไม่ว่า แง่มุมใด ?

ผมว่าจะพูดเรื่อง ซีเซียม
137 นะเนี้ย พอดีหน้าเฟสบุ้คผม เมื่อวาน มีแต่โพสต์เรื่อง ซีเซียม 137 จนผมต้องเปิดอ่าน ว่าคืออะไร พออ่านจบก็นึก ข่าวหนึ่งที่ผม เริ่มทำงานใหม่ๆ แล้วก็ไล่ตามอ่าน สัมภาษณ์ นั่นคือ ข่าวกรณีคนเก็บของเก่า เศษเหล็ก เก็บแท่งเหล็กที่เคยบรรจุ สารกัมตรังสี ที่ชื่อ โคบอลท์ 60 ไปผ่าชำแหละ ขาย กลายเป็นข่าวใหญ่เพราะ มีคนหลายคนไปโดนสารกัมตรังสีแล้ว นิ้วมือ เท้า เปื่อย เพราะรับสารมันตรังสีปริมาณมาก คำถามคือ มันมาได้อย่างไร ?  เราไม่มีอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ไม่ได้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนหนึ่งมีบางอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้ และ ส่วนหนึ่งมากับ “ขยะ”

ประเทศที่โง่เขลา  เพรียกร้องให้ ประเทศอุตสาหกรรมเข้ามาลงทุน ตั้งโรงงาน และเรา เตรียมสถานที่พิเศษ “เขตอุตสาหกรรม” ประเทศผู้ผลิตสิ่งเหล่านี้ ถูกประชาชนห้าม หรือ มีกฎหมาเข้มงวดมากในการกำจัด เพราะต้นทุนสูง ก็มาอาศัยประเทศที่ยังด้อยพัฒนา อาทิ ไทย และ ประเทศยากจนโลกที่สาม เป็นที่ทิ้งขยะ เมื่อไม่กี่ปีก่อน ก็ขยะเคมีอันตรายจาก จีน

ประชาชนผู้ไม่ได้อานิสงส์ อะไรจากความมั่งคั่งของโลกที่หนึ่ง แต่ต้องมารับกรรมกับกากสารพิษ เต็มไปหมด ตอนนี้ นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภาคตะวันออก ล้วนเป็นอุตสาหกรรมเคมี อยู่ปะปนกับชาวบ้าน ชาวสวน มีเดือนที่แล้วผมไปขายไวน์แถวชลบุรี ระยอง จันทบุรี ขับรถ วนเวียน (หลงทาง) พบแต่โรงงานจำนวนมาก
2 ข้างทาง เท่าที่มอง ยังรู้สึกได้ว่า การเติบโตของกลไกรัฐ การเตรียมการ จัดการดูแล ระบบจำกัด ขยะ มลพิษ ทั้งทางอากาศ และทางน้ำ ยังไม่ดีพอ คนพื้นเมือง คนพื้นเพเดิมๆ หายไปหมด กลายเป็นเมืองใหญ่ จอแจ บ้านจัดสรร บนที่สูง เนินเขา ผมหลับตานึก ว่าน้ำกินน้ำใช้จะจัดการอย่างไร น้ำเสียทั้งหมดไหลไปไหน และ ฝุ่นควันที่ลอยขึ้นท้องฟ้า เจือจางในอากาศพัดลอยไปถึงไหน

เมื่อเช้าตื่นมา มีบางข้อมูลรายงานว่า ฝุ่นแดง สารกัมตรังสี ซีเซียม
137  ที่ใช้เวลาหลายร้อยปีย่อยสลาย ไปกระจายขึ้นท้องฟ้าจากการหลอมไปแล้ว และอาจจะพัดไกลไปเป็นพันกิโล !! 

ซีเซียม
137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ทำให้เกิดโรคซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้า และแกมม่า ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็ง ส่วนอาการก็มีตั้งแต่ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้ !!


ผมกลับมาดูทิศทาง จากรายงานของกรมอุตุนิยม ไอ้ห่า..!!  มาทางสุรินทร์ซะด้วย และปราจีนบุรี ก็ห่างจากสุรินทร์ แค่ 200 กม. เวรกรรม

การพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องเร่งรีบ เพราะยิ่งช้าเรายิ่งถูกกลืนกินอนาคต ทรัพยากรธรรมชาติ และ โอกาสในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่กระนั้น การวางมาตรการที่รอบคอบเป็นสิ่งจำกัด และการกวดขัน กลไกราชการให้ทำงาน อย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิภาพของประชาชน  รวมถึง  ทิศทางการพัฒนาประเทศต้องมีการทบทวนเป็นระยะและให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ไม่ใช่ จู่ๆ ก็คนจนๆ คนรากหญ้าคือผู้รับผลกรรมจากสารพิษ ส่วนผู้ก่อมลพิษ มีชีวิตสุขสบาย


เมื่อวานก่อน ที่ผมคุยกับพี่สาวท่านนั้น ที่อยู่เชียงใหม่ ผมหัวเราะและบอกแกว่า ให้ย้ายทมาอยู่สุรินทร์กับผม เชียงใหม่ไม่ใช่แดนสวรรค์นานแล้ว วันนี้ ผมต้องเบรกพี่เขาแล้ว เพราะว่า บนโลกใบนี้ ไม่มีที่ไหน ปลอดภัยเลย กากมลพิษ ขยะสารพิษ ที่ประเทศอุตสาหกรรม นำขนไปทิ้ง มีทั่วโลก ตลอดหลายสิบปี ที่ผ่านมาอย่างลับๆ จนอเมริกา คิดค้นวิธีการขนไปทิ้งยังนอกโลก สารพิษบางอย่าง สามารถพัดลอยข้ามประเทศ พัดไปไกลเป็นพันๆ ไมล์ พัดได้ไกลครึ่งค่อนโลก เราไม่มีที่ไหนปลอดภัย
save zone อีกแล้ว  โดยเฉพาะบนแผ่นดินสยามนามประเทือง ที่มีผู้นำประเทศ แทบเดินไม่ได้ แต่อยากเป็น นายกรัฐมนตรี เรื่อยไป

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112