Back

ประเด็นดราม่ากะเมาะห์ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีกับความท้าทายของมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมทั้งระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเองมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน

26 January 2023

616

ประเด็นดราม่ากะเมาะห์ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีกับความท้าทายของมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมทั้งระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเองมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน

( ขอบคุณภาพจาก :http://www.geog.pn.psu.ac.th/1VRGEOG360/SocialIndex.html )

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

 

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

Shukur2003@yahoo.co.uk

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

 

6 ธันวาคม 2565 นายสุกรี มาดะกะกุล หนึ่งในผู้สื่อข่าวชายแดนใต้รายงานว่า “ กรณีผู้ว่าเมาะ หรือพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีที่ภาพทำให้เข้าใจผิดเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมทำพิธี ฯด้วย แต่ความเป็นจริงในส่วนพิธีการนั้นท่าน มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทนหมด ซึ่งภาพที่เห็นคือช่วงที่ท่านจะกลับ เข้าไปไหว้สวัสดีลา เจ้าคณะฯ เป็นโอกาสคารวะด้วย  เพราะมีในกำหนดการเยียมผู้นำทั้ง 4คืออิสลามบาบอแม หรืออับดุลรอแม มะมิงจิประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีหลังจากนั้นไปศาลเจ้าจีน และจบที่ ผู้นำศาสนาคริสต์”นั้นทำให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์มากหรือภาษาข่าวเรียกว่าดราม่านั้นเอง เหล่านี้คือความท้าทายของมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมทั้งระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเองมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน

 

#

ความท้าทายของมุสลิม:พหุวัฒนธรรมระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเอง

 

 

 

 

 

 

เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2561 ผู้เขียนได้ร่วมเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “ สนทนากับพหุวัฒนธรรม บทสะท้อนจากนักวิชาการอิสลาม"ซึ่งมีนักวิชาการอิสลามอย่าง ผศ.เจ๊ะเลาะ แขกพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการฝ่ายวิชาการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ อุสตาซซอลาฮุดดิน หะยียูโซ๊ะ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำเเหง และรองผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี

 

จากการเสวนาครั้งนี้มีความท้าทายสำหรับผู้เขียนในการจัดการพหุวัฒนธรรมสองส่วน

 

หนึ่งพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกับต่างศาสนิก

 

สองพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกันเอง

 

สำหรับข้อที่หนึ่งผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดในหนังสือผู้เขียนได้ในหนังสือวิถีมุสลิมกับความหลากหลายวัฒนธรรม ( โปรดอ่านรายละเอียดใน http://www.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=75311)ซึ่งในหนังสือนี้จะฉายภาพถึงวิถีชีวิตมุสลิมในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วนเมื่อเห็นพระยังถ่มนำ้ลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นหากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ

 

#แน่นอนมุสลิมต้องระวังให้มากหากจะปฏิบัติอย่างไรโดยเฉพาะในยุคโซเซียลปัจจุบัน ที่สิ่งที่เราเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด สำหรับผู้เขียนแล้วมันไม่ใช่ความท้าทายของข้าราชการมุสลิมอย่างเดียว มันเป็นความท้าทายผู้รับสารมุสลิมเราที่จะสื่อสารอย่างไรเรามิใช่มุฟตี ผู้ตัดสินประเด็นนศาสนาคือมุฟตีย์คือจุฬาราชมนตรีถ้าเมืองไทย เราเป็นแค่ดาอีย์ ในขณะเดียวกันสื่อชายแดนภาคใต้ก็เช่นกันจะสื่อสารอย่างไรต่อผู้รับสารเพื่อสันติภาพ อีกทั้งปัจจุบันทุกคนมีมือถือ สามารถเป็นสื่อได้ และผู้บริหารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ฝากเรื่องนี้เช่นกัน(6 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนอิสลามประชานุเคราะห์ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี) ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด นักวิชาการอิสลามศึกษาชื่อดัง กล่าวว่า “ มุฟตีย์โซเซี่ยลสร้างปัญหา ดาอีย์ล้ำเส้นเป็นมุฟตีย์  ความผิดพลาดที่มักมองไม่เห็น”รวมทั้งสอดคล้องกับทัศนะผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีที่ท่านมองว่าเป็นความท้าทายของสื่อในสังคมพหุวัฒนธรรมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน (ดูคลิปจากสุกรี มาดะกะกุล เพจแอดชายแดนใต้

 

https://youtu.be/kqggItIGYQY)

 

#ข้อเสนอแนะ

 

สำหรับประเด็นนี้ผู้เขียนมีข้อเสนอเเนะดังนี้คือหนึ่งการศึกษาหลักการอิสลามกับพหุวัฒนธรรม สองการยอมรับเรื่องพหุงัฒนธรรม สามการสานเสวนาระหว่างคนต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรมในทุกระดับไม่ว่าประชาชน นักวิชาการ ผู้นำศาสนา สี่การหนุนเสริมการเเก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ห้าการจัดทำหรือปรับปรุงคู่มือทักษะวัฒนธรรม(อ่านเพิ่มเติมใน http://thesis.swu.ac.th/swuebook/A419513.pdf)

 

สำหรับความท้าทายข้อที่สองคือความเห็นต่างระหว่างนักวิชาการอิสลามในพื้นที่ในประเด็นปลีกย่อยด้านหลักศรัทธา(ท่านสามารถอ่านรายละเอียดวิทยานิพนธ์ผู้เขียนได้ในhttp://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=108)หรือความเเตกต่างด้านหลักปฏิบัติอันเนื่องมาจากในโลกมุสลิมเองมีนิกายต่างๆอันส่งผลวิถีปฏิบัติของมุสลิมเองต่างกันด้วย(โปรดอ่านรายละเอียดในหนังกฎหมายอิสลามของผู้เขียน

 

https://www.deepsouthwatch.org/node/10243)

 

จากทัศนะที่เเตกต่างของนักวิชาการอิสลามในอดีตส่งผลให้วิถีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติของมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้จนเป็นวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่เเตกต่างด้วยเช่นกันซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดเเย้งด้วยเช่นกัน พูดได้ว่า "จากพหุทัศนะสู่พหุวัฒนธรรมในสังคมมุสลิม" ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายของมุสลิมโดยเฉพาะผู้นำศาสนาซึ่งประชาชนมักจะอ้างเเบบชาวบ้านระหว่างสายเก่ากับสายใหม่ซึ่งมีทัศนะที่เเตกต่างจะสามารถสานเสวนาผ่านปฏิบัติการณ์ทางวิชาการภายใต้เเนวคิดเเสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ในขณะเดียวกันปัญหาร่วมสมัยต่างๆ จะทำอย่างไรที่จะมีการปรึกษาหารือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้รู้ทั้งสองสายกับผู้รู้ระดับโลกเพื่อสามารถเเก้ปัญหาให้สอดคล้องเหมาะสมทันยุคทันสมัย

#หมายเหตุ

มีหลายประการที่มุสลิมทำได้และไม่ได้ ก่อนจะมีประกาศทางการของสำนักจุฬาราชมนตรีขอให้เราดูอดีตคำตอบเดิมได้ที่

 

1. คำตอบของท่าน จุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับปัญหาข้อขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลามจากบางส่วน

 

2. คำตอบจุฬาราชมนตรี ( ประเสริฐ มะหะหมัด ) 23 ข้อ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต.

 

3. ข้อเสนอแนะ มุสลิมกับพิธีกรรมการเคารพภักดีต่อพระมหากษัตริย์

(อ้างอิงจาก https://deepsouthwatch.org/th/node/9596)

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112