Back

จากผู้บุกเบิก กลายเป็น ผู้บุกรุก

29 November 2022

1161

จากผู้บุกเบิก กลายเป็น ผู้บุกรุก

ผมเห็นข่าวนี้แต่เมื่อวานซึ่งก็ไม่ได้แปลกใจอะไร เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ผมมีโอกาสเตร็ดเตร่เก็บข้อมูลชาวเล ฝั่งอันดามัน ตั้งแต่ระนอง ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง และสตูล ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม ชนสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งชนพื้นเมืองไทย ที่ยังคงความดั้งเดิม มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ชาวเล ซาไก หรือมันนิ และ มลาบรี หรือผีตองเหลือง ชาวเลเองก็แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ อูรักลาโว้ย มอแกนและมอแกลน

 

ความน่าสนใจมากที่ผมค้นพบ คือ หลายคนยังไม่เข้าใจระบบการครอบครอง หมายถึง เรื่องกรรมสิทธิ์ ไม่เข้าใจว่า มนุษย์จะเอาที่ดิน ไปทำไม ยุคที่ผมลงพื้นที่ ยังมีคนแก่หลายคน ไม่เข้าใจแม้กระทั่ง ระบบการค้า หรือ เรื่องมูลค่า ได้ปลามาเต็มเรือก็แลกเหล้ากิน ให้เท่าไหร่ก็เอา หลายคนยังเคยใช้ชีวิตไปตามเกาะแก่ง หมายถึง ชาวเลไม่ได้พักพิง ปักหลักกับที่ ช่วงฤดูไหน ไปอยู่ตรงไหน กินอะไร แต่สิ่งที่ผมชอบและน่าสนใจ คือ การฝังศพ กับลูกมะพร้าว บางคนเล่าว่า ที่เกาะแก่งต่างๆ มีมะพร้าวเต็มเกาะเพราะใต้ผืนดินนั่นคือกระดูกชาวเล หรือแม้ชื่อเกาะแก่ง ก็ภาษาชาวเล อาทิ บูกิต หรือ ภูเก็ต ปิอาปิ หรือ พีพี

วิบากรรมของชนพื้นเมือง คือ ไม่เท่าทันกระแสโลก อาทิ การสถาปนา ประเทศขึ้นเป็นรัฐ มีกฎหมายอ้างอำนาจเหนือผืนดิน  ประกาศพื้นที่ต่างๆ เป็นเขตอุทยานทางทะเล โดยทับหรือ ครอบลงบนวิถีชีวิตคนพื้นเมือง การเข้ามาของทุนและระบบกรรมสิทธิ์ ที่คับคั่งไปด้วย การคอรัปชั่น แสนชั่ว ซึ่งก็คือ การออกสารสิทธิ์ ยึดเอาที่ดินชาวบ้าน ชาวเล หรือ คนพื้นเมือง

หลายปีที่ผมตระเวน ทำข่าว เก็บข้อมูล ตั้งแต่ สมัยบ้านผ่าช่อ ที่ลำปาง ปี
2537-38 ประเทศนี้ โดย รัฐ ออกฎหมาย ยึดที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยชาวบ้าน หรือ คนพื้นเมือง แทบทั้งสิ้น เพราะไม่มีที่ใด บนแผ่นดินที่ไม่มีคนอยู่หรืออาศัยทำกิน กฎหมายที่ออกโดยคนที่กรุงเทพฯ !!

 

กรณี หลีเป๊ะ ก็คล้ายๆ กัน คือ ออกเอกสารสิทธิ โดยมิชอบ และ รัฐกลายเป็นเครื่องมือนายทุน ละเมิดสิทธิพื้นฐานคนพื้นเมือง  บนเกาะหลีเป๊ะ เมื่อวานจึงเกิดเหตุการณ์ชาวเลเกาะหลีเป๊ะนับร้อยชุมชุมค้านนายทุน ที่ใช้สิทธิ์โดยอ้างกฎหมาย ปิดเส้นทางไป ไปโรงเรียนของเด็กๆ และคนในชุมชน ที่อาศัยบนเกาะแห่งนี้มา กว่า 100 ปี เพราะชาวเลที่นี่ มีหลักฐานการอพยพจากเกาะลันตา มาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5

ในปี 2517 ที่นี่ ได้มีการประกาศเป็นเขตอุทยานฯทับพื้นที่ชาวบ้าน  แต่รัฐผ่อนปรนให้อยู่อาศัย ทำกิน โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ จู่ๆ ก็มีคน มาอ้างเป็นเจ้าของ และมีเอกสาร สค.1 และกลายเป็น นส.3 ในเวลาต่อมา แถมที่ดินบางแปลง มีการงอกเงยขยายใหญ่ขึ้นๆ จนวันนี้ ก็เกิดข้อพิพาทรุนแรงระหว่างชาวบ้าน กับคนที่แอบออกเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเวลานี้ ทางออกเดียว คือ

1 ทบทวน กระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ใหม่ ว่าถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่ ถ้าไม่ ข้าราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องได้รับโทษ ไปพร้อมๆ กับ นายทุนที่กระทำการนี้ด้วย
2 ทบทวน เรื่อง สิทธิคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นสิทธิ ที่ประเทศเกือบทั้งโลกให้การคุ้มครอง รวมถึง สิทธิทางวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานของสังคม ที่มีรากเหง้ามายาวนาน ซึ่งปัจจุบัน  วิถีวัฒนธรรม กฎหมายรัฐธรรมนูญให้การรับรอง คุ้มครอง  มาโดยตลอด
3 ทบทวน ฐานะของสิทธิคนพื้นเมือง ในทางกฎหมาย สิทธิดั้งเดิม ย่อมอยู่เหนือ สิทธิในเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเกิดในภายหลัง การเขียนกฎหมายใดๆ เพื่อไปลบล้าง สิทธิ คนดั้งเดิม ย่อมกระทำไม่ได้ ดังนั้น กระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ ทับที่ หรือ ทับสิทธิ์  คนดั้งเดิม ไม่สามารถทำได้ และมีความผิดร้ายแรง

4 รัฐไทย จะต้องไม่เป็นเครื่องมือ ทุน ในการละเมิดสิทธิชนพื้นเมือง หรือ ผู้บุกเบิก ปัจจุบัน ประเทศที่เจริญแล้ว กำลังหาหนทาง คุ้มครอง อนุรักษ์ วิถีคนพื้นเมือง เพราะนี่คือ ภาพสะท้อนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ไม่ใช่ปล่อยให้ ผู้บุกเบิก ในอดีตกลายมาเป็น ผู้บุกรุก!!

5 ทบทวน กลไกหรือ กระบวนการพิสูจน์สิทธิและข้อเท็จจริง ต่างๆ ให้เร็ว และอย่างเที่ยงธรรม

ประเทศไทย เป็นประเทศที่ ตะกละตะกลามอยากรวยด้วยการขายทรัพยากร ไม่ใช่ ทำการผลิตการค้า แข่งขัน แต่เน้นขาย ขายป่า ขายแร่ ขายก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ขายมนุษย์ ขายการท่องเที่ยว สิ่งสวยงาม และกำลังขายที่ดิน เป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมาย นโยบาย ที่เร่งออกมาจึงยืนอยู่บน การปล้นชิงเอาจากประชาชน และที่เลวร้าย ปัญหาคอรัปชั่น กลายเป็นเนื้อร้าย ในระบบราชการไทย แค่เรื่องออกสารสิทธิ์ โดยมิชอบ ถ้ารื้อตรวจสอบจริงๆ คนรวย คนมีอำนาจในประเทศนี้ อาจจะติดคุกกันหมดประเทศ ครับ

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112