Back

นอกลู่นอกทาง

31 July 2022

975

นอกลู่นอกทาง

วิธีมองประสิทธิภาพทางการเมือง จริงๆมองไม่ยาก แค่ติดตามข่าว ความเคลื่อนไหว นอกเวทีอำนาจอันเป็นตัวแทนจากที่ประชาชนเลือกไป ถ้ากระบวนการหรือ กลไกต่างๆทำงานอย่างเที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ การเมืองก็จะมีประสิทธิภาพ การเมืองในระบอบรัฐสภาที่ออกแบบและมีพัฒนาการมาตลอด 100-200 บนโลกนี้ แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ได้ไม่น้อย กระแสประชาชนคือตัวชี้วัด คุณภาพการเมือง

กระนั้น ในกรณีประเทศจากรากฐานทางสังคมที่ระบอบอุปถัมภ์ มีวัฒนธรรมการพึ่งพา “อำนาจ” และ “ทุน” รวมถึงอิทธิพล ยังเป็นปัญหาสำคัญ ที่ขัดขวางการพัฒนาตัวเองในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย การเลือกคนที่คาดหวังเพียงประโยชน์ส่วนตัว มากกว่า ความสามารถ ผลงาน หรือ ความซื่อสัตย์ ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญ ทำให้เรา การเลือกตั้งยังได้คนเดิมๆ หรือ วนเวียน ที่คนเดิม พรรคเดิม บรรยากาศแบบเดิมๆ ยิ่งกว่านั้น ความไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเมือง ทัศนะคติ ของประชาชน ซึ่งเป็นอำนาจพื้นฐาน หรือ หัวใจสำคัญยังไม่ยอม พัฒนาวิธีคิดมุมมองและมองประโยชน์ประเทศเป็นหลัก ยังเป็นปัญหาสำคัญ

หลังการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ ซึ่งนำโดยฝ่ายค้าน ที่ทำหน้าที่ค้านและตรวจสอบจริงจังกับฝ่ายที่ไม่ค่อยอยากค้าน ทำให้เห็น ความอ่อนแอ จุดบกพร่อง เต็มไปหมด และนั่นคือเหตุผลว่า ทำไมระบอบรัฐสภา ยังไม่เข้มแข็ง ยิ่งบวกรวมกับออกแบบ กลไก ต่างๆ ตั้งแต่ รูปแบบการตั้งพรรค การเลือก การตัด / เพิ่ม ส.ส. กฎหมายการเอาผิดนักการเมือง กฎหมายให้อำนาจกลไกต่างๆที่ประกอบรัฐธรรมนูญ อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. กรรมการการเลือกตั้ง ไปจนถึง ส.ว. ซึ่งล้วนตี่บทบาท กำกับ ตรวจสอบ และ หนุนเสริมอำนาจรัฐบาล อย่างกรณี ส.ว. ที่มาจาการแต่งตั้ง โดยรัฐบาล ล้วนแต่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการแสดงบทบาทของรัฐสภา

การออกแบบให้อำนาจ รัฐบาลมีสูง ถ้าเดาเหตุผลก็เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล แต่ความสุ่มเสี่ยง และทำลายจิตวิญญาณระบอบประชาธิปไตยคือ หากรัฐบาลทำงานล้มเหลว อ่อนด้อยวิสัยทัศน์ และ ความสารถในการเข้าใจปัญหา แก้ปัญหา ค่อนข้างต่ำ ความชอกช้ำ ลำบาก และกระทบต่อการพัฒนาประเทศก็มีสูง

ยิ่งในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทางเศรษฐกิจอันมาจากปัจจัยภายนอก โรคระบาด สงคราม ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำหนัก ยิ่งเหมือนกระหน่ำซ้ำเติม สุดท้ายก็คิดง่ายๆสั้นๆ คือ ขายทรัพยากรหรือสมบัติประเทศ ขายอนาคตของลูกหลาน โดยทำลายสิทธิชุมชน สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จะเข้าถึง ทรัพยากร รวมถึงทำลายวิถีชีวิตอันสงบสุขของประชาขน ทั้งกรณี การอนุญาตให้สัมปทานา เหมืองแร่โปแตซ การให้สิทธิคนต่างชาติครอบครองที่ดินได้
1 ไร่ ซึ่ง ณ วันนี้ กลุ่มทุนต่างชาติ โดยเฉพาะทุนจีน กำลังรุกหนัก หลังจากกวาดต้อน ช้อนซื้อ ควบรวม และรุกหนัก เพื่อครอบครองผลประโยชน์ประเทศมหาศาล

จึงเป็นห้วงเวลาสำคัญที่ ขบวนประชาชน คนรากหญ้า ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ ต่างต้องลุกขึ้นปกป้องแผ่นดิน ถิ่นฐานบ้านเกิด บทบาท
NGOs นักวิชาการที่ยืนข้างประชาชนจึงปรากฏขึ้น การเคลื่อนไหว ถิบถี่ มุ่งตรงมายังทำเนียบรัฐบาล ในแง่หนึ่งก็เหมือนกระหน่ำซ้ำเติม สภาพบ้านเมือง เศรษฐกิจให้ฝืดเคือง ชะลอการลงทุน การค้าการขาย การท่องเที่ยว แต่ถ้าหากไม่ขยับออกมาปะทะ ความพินาศของวิถีชีวิตคนชนบท คนรากหญ้า ที่ต้องมาเสี่ยงกับโครงการต่างๆ หรือ การสัมปทาน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและความล้มสลายของชุมชนในภายภาคหน้าก็จะยิ่งหนักหน่วงขึ้น

 

ไทยเอ็นจีโอ ( www.thaingo.org ) แม้จะเป็นแค่สื่อเล็กๆ ที่รายงาน เผยแพร่ ข่าวสารการเคลื่อนไหวของขบวนประชาชน NGOs ไทย ก็ใหญ่จะมองเห็นภาพความตื่นตัว ของพี่น้องประชาชนตลอดเวลาและทั่วประเทศ เป็นบทเรียนล้ำค่า เพื่อให้เราทุกคนจดจำ ตระหนักว่า การเมือง การเลือกสนับสนุน รัฐบาล หรือ การยอมรับรัฐประหาร ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่แสนลำบากในภาคหน้า ยิ่งกลไกรัฐสภา หรือ  ส.ส. ไม่มีพลังพอจะทัดทานได้ เราที่คาดหวัง ทางออก หรือ ทางหลุดพ้นจากปัญหาปากท้องเศรษฐกิจ ยิ่งริบหรี่ การสนับสนุนการเมืองบนท้องถนน หรือนอกสภา จึงเป็นมาตรการสุดท้าย ที่เราหยุดรัฐบาลมิให้ตัดสินทางนโยบายแบบนอกลู่นอกทาง

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112