ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

แอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงกรมราชทัณฑ์ย้ำต้องคุ้มครองสิแอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงกรมราชทัณฑ์ย้ำต้องคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 ทธิผู้ต้องขังภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 

ขอบคุณภาพ จาก ประชาชาติธุรกิจ : https://www.prachachat.net/general/news-670125

แอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ขอให้ตรวจสอบการเข้าถึงสิทธิด้านสาธารณสุขของผู้ต้องขังอย่างเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานคุมขัง ย้ำ 5 ข้อเรียกร้องที่ต้องตรวจสอบและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งเรื่องการจัดหาอุปกรณ์และสิ่งของเครื่องใช้ในการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์ป้องกันจากการติดเชื้อโควิด-19 จัดหาอาหารและโภชนาการให้เพียงพอและเหมาะสม มีมาตรการลดความแออัดเพื่อให้สามารถทำการเว้นระยะห่างทางกายภาพได้ รวมทั้งให้การประกันว่าผู้ต้องขังสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่มาตรฐานสากลได้ 

นางปิยนุช โคตรรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนแล ประเทศไทย ระบุว่าจากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจำ และได้พูดคุยกับผู้ต้องหาคดีการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ทางแอมเนสตี้มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคโควิด– 19 ในสถานคุมขังรวมถึงเรือนจำทั่วประเทศ พร้อมระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2564 มีผู้ต้องหาจากการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 12 ราย ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวอย่างน้อย 4 ราย ได้แก่ ปนัดดา ศิริมาศกุล สิรชัย นาถึง แซม สาแมท และ ธนพัฒน์ กาเป็ง ซึ่ง 3 รายได้ติดเชื้อโควิดจากเรือนจำ ในขณะที่ผู้ต้องหาอีก 8 ราย ยังอยู่ระหว่างการคุมขังใน 3 เรือนจำ คือ เรือนจำชั่วคราวรังสิต ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ชาติชาย แกดำ พรหมศร วีระธรรมจารี ณัฐชนน ไพโรจน์ อานนท์ นำภา จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และเวหา แสนชนชนะศึก  

“เราได้รับรายงานจากทนายความที่เข้าเยี่ยมผู้ต้องหาว่า ผู้ต้องหาที่ยังถูกคุมขังอย่างน้อย 5 รายติดโควิด-19 โดยรวมมีผู้ต้องหาคดีการเมืองที่ได้รับเชื้อโควิดอย่างน้อย 8 ราย จาก 12 ราย เนื่องจากด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่ในการคุมขังที่มีความแออัด ผู้ต้องขังจึงไม่สามารถรักษาระยะห่างทางกายภาพ  โดยมาตรการที่เป็นทางเลือกอื่นในการบังคับใช้เเทนการคุมขังยังไม่ถูกบังคับใช้อีกทั้งการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่ล่าช้าและมีข้อจำกัดรวมถึงสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคลุมเครือและอาจเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือนักโทษทางการเมือง ทำให้ผู้ต้องขังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ซึ่งขัดต่อข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) 

“ดังนั้น ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยจึงเรียกร้องให้กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้  

1. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องจัดหาอุปกรณ์และสิ่งของเครื่องใช้ในการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน (อาทิ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และน้ำยาสระผม) ให้ผู้ต้องขังอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  

2. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องจัดหาอุปกรณ์ เช่น หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอลล์สำหรับฆ่าเชื้อ และสบู่ล้างมือ ให้กับผู้ต้องหาทุกคนเพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อและอาจช่วยให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลงได้ 

3. จัดหาอาหารและโภชนาการให้เพียงพอและเหมาะสม โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เชื้อสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรง การมีโภชนาการที่เพียงพอให้กับผู้ต้องขังยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายในสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้ 

4. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จำเป็นต้องลดความแออัด เพื่อให้สามารถทำการเว้นระยะห่าทางกายภาพ ซึ่งช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ 

5. ผู้ต้องขังต้องสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณะสุขที่ได้มาตรฐานสากล เข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนเมื่อพบว่าได้รับเชื้อโควิด-19 รวมถึงการเข้าถึงวัคซีนที่เป็นธรรม โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

 
 

 

**********
 
เนาวรัตน์ เสือสอาด
หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร
Naowarat Suesa-ard
Media and Communications Supervisor