Back

รัฐสภา กับ การเมืองภาคประชาชน

14 June 2021

4521

รัฐสภา กับ การเมืองภาคประชาชน

รัฐสภา Parliament  คือ  1 ใน 3 เสาหลัก ที่ประเทศต่างๆ ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ต่างยึดเป็นเสาหลัก นั่นก็คือ นิติบัญญัติ ( ฝ่ายออกฎหมาย และอนุมัติหรือให้ข้อคิดเห็นทางนโยบายกับฝ่ายบริหาร ) ศาลยุติธรรม ( ฝ่ายใช้กฎหมาย) และ บริหาร ซึ่งก็คือ รัฐบาล

รัฐสภาเป็นสถาบันสภานิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักร ( อังกฤษ) เป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ รัฐสภา จึงมีค่า มีความหมาย เป็นเหมือนธรรมนูญ ในการก่อตั้ง และ ดำเนินการ ประเทศไทยเองก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่
24 มิถุนายน  2475 ( อีกกี่วันก็จะครบรอบ 89 ปี ) ดังนั้น เราประชาชนควรต้องระลึกจดจำถึงเจตจำนงค์ และบทบาทที่รัฐสภาควรจะมี รวมถึง การเลือกสรร หรือ เลือกตั้ง “ผู้แทนฯ “ หรือ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในรัฐสภา โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัฐสภา ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญมาก เป็นที่ของ “ผู้แทนราษฎร” หรือ ตัวแทนของประชาชน จะมานั่ง หารือ ออกข้อบัญญัติ เป็นกฎหมาย หรือ ตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ แทนประชาชน ฉะนั้น รัฐสภา  ผู้แทนประชาชน จึงมีหน้าที่ ทำงานด้วยการยึดโยง กับเสียงหรือ ความต้องการของประชาชน คนทั้งประเทศ

 

ปัญหาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่าน กรณี ที่มี ส.ส. ซึ่งได้รับบทบาท เป็นกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ใช้สถานที่ รับเรื่องและ แถลงข่าว กรณี ลุงพล ถูกศาลออกหมายจับ คดีน้องชมพู่ จึงเป็นคำถามอื้ออึงในกระแสสังคม เพราะคำถาม คือ อะไรคือหน้าที่หลักของรัฐสภา และ ผู้แทนราษฎร อะไรคือ “การล่วงละเมิด” อำนาจและขอบเขต ศาล

ความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยน อย่างน่าเป็นห่วงของ รัฐสภาไทย คือ ส่วนหนึ่ง ผู้ที่ทำหน้าที่ในรัฐสภา ไม่ใช่ผู้แทนจากประชาชน ซึ่งก็คือ ส.ว. ( สมาชิกวุฒิสภา) แต่ได้ทำหน้าที่เสมอเสมือน ผู้แทนจากประชาชน มีบทบาท มีอำนาจ สนับสนุน รัฐบาลและนโยบายของรัฐบาล ทำให้ประชาธิปไตยไทย เป็นประชาธิปไตยที่ “ไม่ถึงครึ่งใบ” เพราะประชาชนไม่ใช่ผู้กำหนด ชะตากรรมรัฐบาล

นอกจากนั้น บทบาทของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ตลอดที่ผ่านมา โดเฉพาะฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล หลายคนไม่ได้ทำหน้าที่ ผู้แทน เป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชน กลับกัน กลับทำหน้าที่ ปั่น ป่วน การอภิปราย การนำเสนอ ทวงถาม ตรวจสอบ ของผู้แทนประชาชน ที่พยายามทำหน้าที่ในรัฐสภา และยิ่งกว่านั้น กลับใช้อำนาจ หน้าที่ในฐานะ ผู้แทนราษฎร กระทำเกินขอบเขต ท้าทาย กฎหมาย และจารีตทางการปกครองที่ดีงาม

หันมามอง รัฐสภาไทย อาคารหลังใหม่ ชื่อ สัมปายะสภาสถาน  ที่ก่อสร้างด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้าน จากเงินภาษีประชาชน  เป็นอาคารของรัฐ ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ( เป็นรองแค่ตึกเพนตากอน ของสหรัฐอเมริกา ) ท่ามกลางประเทศที่ทรุดหนักทางเศรษฐกิจ  ท่ามกลางความกังขาต่อความเป็นประชาธิปไตยที่ชาวโลกมอง และความอีหลักอีเหลื่อ ของประชาชนคนไทยที่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย

น่าสงสารประชาชนคนไทย เพราะตั้งแต่หลังรัฐประหาร (
2557) ขบวนการการภาคประชาชน ได้ถูกกวาดล้าง จับ ขังคุก คุกคาม และฆ่า ไปมาก ที่เหลือก็แตกกระสานซ่านเซ็น ไร้ที่อยู่ ไร้ที่ยืน ระเห็ดระเหเร่ร่อน ไปต่างบ้านต่างเมือง ผลสะท้อนการยอมรับ และ นิ่งเฉยต่ออำนาจเผด็จการ วันนี้ บ้านเมืองกำลังกลียุคเข้าไปทุกที หนำมิซ้ำ ยังถูกกระหน่ำด้วยโรคระบาด การบริหารประเทศที่ไร้ความสามารถ ถลุงงบประมาณไปเปล่าๆ โดยไม่ก่อเกิดประโยชน์ การคอรัปชั่นที่หนักข้อ และ การก่อหนี้ที่ท่วมหัว กำลังทำลายประเทศนี้ทั้งระบบ

 

คงถึงเวลาที่ ประชาชนคนไทย ต้องลุกขึ้นมาเหนื่อย มาเคลื่อนไหว เรียกร้องหาทางออก หาทางรอด โดยพลัน มิเช่นนั้น ประเทศนี้จะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลาน เพราะวันนี้ คนบางจำพวกไม่ใช่แค่ควบคุมอำนาจการเมือง ทำลายระบอบคุณธรรม ระบอบประชาธิปไตย และ อำนาจบริหาร โดยปราศจาก การมีส่วนร่วม จากประชาชน ยิ่งเวลานี้ มี ส.ส. ใช้ รัฐสภาอันทรงเกียรติ กระทำการลดทอน ทำให้เสื่อมเสียความสำคัญอันสง่างามของเสาหลักอีกด้วย

ผมนึกถึงการเมืองของขบวนภาคประชาชน เสาหลักที่
4 ที่ควรจะมีและตั้งมั่น โดยเฉพาะในยามที่บทบาทรัฐสภาอยู่ในภาวะง่อนแง่น ฝ่ายค้านไม่มีกำลังตรวจสอบ เสาหลักที่ 4 ต้องทำงาน บทบาทขวนการภาคประชาชน สำหรับการเมืองไทย เป็นสิ่งสำคัญมาตลอดระยะ 30-40 ปี ที่ผ่านมา การเมืองภาคประชาชน   ที่ครั้งหนึ่งเคยฮึกเหิม กล้าหาญ เสียงกึกก้องบนถนนราชดำเนิน ของคนที่รักชาติรักประชาธิปไตยและ รักประชาชน หากวันวานผิดพลาด วันนี้ก็กลับมาแก้ไขได้ การทำให้ถูกต้องไม่มีคำว่าสาย เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา...

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112