Back

“เปลี่ยนจากรับเป็นรุก” ความยั่งยืนกับการต่อสู้อันยืดเยื้อของกลุ่มชาติพันธุ์

“เปลี่ยนจากรับเป็นรุก” ความยั่งยืนกับการต่อสู้อันยืดเยื้อของกลุ่มชาติพันธุ์

3 September 2015

937

    การได้ฟังประวัติศาสตร์ฉบับย่อๆ ที่มักพูดกันย้อนๆ ไปเกือบร้อยปี เป็นเรื่องข้อจำกัดเรื่องเวลาทำให้ยังไม่ลงรายละเอียดลึกอะไรมาก แต่ว่ากระแสหลักๆอยู่ที่ตัวสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดขบวนชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอกภายในคอยหนุนเสริม ซึ่งมีคำอยู่คำหนึ่งที่พูดกันบ่อยก็คือชนเผ่าถูกกระทำ ด้วยสาเหตุของการที่ถูกกระทำ เกิดจากสถานการณ์ภายในตั้งแต่เรื่องภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าชนเผ่าเป็นพวกค้ายาเสพติด เป็นพวกบ่อนทำลายความมั่นคง ซึ่งอาจจะเกิดจากกระบวนการกระแสสังคมนิยมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เข้าไปในพื้นที่แล้วก็เกิดการเข้าไปมีส่วนในขบวนในการต่อสู้กับรัฐ ซึ่งอันนี้มันก็จะเป็นผลที่ทำให้เกิดผลกระทบในการมองชนเผ่าว่าเป็นคนละกลุ่มคนละพวกกันแล้วก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคง เรื่องของฝิ่น มันเป็นปัญหามีผลต่อทัศนคติของรัฐที่มองต่อชนเผ่าเป็นคนละกลุ่มคนละพวก ไม่ใช่กลไกเพราะฉะนั้นก็จะมีขบวนการหลายๆอย่างที่ออกมาตรการออกนโยบายอะไรต่างๆ เพื่อกระทำต่อชนเผ่าในหลายๆเรื่อง เรื่องของป่านี้ก็จะมีผลต่อเรื่องที่อยู่ที่ทำกินที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเองที่จะต้องโยกย้ายออกจากพื้นที่ที่เคยอยู่มาเป็นเวลานานแล้วก็มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าด้วย ปัญหาที่ตกค้างมาก็มีปัญหาเรื่องความยากจนโอกาสในการทำมาหากินก็น้อยลง ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะพูดเป็นคำรวมๆได้ว่าถูกกระทำ ในการถูกกระทำนี้ชนเผ่าทั้งหลายก็พยายามที่จะแสดงตัวตนออกมา แสดงอัตลักษณ์ชี้ให้คนในสังคมโดยเฉพาะรัฐให้เห็นว่าเราก็คือคน ข้อกล่าวหาต่างๆหรือทัศนคติต่างๆในเชิงลบไม่ว่าจะเป็นพวกตัดไม้ทำลายป่า หรือเป็นพวกบุกรุกป่า ทำไร่เลื่อนลอยต่างๆนี้ก็พยามที่จะพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ใช่เป็นเช่นนั้น บางทีระบบในการอนุรักษ์ทำไร่หมุนเวียน ก็เป็นปัจจัยภายในที่เป็นที่มาของการเกิดขบวนการชนเผ่าขึ้นมา นอกจากนั้นมันมีปัจจัยภายนอกประเทศคือกระแสสังคมก็มีส่วนช่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ UN ที่ประกาศให้มีปีชนเผ่าโลก ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาก็เป็นกระแสที่ช่วยได้ไม่ใช่น้อย อีกอันหนึ่งที่จะต้องพูดถึงด้วยก็คือกลไกภายในประเทศเราที่เปิดพื้นที่ หรือว่าให้สิทธิ์ผู้ด้อยโอกาสทั่วไปรวมถึงชนเผ่าด้วย นั่นก็คือการที่เรามีพันธกรณี ไปเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมืองสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ก็เปิดพื้นที่ให้ชนเผ่าได้มีพื้นที่ในการแสดงออกในเรื่องของสิทธิมากขึ้น แล้วเราก็มีกลไกคณะกรรมการสิทธิพลเมืองแห่งชาติที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐมนตรี ปี 40 เป็นกลไกที่จะช่วยส่งเสริมสิทธิ์หรือปกป้องสิทธิ์มากขึ้น เป็นข้อสรุปว่าเป็นปัจจัยในเชิงบวก การชุมนุมบางครั้งมันเป็นเรื่องลบแต่มันกลับเป็นเรื่องบวกสำหรับการกระตุ้นให้เรารวมตัวกันให้เกิดขบวนการชนเผ่าขึ้นมาบวกกับการถ่ายทอดประเด็นด้วย   ช่วงปี40-50 เห็นชัดเลยสถานการณ์เริ่มเข้ามาคือมีเรื่องเกษตรเคมีมาแล้ว ค่าต่างๆที่รัฐพยายามใช้เช่นโครงการหลวงเอามาจัด เหตุการณ์นี้เริ่มเห็นกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือพี่น้องชาวเลก่อนที่จะแยกมาเป็นพี่น้องอุรักละโว้ย มอแกน มอแกรน เหตุการณ์สึนามิจะอยู่ช่วงนี้ แล้วก็มีเศรษฐกิจเรื่องฟองสบู่ด้วย การพิสูจน์สิทธิสัญชาติช่วงนี้จะรุนแรง จะเห็นได้ว่าผู้นำชุมชนเอาชื่อเข้ามามีการเอาคนมาจากที่นู้นที่นี่ชัดเลยตอนนั้นโดยมีภาครัฐเป็นเซ็นเตอร์ กรณีป่าสวนบ้านจันทร์ปี 43 การโยกย้ายคนป่าสวนบ้านจันทร์ แล้วก็วาทะกรรมเรื่องยาเสพติด ความมั่นคงนี้ก็ชัดต่อเนื่องมาจากกรณีของคอมมิวนิสต์ด้วย นั่นคือกำลังเชื่อมโยงว่าสถานการณ์เดิมยังมีอยู่ แต่มีประเด็นใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะประเด็นที่เป็นเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นทรัพยากรร่วมอย่างเช่นสึนามิ ทิศทางของช่วงนั้นจะเป็นมีการขับเคลื่อนเรื่อง พรบ.ป่าชุมชน เรื่องทรัพยากรมาตอบรับตอนรัฐธรรมนูญปี 40 ขบวนใหญ่มาก แต่สุดท้ายก็ล้ม เครือข่ายสมัชชาชนเผ่าก็เริ่มเกิดกิจกรรมระดับพื้นที่โครงการ มีภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ก็มีโครงการมากลุ่มแกนนำก็ได้ยกระดับ อันนี้ก็เป็นโอกาส ก็เริ่มมีกฎหมายบางตัวองค์กรที่มาตอบรับกับงานเปลี่ยนกระทรวงอย่าง พอท โฉนดชุมชน โครงการพระราชดำริสงเคราะห์ชาวเขา อันนี้เริ่มเกิดมาแก้ไขปัญหาแบบเร่งด่วนให้ แกนนำลุกขึ้นพัฒนาศักยภาพมากขึ้น เกิดองค์กรชนเผ่า มีภาคประชาสังคมร่วมกับชุมชนอย่างเช่น คปน. เริ่มเห็นมีมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และอื่นๆเติบโตขึ้นมาใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง ช่วงนั้นก็เริ่มมีรัฐธรรมนูญที่พูดถึงสิทธิชุมชน สิทธิชุมชนดั้งเดิม มีแกนนำเผ่าหลายๆคนก็เริ่มเติบโตมาเป็นผู้จัดการโครงการเป็นประธานมูลนิธิ ผู้อำนวยการก็เริ่มมีแล้ว เริ่มเรียนสูงเรียนโทเรียนเอกกันแล้ว กรณีเรื่องสึนามิทำให้คนชาวเลนี้ลุกขึ้นมาพูด ทำให้คนรู้จักกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์หรือว่าชนเผ่าอีกกลุ่มขึ้นมา ปัญหาไม่มีสถานการณ์ก็ไม่เกิดเติบโตขึ้นมา ก็ยังไม่เห็นทิศทางการแก้สถานการณ์เดิมๆ กับสถานการณ์ใหม่ๆ มาช่วงปี 50 เรื่องเดิมก็แก้ยังไม่หมด เรื่องใหม่ก็ถาโถมเข้ามา เรื่องทุนนิยมลุกคืบสู่รากหญ้า เช่น การแย่งชิงพื้นที่ โลกร้อนมีคดีโลกร้อนอีกแปลกๆ แผนแม่บท ป่าไม้ ธุรกิจ นโยบาย คสช จะเห็นว่ามันปรับรูปแบบแต่มันมาจากรากเดิมหมดเลย ทุนนิยมนี้มาในเชิงรูปแบบการท่องเที่ยว เกษตรเชิงเดี่ยว พืชพลังงาน แรงงานข้ามชาติก็มี มันซับซ้อนมากขึ้นแต่มันมาจากฐานรากเดิมที่มันไม่ได้รับการแก้ คือมันแก้ไม่ได้ก็ปล่อยๆมันก็สะสมแล้วก็ประเด็นใหม่ก็เกิด ทิศทางช่วงนั้นก็คือมีการรวมตัวระดับประเทศ ผลักดัน พรบ. สภา พัฒนาศักยภาพชนเผ่าและแกนนำเยอะแยะเลย ผลักดันสู่รัฐธรรมนูญ เชื่อมประสานภาคีมากขึ้น ฐานข้อมูลขับเคลื่อนสู่สภาระดับพื้นที่ โมเดล กลไก พื้นที่ตัวอย่างต่างๆ การจัดการตัวเองนั้นเกิดขึ้น อย่างเช่นพื้นที่เด่นภาษาอัตลักษณ์ เด่นเรื่องทรัพยากร เด่น เรื่องวัฒนธรรม เรื่องพอเพียง อินทรีย์ ถูกเชื่อมโยง คนแม่ปิงลุกขึ้นมาสู้อะไรต่างๆนี้ สถานการณ์เกิด ภาพรวมนี้ไม่มีอะไรมากทิศทางของมัน สรุปได้อย่างนี้ก็คือว่าพวกเรานี้เครือข่ายชาติพันธุ์ชนเผ่าชุมชนนี้ทิศทางมันไปประมาณว่าแก้ตามหลังปัญหา ไม่เคยมีทิศทางที่จะนำปัญหาเลย แต่ตามแก้ตลอดเลยและมันก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนาน สรุปภาพรวมก็คือว่าปัญหาทั้งหมดนี้โครงสร้างอำนาจที่ต้องการศูนย์รวมต้องการจัดการคนก็เป็นโครงสร้างที่ใหญ่มากเชิงอำนาจที่ใหญ่ ค่อนข้างจะเป็นความท้าทายของเรา นโยบายพัฒนาที่กำหนดโดยกลุ่มทุนไม่มีกลุ่มใหญ่ๆและก็พวกนี้จะเชื่อมโยงกับระบบโลก ความเลื่อมล้ำที่ไม่เป็นธรรม นักองค์กรอะไรขึ้นมาก็ไม่สามารถมาต่อต้านความเป็นธรรมนั้นได้ เพราะว่าเศรษฐกิจมันนำทุกขบวนเลยตอนนี้ใช้เศรษฐกิจ เพราะมีความคิดในหัวว่าเศรษฐกิจจะแก้ปัญหาอย่างอื่นได้ แต่จริงๆใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่สุดท้ายวันนี้ทิศทางก็คือยังเป็นการแก้ตามตูดอยู่ทำยังไงให้คิดนำและก็แก้ทั้งระบบ ก็คงต้องช่วยกันอันนี้ก็คือบทสรุป  เพราะยังไม่ได้ทำงานในลักษณะที่ในเชิงรุกหรือในเชิงที่ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแล้วก็โยบายการพัฒนาที่มุ่งเน้นในเรื่องเศรษฐกิจที่กำหนดโดยกลุ่มทุนอันนี้มีผลคุกคามชนเผ่า หรือว่ากระแสการพัฒนาหลักตามกระแสทุนนิยมมีปัญหาที่มุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจซึ่งมันก็จะมีผลเรื่องการทำลายทรัพยากร ฐานทรัพยากรที่เป็นฐานในการดำรงชีวิตที่สำคัญของชนเผ่าทั้งบนดอยและทั้งชายฝั่งทะเล มีผลกับการพัฒนาชายทะเล ปัญหาเรื่องขององค์กรเชิงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องไม้เครื่องมือกวาดล้างทำให้กุ้งหอยปูปลาที่อยู่ชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งอาหารของชาวประมงพื้นบ้านหมดไป นี้ก็จะเป็นปัญหาเรื่องของทุนนิยมกระแสประมงในเชิงพาณิชย์ บนเขาเราก็ถูกขับให้ลงดอยแล้วก็มีโครงการพัฒนาใหญ่เข้าไปยึดพื้นที่ปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ปลูกพืชเชิงเดี่ยว พืชไร้ญาติ อันนี้ก็จะเป็นปัญหา การผลิตพัฒนาส่งออกเพื่อทำการค้าเป็นสำคัญมันมีผลไปรุกร่านหรือรุกล้ำพื้นที่ที่เป็นที่ทำมาหากิน ดังนั้นทิศทางการขับเคลื่อนยังตามหลังปัญหาอยู่ มีปัญหาเกิดขึ้นก็ตามแก้ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น แนวทางที่จะสามารถพลิกผันสถานะของตนจากที่จะต้องไปตามแก้ในเรื่องนั้นเรื่องนี้ มาเป็นลักษณะที่เป็นการรุกป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาได้หรือไม่ อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของขบวนการ ถ้ายังไม่เข้มแข็งพอก็คงต้องรบในฐานะที่เป็นฝ่ายถอยป้องกันตัวเอง แต่ว่าจะไม่ได้เป็นฝ่ายรุก     ทีมงาน Thai CSO  รายงาน

Recent posts