Back

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวชุมชนออนไลน์

8 November 2023

1030

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวชุมชนออนไลน์

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวชุมชนออนไลน์ “เรา” ทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องการ “เพื่อน” ที่เข้าใจ หลังพบการถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์กระทบต่อสุขภาพจิต  พร้อมร่วมรับชมนิทรรศการ 4 มิติ (เสียง ภาพ สัมผัส กลิ่น) “เรา” เข้าใจ เพื่อเรียนรู้รูปแบบการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่เคยผ่านพ้นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ  พร้อมรับฟังเวทีเสวนาเปิดข้อมูลสถิติสถานการณ์การถูกคุกคามบนโลกออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน และแนวทางในทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 11 พ.ย. ณ บริเวณ โถง ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 13.30  - 16.00  น.

สืบเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นเดือนยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล  แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา ร่วมกับไซด์คิก (Sidekick) องค์กรออกแบบการสื่อสารเพื่อสังคม และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำงานร่วมกับผู้ที่เคยประสบกับเหตุการณ์คุกคามทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อถูุกคุกคามทางเพศและยังเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 270 คน จาก 18 มหาวิทยาลัย ในเชิงลึก ผ่านการสัมภาษณ์ การสัมนา การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน (Design Thinking)

 

เราพบสถิติที่น่าสนใจจากการทำงานตลอดสองปีที่ผ่านมาพบว่าการคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์จากกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการสูงเป็นอันดับสอง (58%) รองจาก การคุกคามในพื้นที่สาธารณะ (75%)  โดยเหตุการณ์กระทบกระเทือนที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันของผู้ร่วมเข้าโครงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นใจในตนเอง การไว้ใจผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนรักหรือคนในครอบครัว รวมทั้งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งด้านการเรียนและการทำงาน 

 

ผู้ที่เคยประสบกับเหตุการณ์คุกคามทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วยว่า บริการของภาครัฐ ยังไม่ใช่ทางเลือกแรกของผู้ประสบปัญหา โดยมีเพียง 20% ที่เลือกใช้บริการดังกล่าว เมื่อเทียบกับการเลือกคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว (87%) – แต่ก็ไม่สามารถคุยกับเพื่อนได้ตลอดเวลาในวันที่เหตุการณ์กลับมาทำให้ย้อนคิด

 

 จึงต้องการ ชุมชนออนไลน์ ที่เข้าใจ ซึ่งผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์คุกคามทางเพศหรือเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจในกลุ่มอายุดังกล่าวซึ่งเรียกว่าเป็นกลุ่ม “Digital Native” หรือวัยที่เกิดมาพร้อมกับอินเตอร์เน็ตนั้น จึงต้องการชุมชนออนไลน์ (Online Community) ที่ประกอบไปด้วย คนที่เข้าใจ กล่าวคือ คนที่เคยประสบเหตุการณ์คล้ายกัน มาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ อย่างไม่ต้องเปิดเผยตัวตน (Anonymous) และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน โดยชุมชนดังกล่าวต้องสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชม.

 

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ร่วมกับไซด์คิก (Sidekick) องค์กรออกแบบการสื่อสารเพื่อสังคม และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวชุมชนออนไลน์ “เรา” ทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องการ “เพื่อน” ที่เข้าใจหลังการถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ที่กระทบต่อสุขภาพจิต

 

 พร้อมร่วมรับฟังเวทีเสวนาเปิดข้อมูลสถิติการสถานการณ์การถูกคุกคามบนโลกออนไลน์ของเยาวชนไทย และทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมรับชมนิทรรศการ 4 มิติ (เสียง ภาพ สัมผัส กลิ่น) “เรา” เข้าใจ เพื่อเรียนรู้รูปแบบการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่เคยผ่านพ้นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ  ในวันเสาร์ที่ 11 พ.ย. ณ บริเวณ โถง ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 13.30  - 16.00  น. จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว

 

โดยสื่อมวลชนจะได้พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจในงานเป็นจำนวนมากอาทิ

 

           การเปิดตัวชุมชนออนไลน์ RAO.ASIA พื้นที่ปลอดภัยที่ถูกสร้างจากความร่วมมือระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต และเยาวชนกว่า 270 ชีวิต โดยทั้งหมดเป็นผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจ และได้มาร่วมกันออกแบบนวัตกรรม ที่จะเสริมพลังให้กับผู้หญิงที่เคยผ่านประสบการณ์การคุกคามทางเพศ และต้องการเพื่อนเยียวยาจิตใจ

           กล่าวเปิดงานโดย นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส.

           ร่วมรับฟังเวทีเสวนา เปิดสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ และการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศที่เหมาะสมสำหรับ “เรา”      วิทยากรโดย

           ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ สมาคมเพศวิถีศึกษา

           ภัสรนันท์ อัษฎมงคล หรือคุณเบียร์ ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวส่วนตัวที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่นที่ต้องเผชิญกับ Trauma หรือบาดแผลทางใจ รวมทั้งความสำคัญของเพื่อน คนรัก และครอบครัวแวดล้อมที่เข้าใจ ในการช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

           รศ.ดร.สมพร รุ่งเรืองกลกิจ นักวิชาการอิสระด้านสุขภาพจิตและเพศภาวะ

           คุณทิพย์เกษร สุตันคำ ตัวแทนผู้ร่วมใช้แพลตฟอร์ม RAO.ASIA

           คุณเรืองริน อักษรานุเคราะห์ นักจิตบำบัดเจ้าของเพจ Beautiful Madness by Mafuang

           คุณตุลย์ ปิ่นแก้ว ผู้ก่อตั้ง ไซด์คิก (Sidekick) 

           ดำเนินรายการโดย พรรณภิดา เพรชรัตน์

 

           ชวนรับชมนิทรรศการ 4 มิติ (เสียง ภาพ สัมผัส กลิ่น) “เรา” เข้าใจ เพื่อเรียนรู้รูปแบบการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่เคยผ่านพ้นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ

 

           พบกับการถ่ายทอดเคล็ด (ไม่) ลับ การอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อแนะนำจากผู้ที่ผ่านเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ มาจริงๆ ทั้งประชาชนทั่วไปและศิลปิน นักแสดง จัดทำเป็น นิทรรศการศิลปะการจัดวาง หรือ Installation Art แนวตั้ง

 

           ชวนร่วมกิจกรรม “เคล็ดลับทำกับเพื่อน” ซึ่งเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์งานศิลปะ การเล่นเกม กีฬา รวมไปถึงกิจกรรมเสริมพลังต่างๆ เช่น เทคนิคการแต่งตัวเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ให้กับผู้ที่เคยผ่านการคุกคามทางเพศ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและยืนยันการเข้าร่วมงานโทร 0925350219

อีเมล์ raoandus@gmail.com

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112