Back

สังคมแห่งการเอื้ออาทร

31 October 2023

1599

สังคมแห่งการเอื้ออาทร



ความสำเร็จแบบล้นหลามเรื่องการรวบรวมหรือกว้านซื้อ ลูกตะเปียงจู ผมถือว่า จบแล้วในสมมติฐาน ว่า ผลไม้พื้นถิ่นนี้ มีมากแค่ไหน ในบ้านเรา เพราะฤดูกาลที่ผ่านมา มีตะเปียงจู แค่ในเขต 4-5 หมู่บ้าน หรือ ในพื้นที่ พนมดงรัก (บางส่วน) กับ กาบเชิง (บางส่วน) ก็ระดมมาได้เกือบ 3 ตัน !! 

ความสำเร็จนี้ ไม่ใช่เพราะราคา ที่ให้กับพืช ที่มีฐานะเป็นวัชพืช หรือ พืชที่ไร้มูลค่าในทางเศรษฐกิจ แต่ความสำเร็จนี้เกิดจากปัจจัยเสริม เรื่องฝน กับ ราคายางพาราซึ่งเป็นพืชแห่งความเกษตรกรไทยแทบทุกครัวเรือนในเวลานี้ ประเทศที่ที่อาชีพทำนา คือ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในความหวังทางเศรษฐกิจ  กว่าครึ่งทำเพราะนา คือ ข้าว ที่ทุกคนต้องกิน และทำเพราะคือวิถีวัฒนธรรม ที่ผูกพันกันมา ส่วนเรื่องฝน เกิดจากปีนี้ ฝนตกชุก ตกทุกวัน จนหลายครัวเรือนกรีดไม่ได้ คนทำสวนยางพารารายได้ลดลง งานจ้าง ต่างๆ ที่มีในชุมชนก็ลดตาม ไม่มีใครมีเงินมาลงทุน จ้างงาน ฉะนั้น เมื่อตะเปียงจู พืชที่เกิดเองทั่วไปมีราคา ทัดเทียมกับยางพารา จึงมีคน เลือกทำเพราะเป็นรายได้ เมื่อลองเก็บ ทดสอบดูความยากง่าย เวลา และอุปสรรคต่างๆ กลับพบว่า มันง่าย
2-3 ชม. ถ้ามีมากพอก็อาจจะได้ถึง 30 หรือ 50 กก. ตกเป็นรายได้ 400-600 บาท ออกแรงน้อยกว่ากรีดยางพารา และใช้เวลาเดี๋ยวเดียว

อีกเรื่องที่ผม พยายามมา
2-3 ปี แล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ คือ การแบ่งปันโอกาสบนที่ดินของผม และอาจจะเป็น “ต้นแบบ” ให้คนอีกหลายครอบครัว ปัญหาตคอนนี้ คือ แรงงานในภาคเกษตร หาย ผลพวงจากการที่เกษตรกร ส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือ ในระดับอุดมศึกษา เรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่รุ่นผม แต่มาได้ผลสำเร็จ หรือเห็นผล คือ 20หรือ 30 ปีมานี้ บุตรหลานของเกษตรกร คนชนบท หลุดหายไปจากแรงงานภาคเกษตร หรือ ผืนดิน ในแง่หนึ่ง ผืนดินถูกแบ่งซอย แยกย่อยให้ลูกหลานจนหมด เหลือเหลือทำกินน้อยมาก อีกสาเหตุคือ ความล้มเหลวในระบบเศรษฐกิจภาคเกษตรทำให้ ที่ดินหลุดลอย หลุดมือ ถูกขาย จำนอง จำนำ จนไร้ที่ทำกิน อีกสาเหตุ เมื่อบุตรหลาน (มีการศึกษามีงาน) ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรก็ขาย ขายไปตั้งต้นอาชีพใหม่ ขายเพราะไม่มีเวลา มาสืบสาน ฯลฯ สรุป คือ เกษตรกร ไม่มีที่ดินทำกิน

ผมเห็นนักเคลื่อนไหวหลายคน ต่อต้านการ แปลง สปก. เป็นโฉนดตามนโยบายรัฐบาลในเวลานี้  เรื่องนี้ผมอยากให้คิด หลายตลบ การหมุนเงินของคนจน เป็นสิ่งจำเป็น ระหว่างขายในฐานะ สปก. กับขายใน ฐานะ โฉนด ราคาต่างกันมาก การห้ามขายเอง ก็มี
2 ด้าน ด้านหนึ่ง การทำเกษตร ถ้าไม่โลกสวย เพื่อตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ นั้น ยากมาก ต้นทุนสูง ในขณะที่ ราคาตกต่ำ ไม่คุ้มทุน การเคี่ยวเข็ญให้ กักขังเกษตรกรไว้กับที่ดินจึงเป็นการ “ฆ่าเกษตรกร” เช่นกัน อีกด้าน อีกด้าน เกษตรกรไทยมีแต่ วัยชรา เพราะคนหนุ่มสาวไม่ทำ ไม่สืบสาน ที่ดินจึงเป็น ทรัพย์สิน ในแง่ทุน ไม่ใช่ ปัจจัยการผลิต เป็นสินทรัพย์ หรือ หลักประกัน ของครอบครัวในยามยาก เท่านั้น

ผมนั่งพินิจ เรื่องความช่วยเหลือ อย่างน้อยๆ คนใกล้ตัว คนในชุมชน ส่วนหนึ่งพยายามหางานมาให้ทำ เพื่อให้มีรายได้ ส่วนหนึ่ง ที่ผมคิดออก และ ตัดสินใจเมื่อวาน คือ ให้เพาะปลูกหรือบำรุง พืชผล ที่มีที่ผมปลูกไว้ อย่าง หม่อน หรือ
Mulberry แล้วเก็บเกี่ยว มาขายให้ผม (เท่านั้น ) พูดง่ายๆ คือ คุณแค่บำรุง ใส่ปุ๋ย แต่งกิ่งนิดหน่อย แล้วเก็บขายให้ผม 

เมื่อวาน นั่งถาม อ้อม หนึ่งในพนักงานประจำโรงบ่ม ว่า ทุกวันให้เงินลูกไปโรงเรียนเท่าไหร่ อ้อมมีลูกกับหลาน
2 คน กำลังโต เฉพาะค่าขนมไปเรียนก็ตกวันละ 100 คนละ 50 บาท ในขณะที่รายได้ในครอบครัวคือจากค่าแรงที่ผมจ้าง คือ 380 บาท ( ปีนี้ ลิ้ม ไม่ค่อยมีงานทำ) ซึ่งเป็นชีวิตที่ตึง มากๆ ในทางเศรษฐกิจ  อ้อม เป็นสะใภ้ต่างถิ่น มาแต่งงานกับ เจ้าลิ้ม คนที่นี่ เจ้าลิ้มได้มรดกที่ดิน (ที่นา) เพียงน้อยนิด อยู่ได้ด้วยอาชีพรับจ้าง เหมือนกับ อร ( หนึ่งในสองพนักงานประจำโรงบ่ม ) แต่ อร ทางสามีคือ เบญจพล (เพื่อนผม) ยังมีที่ดินทำกิน อยู่บ้าง มีรายได้จากสวนยางนิดหน่อยเป็นผู้ช่วย ผญบ. มีค่าตอบแทน เสริมด้วย แม้ไม่มาก แต่รวมๆแล้ว ทำให้พอหายใจหายคอได้กว่า

การแก้ปัญหาคนจน ที่ผมพยายามพูด เขียน มาตลอด ที่มีชีวิตที่ที่นี่ คือ ไม่ว่านักการเมือง ข้าราชการ หรือ นักพัฒนา (
NGOs ) ที่มักไปวุ่นวาย กับชีวิตชาวบ้าน หรือ พูดแทน นั้น ยังไม่ถ่องแท้ ถึงรากปัญหาและการสร้างทางออก จริงจัง ทำไมผมกราดเกรี้ยวกับการนโยบายการเมือง หรือ วิธีการแก้ปัญหา แบบวนลูบที่เดิมของข้าราชการ ยิ่งจำพวก เศรษฐกิจพอเพียง โคกหนองนาโมเดล รูปแบบสังคมชุมชนเศรษฐกิจเพ้อฝันของชนชั้นราชการ อวย..... นั้น ผมหงุดหงิดมาก วิถีแห่งทุนนั้นครอบลงมาในชีวิตชาวบ้าน มานาน ทุกคนมีรายจ่าย สิ่งที่ต้องสร้างคือ รายรับ คือการสร้างศักยภาพของแรงงานในท้องถิ่น คือการสร้างอาชีพเสริม เพิ่มขึ้นมาให้มากพอ

และผมก็พยายามทำ แต่พยายาม พูดเรื่อง การแก้ไขกฎหมายที่เป็นข้อจำกัด การส่งทุน ไม่ใช่ส่งผ่านอำเภอ ผู้ใหญ่ มาแบบกองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน โมเดลเพ้อฝันที่ก้าวไปไหนไม่ได้ ถมเงินเหมือน ละลายน้ำพริกในแม่น้ำ
!!     ซึ่ง 20-30 ปีมานี่ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจ ชุมชน เกิดๆดับๆ ส่วนมากล้มเหลว ข้าราชการ หรือ กรรมการหมู่บ้าน ไม่เข้าใจ วิถีของตลาด ไม่พัฒนาตัวเอง ในแง่ศักยภาพทางธุรกิจ ส่งเงิน มาทุกปี ส่งเครื่องมือเกษตร มาทิ้งขว้าง รถไถ โรงสีข้าว ระบบบาดาล และขุดสระ  ฯลฯ เคยมีใครคำนวณออกมาไหมว่า ถมปีหนึ่งกี่หมื่นล้าน ?

ผมพยายามพูดถึง เงินทุน ที่ส่งตรงมาให้ กลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่มีศักยภาพ ผมแบบผม แบบอีกคนหลายคนซึ่งเก่ง มีความรู้ มีความสามารถจริงๆ มาหนุนเขาให้ เข้มแข็งสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น นี่อะไร ไปขอความช่วยเหลือ อบต. สักอย่าง คำตอบ คือ ผมเป็นเอกชน ราชการก็เหมือนกัน
!!

8
ปี จนถึงวันนี้ ผมยังใช้วิธี กู้เงินลูกค้าล่วงหน้า ที่ผมเรียกว่า จัดโปรฯ หมายถึงเอาเงินลูกค้ามาทำสินค้าก่อน มันไม่ควรเป็นแบบนี้ ถ้ารัฐบาล หรือ เงินทุนรัฐ ในธนาคารต่างๆ เปิดหูเปิดตา และ เชื่อมประสานนโยบายกันอย่างเข้าใจ เข้าถึง กว่านี้

วันนี้ผมจะให้ ลิ้ม เข้ามาจัดการผลผลิตในสวน ( หม่อน ) อาจจะเป็นรายได้ไม่มาก แต่ดีกว่า อยู่แบบไม่มีคงามหวังอะไรเลย เพราะงานในโรงบ่มของผมก็ใกล้จะหมดแล้ว ( หมดทุนหมักต่อ ) ผมคงต้องปิดงานหมัก และออกไปขายหาทุนใหม่ ชีวิตก็อย่างนี้แหละ แต่อย่างน้อย สิ่งที่ผมภูมิใจ และ ลงมือทันทีเสมอ คือ การสร้างสังคมที่เอื้ออาทร ครับ

....

เกษตรกรขบถ ไร่ทวนลม
 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112