Back

Thailand: 15-year-old girl held in pre-trial detention for lèse-majesté 

16 April 2023

945

Thailand: 15-year-old girl held in pre-trial detention for lèse-majesté 

ประเทศไทย: เด็กผู้หญิงอายุ 15 ปี ถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ 

จากกรณีที่การคุมขังเด็กผู้หญิงอายุ 15 ปี ก่อนการพิจารณาคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ หลังเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงโดยสงบที่กรุงเทพฯ   

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเครื่องย้ำเตือนอันน่าสะเทือนใจอีกครั้งหนึ่งว่า ทางการไทยยังคงพุ่งเป้าโจมตีเด็กโดยการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์เพื่อปราบปรามการแสดงความเห็นต่างโดยสงบ นอกจากนั้น ภายในเดือนมีนาคมเพียงแค่เดือนเดียว มีการพิพากษาตัดสินลงโทษผู้ชุมนุมประท้วงอย่างน้อย 4 คน อีกทั้งยังมีการตั้งข้อกล่าวหาและการสั่งฟ้องในอีกหลายคดีภายใต้ข้อหานี้        

“คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้สะท้อนให้เห็นการหดตัวลงอย่างน่าตกใจของพื้นที่พลเมืองสำหรับประชาชนหลายล้านคนในประเทศไทย โดยที่ทางการยังคงปฏิเสธที่จะยอมรับการแสดงความเห็นต่างโดยสงบมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบหลายคนถูกพิพากษาตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ เพียงเพราะการใช้สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกผ่านการโพสต์ข้อความทางออนไลน์ การเข้าร่วมงานแฟชั่นที่จัดขึ้นเพื่อล้อเลียน และเมื่อเร็วๆ นี้ ในการขายปฏิทินออนไลน์ซึ่งมีภาพวาดเป็ดเหลือง อันเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการชุมนุมประท้วง  

“ทางการไทยต้องยกเลิกการดำเนินคดีต่อบุคคลในทุกข้อหา ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และต้องงดเว้นจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบก่อนการพิจารณาคดีด้วย”   

 

ข้อมูลพื้นฐาน  

            หยก นักกิจกรรมวัย 15 ปี ถูกสั่งฝากขังก่อนการพิจารณาคดีในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เธอเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงโดยสงบเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 โดยเธอได้เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ทางการได้ออกหมายจับเธอเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และควบคุมตัวเธอไว้ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จังหวัดนครปฐม  

คดีของหยกไม่ใช่คดีแรกที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ศาลอาญาในกรุงเทพฯ พิพากษาจำคุกชายคนหนึ่งเป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากการขายปฏิทินผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งทางการมองว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ปฏิทินดังกล่าวมีรูปวาดการ์ตูนเป็ดเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการชุมนุมประท้วงในประเทศไทย ในอีกคดีหนึ่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ตัดสินว่าชายชาวกะเหรี่ยงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ยุยงปลุกปั่น และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊ก       

นับตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุมประท้วงทั่วประเทศในประเทศไทยเมื่อปี 2563 มีบุคคลอย่างน้อย 1,895 คนที่ถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาต่างๆ จากการมีส่วนร่วมในการชุมนุมประท้วง โดยตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ มีอย่างน้อย 237 คนที่ถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ รวมทั้งเด็ก 18 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2566) 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ชื่อ We are Reclaiming Our Future’ (ขอทวงคืนอนาคตของพวกเรา) ซึ่งรวบรวมข้อมูลกรณีที่เด็กในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในรูปแบบต่างๆ จากการเข้าร่วมการชุมนุมประท้วง รวมทั้งการถูกดำเนินคดีอาญาจากการจัดกิจกรรมของพวกเขา  การข่มขู่และสอดแนมข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ และการใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมประท้วงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ      

รายงานดังกล่าวเรียกร้องให้ทางการไทยยกเลิกการดำเนินคดีทั้งหมดต่อเด็กผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบ ยุติการข่มขู่และสอดแนมข้อมูลทุกรูปแบบ และแก้ไขกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อจำกัดสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมประท้วงของเด็กและเยาวชน เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน      

///

 

Thailand: 15-year-old girl held in pre-trial detention for lèse-majesté 

Responding to the pre-trial detention of a 15-year-old girl in Bangkok accused of violating the lèse-majesté law after her participation in a peaceful protest, Amnesty International’s Thailand Researcher Chanatip Tatiyakaroonwong said: 

“This development is yet another unsettling reminder that Thai authorities continue to target children as they use the law on lèse-majesté to suppress peaceful dissent. In addition, March alone saw convictions of at least four protesters as well as several new charges and indictments under this law.   

“Recent cases demonstrate the dramatic shrinking of civic space for millions of people in Thailand, as authorities increasingly refuse to tolerate peaceful dissent. Since late last year, peaceful protesters have been found guilty of lèse-majesté for merely exercising their right to freedom of expression in online posts, participating in mock fashion shows, and most recently, selling calendars online with drawings of yellow ducks, a symbol of the protest movement.   

“Thai authorities must drop all charges against individuals under laws inconsistent with international human rights law and standards. They must also refrain from arresting and holding peaceful protesters in pre-trial detention.”   

Background: 

Yok (whose full name is being withheld for security reasons), the 15-year-old activist put in pre-trial detention this week, joined a peaceful protest on 14 October 2022 where she called for the removal of the lèse-majesté law. Authorities issued an arrest warrant for her on 28 February 2023 and detained her at the Baan Pranee Children and Juvenile Training Centre for Girls in Nakhon Pathom Province. 

Yok’s case is not an isolated incident. On 7 March 2023, the Criminal Court in Bangkok sentenced a man to three years’ imprisonment for selling calendars via a Facebook page which the authorities deemed to be in violation of the lèse-majesté law. The calendar featured cartoon illustrations of a yellow duck, a symbol of Thailand’s protest movement. In a separate case, on 13 March 2023, the Chiang Mai Provincial Court found an Indigenous Karen man guilty of lèse-majesté, sedition, and the violation of the Computer Crimes Act for posting criticism of the monarchy on Facebook.   

Since nationwide mass demonstrations broke out in Thailand in 2020, at least 1,895 individuals have been subject to a variety of criminal charges for their involvement in protests, according to Thai Lawyers for Human Rights. Among these individuals, at least 237 people have been charged with lèse-majesté, including 18 children, as of 27 March 2023.   

Amnesty International’s recent report “We Are Reclaiming Our Future” documented how children in Thailand faced a wide range of severe repercussions for taking part in mass demonstrations, including the criminalization of their activities, intimidation and surveillance by the authorities, and violent protest crackdowns by police.   

The report called for the Thai authorities to drop all charges against peaceful child protesters, end all forms of intimidation and surveillance, and amend laws used to curb children’s right to protest to ensure they are in line with international human rights law and standards.   

 

For more information please contact: press@amnesty.org 

 

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112