Back

ข่าวดัง “รด.ปี 1 ที่จังหวัดนราธิวาส” ฝึกจนเด็กเข้า รพ.หลายคน(17คน) :ปัญหาและทางออก

26 January 2023

553

ข่าวดัง “รด.ปี 1 ที่จังหวัดนราธิวาส” ฝึกจนเด็กเข้า รพ.หลายคน(17คน) :ปัญหาและทางออก

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

 

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

Shukur2003@yahoo.co.uk

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

 

จากข่าวนักศึกษาวิชาทหารหรือ รด.ปี 1 ที่จังหวัดนราธิวาส ฝึกจนเด็กเข้า รพ.หลายคน(17คน) ในจำนวนนี้ต้องทำการฟอกไตหรือล้างไต จำนวน 6 ราย โดยแพทย์ระบุสาเหตุเกิดจากการฝึกโดยที่ร่างการเด็กไม่มีความพร้อม และสภาพอากาศที่ร้อน รวมไปถึงการขาดน้ำ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุดังกล่าวทำให้จึงเป็นเรื่องใหญ่ทั้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และสื่อมวลชน

#พร้อมรับผิดชอบค่ารักษา - สั่งสอบครูฝึก

 

พล.ต.ไพศาล กล่าวว่า ผบ.ทบ.และแม่ทัพภาคที่ 4 มีความเป็นห่วงนักศึกษาวิชาทหารที่ล้มป่วยจากการฝึก และจากการเยี่ยมอาการพบว่า นักศึกษาวิชาทหารเริ่มมีอาการดีขึ้นตามลำดับ คาดว่าอีกสักระยะจะสามารถหายจากอาการป่วย

 

ในเบื้องต้นจากการสอบสวนผู้รับผิดชอบ ยอมรับว่า นักศึกษาวิชาทหารได้รับการพักจากการฝึกในแต่ละช่วงการฝึกน้อยเกินไป จนร่างกายอ่อนเพลีย และได้ดื่มน้ำน้อย จนเป็นปัจจัยทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นทางทหารจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและการบำรุงขวัญ ส่วนเรื่องของครูฝึกก็มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เราไม่ได้นิ่งดูดาย”

 

รองแม่ทัพภาค 4 กล่าวด้วยว่า ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะนำไปเป็นบทเรียนเพื่อกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการฝึก ไปปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้นอีก(อ้างอิงจาก https://www.isranews.org/article/south-news/documentary/114157-trotcscare.html)

#

ข้อมูลแย้งสองกลุ่ม

 

จากปาก รด.ปี 1 เล่าไทม์ไลน์ฝึกหนัก 3 วัน ถูกลงโทษจนเดินไม่ได้ “โดย นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ต่อหน้ามารดาที่เฝ้าดูแลอาการว่า หลังเข้ารับการฝึกจะเดินไม่ได้ เนื่องจากถูกทำโทษ มารดาซึ่งยืนอยู่ข้างเตียงลูกชายที่นอนป่วยอยู่ ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า ตอนแรกตนก็ไม่ได้คิดอะไร ยังบอกกับลูกชายว่า อาจจะเพราะแรกๆ ร่างกายไม่พร้อม ซึ่งอาจจะเกิดการปวดเมื่อยได้ แต่เพื่อความสบายใจจึงได้พาลูกชายไปพบแพทย์ พบว่าไม่ใช่เป็นอาการเมื่อยตามปกติจากการฝึก”(อ้างอิง https://www.matichon.co.th/region/news_3707405)ในขณะนศท. คนอื่นๆยัน ว่า ครูฝึกดูแลดี น้ำ-อาหารพอทุกจุด ใครป่วยแจ้งได้ แจงการทำโทษ 2,000 ครั้งไม่เป็นความจริง(อ้างอิง https://www.matichon.co.th/politics/news_3709256)

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองไม่ยอมพร้อมจี้ครูฝึกต้นเหตุขอโทษ - และออกมาโต้ นศท.หญิงออกพูดแก้ต่าง "เมื่อไฟมันดับแล้วจะราดน้ำมันทำไม" (อ้างอิงจากThe Reporter)

 

ในขณะที่นวลน้อย ธรรมเสถียร นักข่าวดังตั้งคำถามว่า “ปรากฎการณ์นี้น่าสนใจ  คนอ่านแต่ละคนเองก็คงมีจินตนาการหลายอย่างต่างๆกันไป เชื่อว่าข้อมูลนี้จนท.คงจะเอาไปประกอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังนั้นมันคงส่งผลทั้งต่อการตรวจสอบอย่างเป็นทางการและกับจิตวิทยาทางสังคม 

 

การออกมาพูดเช่นนี้ทำให้เรื่องนี้หักมุมอย่างฉับพลัน  ด้านหนึ่งมันกลายเป็นคำพูดของนศ.ที่ขัดแย้งกันเอง  ครูฝึกไม่อยู่ในสถานะผู้ต้องตอบคำถาม (คนเดียว) อีกต่อไปเพราะมันกลายเป็นการโยนคำถามกลับไปที่นศ.ที่เจ็บป่วย  ส่วนนศ.กลุ่มนี้เองก็แน่นอนว่าจะถูกตั้งคำถามด้วยและมันก็ปรากฎแล้ว

 

แต่ในแง่ข่าว เราว่าเขียนได้ชวนงงเหมือนกันนะ เพื่อนๆลองไปอ่านข่าวตัวเต็มดู มันไม่ยาว

 

#ตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและข้อเสนอแนะ

นางสาวอัญชนา หีมมีหน๊ะจาก กลุ่มด้วยใจและนักสิทธิมนุยชนในพื้นที่เสนอ

 

ขอเรียกร้องต่อกองทัพเบื้องต้นกรณี รด.

 

1.ขอให้ดูแลการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ได้พักผ่อนไม่ลำบากเช่นการได้ห้องพักพิเศษทุกกรณี

 2 . ครอบครัวต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยทั้งเรื่องอาหาร ค่าเดินทาง หลายคนอยู่ไกลการเดินทางทุกวันมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ได้ทำงาน ควรมีการดูแลเรื่องนี้

3.การตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ไม่มีทหารเป็นกรรมการแต่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งเรื่องเด็ก หมอ ภาคประชาชน นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทรมาน

4 .หยุดการด้อยค่าเด็กและผู้ปกครอง มีการอ้างว่าเด็กดื่มน้ำกระท่อม พ่อแม่ดูแลไม่ได้

 5 . ออกมาตราการใหม่ที่ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้

6 .นำคนผิดมาลงโทษและขอโทษต่อสังคม

 

สำหรับข้อ3”การตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ไม่มีทหารเป็นกรรมการแต่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งเรื่องเด็ก หมอ ภาคประชาชน นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทรมาน”เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้

 

รอมฎอน ปัญจอร์ จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ผู้มีบทบาทสนับสนุนสันติภาพชายแดนใต้มาสม่ำเสมอ และเป็นหนึ่งในผู้ทำวิจัยประเมินแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี 2560-2562 อีกทั้งเป็นอนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2563

ให้ทัศนะว่า 

 

เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคณะกรรมการสอบในเรื่องนี้ที่ตั้งโดย #แม่ทัพภาคที่สี่ จะทำหน้าที่ได้อย่างตรงไปตรงมา? เพื่อแสวงหาผู้รับผิดชอบและเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก กลไกตรวจสอบภายในกองทัพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นก็จริง แต่หลายเหตุการณ์ในอดีตพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเราจะคาดหวังอะไรได้มากน้อยเพียงใด เพื่อทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพ ความพร้อมรับผิดรับชอบ และความชอบธรรมในทางการเมือง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกของฝ่ายพลเรือนขึ้นมา #ควบคุมกองทัพ โดยเฉพาะกลไกที่ยึดโยงหรือมีที่มาที่ไปซึ่งเชื่อมโยงกับความเป็นตัวแทนของประชาชน หาไม่แล้ว ความเชื่อมั่นต่อสถาบันทางสังคมที่ต้องรักษาเอาไว้แห่งนี้จะเสื่อมคลายและสั่นคลอนไปมากกว่านี้

 

นี่คือเหตุผลว่าทำไมประเทศนี้ต้องมี #ผู้ตรวจการกองทัพ

 

ทั้งหมดนี้ จำต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กับการลดละเลิกวัฒนธรรมอำนาจนิยม-นิยมทหารที่ฝังรากลึกลับอยู่ในสังคมไทยด้วยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการเปิดให้มีการรับสมัครทหารตามความสมัครใจที่ทำไปพร้อมกับการ #ยกเลิกเกณฑ์ทหาร โดยที่การปรับเปลี่ยนที่ว่านี้จะลด #เหตุผลและเงื่อนไข ของการเรียน รด.ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

เด็ก ๆ ของเราจะไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวกับการ #ฝึกทหาร เช่นนี้ เราจะยืดอกได้อย่างภาคภูมิว่าประเทศแห่งนี้เคารพสิทธิมนุษยชนและความเป็นคน ทรัพยากรที่มีค่าของเราจะเติบโตและเปล่งพลังได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตวัยหนุ่มไปกับการเป็น #ทาส ใคร”

 

ขณะที่นายกัณวีร์ สืบแสง ประธานยุทธ์ศาสตร์และรองหัวหน้าพรรคเป็นธรรม เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องมาพิจารณายกเลิกกฎหมายการเกณฑ์ทหาร ซึ่งอาจยังมีประเทศกว่า 20 ประเทศที่ยังคงกฎหมายนี้ในรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับไทยต้องมาทบทวนบริบทด้านความมั่นคง ที่มีการสู้รบน้อยมาก และการเรียนรักษาดินแดน หรือ รด. จริงๆแล้วเป็นผลพวงจากความไม่ประสงค์ของเด็กและผู้ปกครองที่จะต้องผ่านการเกณฑ์ทหารเมื่ออายุครบ 21 ปี บริบูรณ์นอกจากนี้ รด. ที่มีอยู่เริ่มต้นตั้งแต่เด็กชายอายุ 15 ปี และไม่สมัครใจโดยส่วนใหญ่ มีการตั้งข้อสังเกตุเรื่องการฝึกกองกำลังทหารเด็ก เพราะกลายเป็นการบังคับคนโดยกฎหมายที่จะมีผลต่อเด็กในอนาคตหากไม่เรียน รด. และสร้างความกลัวให้ทั้งผู้ปกครองและเด็ก การเรียนทหารของรักษาดินแดน ควรใช้คอนเซ็ปท์ “citizen soldier” ในการฝึกฝนบุคคลให้มีศักยภาพทางทหารเมื่อประเทศของตนต้องการ และคนที่ถูกฝึกนั้นสามารถใช้ศักยภาพที่ถูกพัฒนามาเพื่อเติมเต็มหน้าที่ของพลเมืองอย่างมีคุณภาพในเวลาปกติ และการเข้าไปฝึกนั้น ควรต้องไม่ใช่เด็กและต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ

 

ทำไมไทยไม่พิจารณาและทำเฉกเช่นนี้ หากทำแล้ว 1) จะไม่ถูกครหาเรื่องการใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารมาบังคับให้คนเรียน รด. 

2) ลบข้อครหาและความเสี่ยงถูกกล่าวหาเรื่องทหารเด็ก 3) ผู้ที่จะเข้าเรียนวิชาทหารในมหาวิทยาลัย จะไม่ใช่เด็กแล้ว 4) คนมารับการฝึกอบรมจะมาด้วยความสมัครใจ 5) ลดภาระการใช้ภาษีหลายร้อยล้านบาทจากการนำมาใช้เรื่องการอบรม รด. ปี 1 - 3 ทั่วประเทศ 6) นำภาษีที่จะต้องใช้จ่ายในข้อ 5 มาทำเป็นทุนให้นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่สมัครใจเรียน อย่าง ROTC เพื่อช่วยให้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา และวิชาทหารที่สมัครใจเรียนไปพร้อมกัน และ 7) กองทัพจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพในหลายๆ สาขาวิชาในระดับอุดมศึกษามาพัฒนากองทัพอย่างมากมาย (อ้างอิงจากThe Reporter)

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112