Back

แถลงการณ์แอมเนสตี้-ICJ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย

6 September 2022

747

แถลงการณ์แอมเนสตี้-ICJ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย

ขอบคุณ ภาพจาก  นสพ.มติชน ออนไลน์ : https://www.matichon.co.th/politics/news_2218145

 

ประเทศไทย: การผ่านร่างกฎหมายป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายถือเป็นความคืบหน้า แต่กฎหมายยังคงมีข้อบกพร่องสำคัญหลายประการ

           เนื่องในโอกาสวันผู้สูญหายสากล คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เห็นว่ามติเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย (ร่างพระราชบัญญัติ ฯ) ที่ล่าช้ามาเนิ่นนาน นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการป้องกันและเยียวยาความเสียหายจากอาชญากรรมเหล่านี้ หากแต่ ทั้งสององค์กรรู้สึกผิดหวังที่ยังคงมีข้อบกพร่องในบางมาตราที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์

           เอียน เซเดอร์แมน (Ian Seiderman) ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและนโยบายของ ICJ เผยว่า การผ่านร่างกฎหมายเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าประเทศไทยจริงจังกับการดำเนินการตามหน้าที่ในการปฏิรูปกฏหมายเพื่อนำความยุติธรรมมาสู่เหยื่อของอาชญากรรมที่ร้ายแรงเหล่านี้และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

“อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติ ฯ ฉบับนี้ยังไม่มีบทบัญญัติครบถ้วนหรือถูกต้องตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทำให้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติในลักษณะที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ UNCAT) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR)”

           ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ICJ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะมากมายเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติ ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย

           ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของ UNCAT และ ICCPR เมื่อปีพ.ศ.2555 ประเทศไทยยังได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) ซึ่งสะท้อนถึงคำมั่นที่จะป้องกันและยับยั้งอาชญากรรมการบังคับให้บุคคลสูญหาย อย่างไรก็ตาม คำมั่นของประเทศไทยที่จะให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี ICPPED ให้แล้วเสร็จกลับยังไม่ถูกดำเนินการจนกระทั่งปัจจุบัน

           ร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นผลมาจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สมาชิกรัฐสภา และผู้เชี่ยวชาญ ที่ผลักดันให้ร่างพระราชบัญญัติฯ กำหนดความผิดทางอาญาแก่การทรมาน การประติบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการบังคับบุคคลให้สูญหายมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในขณะที่ร่างพระราชบัญญัติ ฯ เริ่มแรกนั้นประกอบด้วยบทบัญญัติที่เป็นปัญหาจำนวนมาก แต่บุคคลเหล่านี้ได้ร่วมกันผลักดันจนเกิดการปรับปรุงข้อบกพร่องที่สำคัญบางประการ

           เอ็มเมอร์ลีน จิล รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า เรายอมรับว่าข้อบกพร่องบางประการที่เราได้ระบุในข้อเสนอแนะก่อนๆ ได้รับการแก้ไขแล้วในร่างพระราชบัญญัติฉบับที่ผ่านมติรับรอง ยกตัวอย่างเช่น เรายินดีที่ร่างฉบับนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พร้อมทั้งมีบทบัญญัติที่รับรองให้อาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง

“ในอนาคต ประเทศไทยควรทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป และดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์”

           องค์กรทั้งสองยังเรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการตามคำมั่นว่าจะทำการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญา ICPPED โดยไม่ล่าช้า พร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร้องในร่างพระราชบัญญัติเพื่อรับประกันการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน

ความเป็นมา

           สิบห้าปีหลังจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีอนุสัญญา UNCAT สภาผู้แทนราษฎรแห่งประเทศไทยได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามที่วุฒิสภาเสนอ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2565

           ร่างพระราชบัญญัติ ฯ นี้ คาดว่าจะได้รับการลงนามพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด 120 วันนับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

           ในปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัติฯ ยังคงประกอบด้วยบทบัญญัติบางมาตราที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ ข้อกังวลหลัก ได้แก่

สามารถอ่านบทวิเคราะห์ข้อบกพร่องของร่างพระราชบัญญัติฉบับปัจจุบันซึ่งจัดทำขึ้นโดย ICJ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ที่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย

ร่างพระราชบัญญัติและคำแปลอย่างไม่เป็นทางการของร่างพระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112