887
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) เรียบเรียง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและผู้อ่านทุกท่าน
คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงข่าว(พัฒนาการความคืบหน้า)การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือKL ประเทศมาเลเซีย ท่ามกลางข้อเสนอแนะจะไปต่ออย่างไรแต่ที่สำคัญกระบวนการสันติภาพรัฐไทยและBRNต้องไม่ผูกขาด
แถลงข่าว(พัฒนาการความคืบหน้า)การพูดคุย
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า แถลงว่า
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย พลโท ธิรา แดหวา แม่ทัพน้อยที่ 4,พลเอกสวัสดิ์ ชนะจิตราสกุล ที่ปรึกษาสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, นายกฤษฎา อักษรวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ, พลตำรวจตรี มณฑล บัวจีบ รองผู้บัญชาการตำตรวจสันติบาล, นางสาววันรพี ขาวสะอาด หัวหน้าสำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และคณะร่วมแถลงผลการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบเต็มคณะ ครั้งที่ 5 กับคณะผู้แทน BRN นำโดย อุสตาส อานัส อับดุลเราะห์มานและคณะ โดยมี นายตันซรี อับดุล ราฮิม บิน โมฮัมหมัด นอร์ เป็นผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุย และมีผู้เชี่ยวชาญร่วมสังเกตการณ์อีก 2 คน ระหว่าง วันที่ 1-2 สิงหาคม 2565 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งการพูดคุยครั้งนี้มีการพูดคุยหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นการ การยุติความรุนแรง ช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาระหว่างคณะพูดคุยรัฐบาลไทยกับกลุ่ม BRN ได้ทำข้อตกลงยุติความรุ่นแรงในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับพี่น้องชาวไทยพุทธที่ไม่อยากให้เกิดเหตุความรุนแรงในช่วงเข้าพรรษา เพื่อยุติความรุนแรงทุกรูปแบบในพื้นที่
???? พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบเต็มคณะ ครั้งที่ 5 กับคณะผู้แทน BRN จาการพูดคุยพัฒนาการความคืบหน้าผลการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เต็มคณะครั้งที่ 5 จากประชุมตลอด 2 วันเต็ม วันที่ 1-2 สิงหาคม 2565 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยวันแรกคณะพูดคุยทั้งฝ่ายไทยและ BRN ได้ร่วมกันประเมินผลการปฎิบัติตามความริเริ่มรอมฎอนสันติระหว่างวันที่ 3 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม 2565 ซึ่งทั้ง 2ฝ่าย ได้ถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงการปฎิบัติร่วมกัน ทั้งนี้ได้มีความเห็นสอดคล้องกันว่าการริเริ่มรอมฎอนสันติสุขเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรูปแบบที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นในห้วงต่อไป ความคืบหน้าที่สำคัญของการพบปะพูดคุยครั้งนี้ คือทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะต่อยอดการลดความรุนแรงที่ประสบความสำเร็จอย่างดีจากการริเริ่มรอมฎอนสันติสุขในห้วงเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมาไปสู่การขยายผลความร่วมมือที่มีความเข้มข้นเป็นระบบและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของการพูดคุยวันที่ 2 คณะพูดคุยได้ยื่นข้อเสนอการลดความรุนแรงร่วมกันชั่วคราว และการริเริ่มจัดการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ให้ BRN ได้พิจารณาการพบปะครั้งนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวได้กำหนดกรอบมาตรการ และกลไกการปฎิบัติร่วมกันของทั้งสองฝ่ายในรูปแบบที่ครอบคลุม และชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดขึ้นสันติสุขในพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้ และสอดรับกับข้อเสนอของพี่น้องประชาชนชาวไทยพุทธที่ได้ส่งมายังคณะพูดคุย และแนะนำข้อเสนอดังกล่าวมาพูดคุยกับ BRN ในการพบปะพูดคุยครั้งนี้ด้วยในขณะเดียวกันฝ่าย BRN ได้มีการนำเสนอร่างเอกสารแนวคิดการยุติความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้พร้อมด้วยร่างเอกสารแนวคิดเกี่ยวกับการจัดเวทีปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้มาให้คณะได้พิจารณา ถึงแม้ร่างเอกสารดังกล่าวข้างต้นจะยังมีข้อแตกต่างเรื่องของถ้อยคำ และรายละเอียดต่างๆ แต่ยังคงสอดคล้องคล้ายคลึงในหลายประการทั้งในแง่ของเป้าประสงค์หลักการกลไกการดำเนินการ เช่น ทั้งคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข และ BRN ต่างมุ่งหมายที่จะบรรลุคือการลดความรุนแรงทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะยาวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน พร้อมทั้งริเริ่มจัดเวทีหารือกับประชาชนในพื้นที่อย่างเปิดกว้าง
???? ทั้งนี้ 2 ฝ่ายได้ตระหนักร่วมกันถึงความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีกลไกการจัดการสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สามารถติดตามและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำและเป็นกลาง ในขั้นต่อไปคณะพูดคุย และ BRN จะได้นัดเพื่อพูดคุยกันอีกเร็วๆนี้ เพื่อหารือถึงร่างเอกสารต่างๆ และร่วมกันพิจารณาในรายละเอียด โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะบรรลุข้อตกลง และสามารถเริ่มขั้นตอนการปฏิบัติจริงได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งในช่วงก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงดังกล่าวคณะพูดคุย และ BRN ยังคงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งสอดคล้องกับข้อแนะนำของผู้อำนวยความสะดวกซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่
.
# การจัดวางกลไกและการสื่อสาร”ความท้าทายกระบวนการพูดคุยสันติภาพรอบใหม่
The Pantani NOTES สะท้อนว่า “การที่คณะพูดคุยชุดใหญ่ของสองฝ่ายจับเข่าคุยกันสองวันที่มาเลเซีย ซึ่งต่างฝ่ายต่างเสนอให้ร่วมกันลดความรุนแรงพร้อมมีมาตรการติดตามผล แต่สรุปว่ายังจะต้องใช้เวลาอีกถึงสองเดือนเพื่อปรับข้อเสนอให้สอดคล้องกัน เท่ากับว่าหากจะมีการตกลงลดความรุนแรงรอบใหม่ก็อาจจะเริ่มได้ไม่เร็วไปกว่าเดือนต.ค.ในขณะที่ระยะเวลานั้นมีความเป็นไปได้ระหว่าง 3 เดือนครึ่งถึง 4 เดือน ส่วนในระหว่าง 2 เดือนที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆและถือเป็น สูญญากาศซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบความมั่นใจของสาธารณะ แม้ผลรอมฎอนสันติที่ผ่านมาจะสร้าง “ความมั่นใจจะสูง” ซึ่งข้อเสนอลดความรุนแรงหนนี้จะแตกต่างจากคราวที่แล้วคือ จะเป็นข้อตกลงที่จะทำร่วมกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างทำ และจะมีมาตรการหรือกลไกกำกับที่จะทำร่วมกันในการติดตามซึ่งที่ผ่านมาไม่มี อันเป็นความท้าทายที่สำคัญอีกประการคือ การสื่อสารระหว่างฝ่ายไทยและบีอาร์เอ็นจะต้องใกล้ชิดมากกว่านี้ ส่วนเรื่องการจัดวางกลไกเพื่อให้มีการหารือสาธารณะของทั้งไทยและบีอาร์เอ็นกับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ก็ไม่ใช่ง่ายซึ่ง คาดว่าประเด็นหลักที่จะให้มีการหารือสาธารณะก็คือเรื่องของการแสวงหาทางออกทางการเมิอง ส่วนตัวกลไกจะมีการพิจารณากันต่อไป แต่หลักการคือต้องรวมทุกกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปใกระบวนการนี้”
รอมฎอน ปัญจอร์ สะท้อนว่า “สรุปการคุยรอบที่ 5 ต้นเดือนสิงหานี้ยังไม่มีความคืบหน้าที่น่าตื่นเต้นอะไรมากนะครับ ฟังจากการแถลงจากทั้งสองฝ่ายซึ่งจัดขึ้นคนละครั้งคนละวัน (เหมือนเดิม) มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน จะต่างตรงที่ฝ่าย BRN บีอาร์เอ็น ยังคงเน้นถึงบทบาทของ ผู้เชี่ยวชาญ จากประชาคมระหว่างประเทศที่นั่งสังเกตการณ์อยู่ ซึ่งรอบนี้เปลี่ยนมาเป็นชาวเยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์(รอบที่แล้วเป็นอังกฤษกับนอร์เวย์) พวกเขาทั้งสองฝ่ายยังไม่ถึงขั้นเห็นพ้องกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการลดความรุนแรง (ไม่ใช่หยุดยิง) และการปรึกษาหารือกับสาธารณชน แต่ก็ได้ยื่นข้อเสนอของแต่ละฝ่ายกันบนโต๊ะใหญ่แล้ว เห็นว่าจะไปละเลียดกันต่อในโต๊ะเล็กครับ “
ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797
ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016
อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849
Email : webmaster@thaingo.org
Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00
2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310
+662 314 4112