Back

เมียนมา: การประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษตอกย้ำการกดขี่ของรัฐที่โหดร้ายมากขึ้น

3 August 2022

504

เมียนมา: การประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษตอกย้ำการกดขี่ของรัฐที่โหดร้ายมากขึ้น

ขอบคุณภาพ จาก: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2454438

AMNESTY INTERNATIONAL

QUOTE

 

25 July 2022

 

Myanmar: First executions in decades mark atrocious escalation in state repression  

 

Responding to reports that Myanmar’s military authorities have carried out executions for the first time since the late 1980s, Amnesty International’s Regional Director Erwin van der Borght said: 

 

“These executions amount to arbitrary deprivation of lives and are another example of Myanmar’s atrocious human rights record. The four men were convicted by a military court in highly secretive and deeply unfair trials. The international community must act immediately as more than 100 people are believed to be on death row after being convicted in similar proceedings.”  

 

“For more than a year now, Myanmar’s military authorities have engaged in extrajudicial killings, torture and a whole gamut of human rights violations. The military will only continue to trample on people’s lives if they are not held accountable.”  

 

“At a time when more and more countries take steps to abolish the death penalty, the resumption of executions after more than three decades not only puts it at odds with the global trend, but is also contrary to the goal of abolition enshrined under international human rights law and standards. Myanmar’s isolation could not be any more glaring. We urge the authorities to immediately establish a moratorium on executions as a first critical step.”

 

Background:

 

According to Myanmar state media, four executions have been carried out.  

 

Phyo Zeya Thaw, a former member of Aung San Suu Kyi's National League for Democracy, and prominent democracy activist Kyaw Min Yu, also known as Ko Jimmy, were convicted of and sentenced to death by a military tribunal in January for offenses involving explosives, bombings and financing terrorism under the Anti-Terrorism Law – charges that Amnesty International believes to be politically motivated. Two other men, Hla Myo Aung and Aung Thura Zaw, convicted of the alleged murder of a woman believed to act as an informer for the military in Hlaing Tharyar in Yangon, also had their death sentences confirmed.  

 

All four were named in the report in state-run newspaper Global New Light of Myanmar.

 

The proceedings before a military-controlled court were secretive and grossly unfair.  

 

Following Myanmar military’s issuance of Martial Law Order 3/2021, the authority to try civilians was transferred to special or existing military tribunals where individuals are tried through summary proceedings without right to appeal.

 

These courts oversee a wide range of offences including those punishable with the death penalty.

 

Under international law and standards, executions carried out following unfair trials violate the prohibition against arbitrary deprivation of life, as well as the absolute prohibition of torture and other cruel, inhuman or degrading punishment.

 

Myanmar’s last known execution was in the late 1980s. Since the military coup in February 2021, Amnesty International has recorded an alarming increase in the resort to the death penalty in Myanmar, where it has become a tool for the military in the ongoing persecution, intimidation and harassment of all who dare to challenge the authorities.  

 

Amnesty International opposes the death penalty unconditionally, in all cases and under any circumstances. More than two-thirds of countries all over the world have abolished the punishment in law or practice.

 

For more information please contact: press@amnesty.org

 

ตามรายงานข่าวของสื่อรัฐบาลเมียนมาระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 4 คน ในความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย นับเป็นครั้งแรกที่มีการประหารชีวิตและได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980

เอร์วิน วาน เดอ บอร์ก ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า การประหารชีวิตเหล่านี้ถือเป็นการลิดรอนชีวิตตามอำเภอใจ และเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่โหดร้ายของเมียนมา ชายสี่คนถูกศาลทหารตัดสินลงโทษจากการพิจารณาคดีอย่างลับๆ และไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง ประชาคมระหว่างประเทศต้องดำเนินการทันทีเนื่องจากเชื่อว่ามีผู้ต้องโทษประหารชีวิตมากกว่า 100 คน หลังจากถูกตัดสินโทษในการดำเนินคดีลักษณะเดียวกัน

“เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้วที่กองทัพเมียนมาได้กระทำการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม การทรมาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกด้าน กองทัพจะเหยียบย่ำชีวิตของผู้คนต่อไปหากพวกเขาไม่ต้องรับผิดชอบ”

“ในช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังดำเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต การนำการประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากผ่านไปกว่าสามทศวรรษไม่เพียงแต่ขัดแย้งกับแนวโน้มทั่วโลก แต่ยังขัดต่อเป้าหมายของการยกเลิกโทษประหารชีวิตที่อยู่ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การโดดเดี่ยวตนเองของเมียนมาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุด เราขอเรียกร้องให้กองทัพระงับการประหารชีวิตโดยทันทีเป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรก”


ข้อมูลพื้นฐาน

สื่อของรัฐบาลเมียนมาระบุว่ามีการประหารชีวิตไปแล้ว 4 ครั้ง

เพียว เซยา ตอร์ (Phyo Zeya Thaw) อดีตสมาชิกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของอองซานซูจี และจ่อ มิน ยู (Kyaw Min Yu) นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อ โก จิมมี่ (Ko Jimmy) ถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตในเดือนมกราคมในความผิดเกี่ยวกับวัตถุระเบิด การวางระเบิด และให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีแรงจูงใจทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีชายอีก 2 คน ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมหญิงที่เชื่อว่าเป็นผู้ที่แจ้งข่าวให้กองทัพในเขตหล่ายธาร์ยาร์ (Hlaing Tharyar) ในย่างกุ้งก็ได้รับการยืนยันโทษประหารเช่นกัน

โดยทั้ง 4 คนมีชื่ออยู่ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ของรัฐ Global New Light of Myanmar

การดำเนินคดีต่อหน้าศาลที่ทหารควบคุมนั้นเป็นความลับและไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง

ภายหลังการออกคำสั่งกฎอัยการศึกที่ 3/2021 ของกองทัพเมียนมา อำนาจในการพิจารณาคดีต่อพลเรือนก็ถูกโอนไปยังศาลทหารพิเศษหรือศาลทหารที่มีอยู่ ซึ่งบุคคลจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวบรัดโดยไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์

ศาลเหล่านี้พิพากษาความผิดที่หลากหลายรวมถึงความผิดที่มีโทษประหารชีวิต

ภายใต้กฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ การประหารชีวิตหลังจากการพิจารณาคดีที่ไม่ยุติธรรมถือเป็นการละเมิดข้อห้ามต่อการลิดรอนชีวิตตามอำเภอใจ รวมถึงข้อห้ามต่อการทรมานและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

การประหารชีวิตที่ทราบครั้งล่าสุดของเมียนมาเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการใช้โทษประหารชีวิตในเมียนมาที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำหรับกองทัพในการปราบปราม ข่มขู่ และคุกคามอย่างต่อเนื่องต่อทุกคนที่กล้าท้าทายกองทัพ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ประเทศต่างๆ มากกว่าสองในสามของประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติแล้ว

 

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112