สำหรับท่านที่โอนเงินตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 เป็นต้นไปทางทีมงานจะส่งใบเสร็จหลังสงกรานต์

For those who transfer money from April 9, 2025, onward, the team will send the receipt after the Songkran festival.

Back

Death Penalty 2021: State-sanctioned killings rise as executions spike in Iran and Saudi Arabia

Death Penalty 2021: State-sanctioned killings rise as executions spike in Iran and Saudi Arabia

25 July 2022

653

AMNESTY INTERNATIONAL
PRESS RELEASE

Death Penalty 2021: State-sanctioned killings rise as executions spike in Iran and Saudi Arabia

  • Iran records highest known execution figure since 2017
  • Despite regression, 2021 global execution figure represents the second-lowest figure Amnesty International has recorded since at least 2010
  • Easing of Covid-19 restrictions sees surge in number of recorded death sentences
  • Almost 90 known to have been sentenced to death under martial law in Myanmar

2021 saw a worrying rise in executions and death sentences as some of the world’s most prolific executioners returned to business as usual and courts were unshackled from Covid-19 restrictions, Amnesty International said today in its annual review of the death penalty.

At least 579 executions were known to have been carried out across 18 countries last yeara 20% increase on the recorded total for 2020⁠. Iran accounted for the biggest portion of this rise, executing at least 314 people (up from at least 246 in 2020), its highest execution total since 2017. This was due in part to a marked increase in drug-related executions—a flagrant violation of international law which prohibits use of the death penalty for crimes other than those involving intentional killing. Meanwhile, Saudi Arabia more than doubled its number of executions, a grim trend that continued in 2022 with the execution of 81 people in a single day in March.

“After the drop in their execution totals in 2020, Iran and Saudi Arabia once again ramped up their use of the death penalty last year, including by shamelessly violating prohibitions put in place under international human rights law. Their appetite for putting the executioner to work has also shown no sign of abating in the early months of 2022,” said Agnès Callamard, Amnesty International’s Secretary General.

As Covid-19 restrictions that had previously delayed judicial processes were steadily lifted in many parts of the world, judges handed down at least 2,052 death sentences in 56 countries—a close to 40% increase on 2020—with big spikes seen in countries including Bangladesh (at least 181, from at least 113), India (144, from 77) and Pakistan (at least 129, from at least 49).  

“Instead of building on the opportunities presented by hiatuses in 2020, a minority of states demonstrated a troubling enthusiasm to choose the death penalty over effective solutions to crime, showing a callous disregard for the right to life even amid urgent and ongoing global human rights crises,” said Agnès Callamard.

Despite these setbacks, the total number of recorded executions in 2021 constitutes the second-lowest figure, after 2020, that Amnesty International has recorded since at least 2010.[i]  

As in previous years, the recorded global totals for death sentences and executions do not include the thousands of people that Amnesty International believes to have been sentenced to death and executed in China, as well as the extensive number of executions believed to have taken place in North Korea and Viet Nam. Secretive state practices and restricted access to information for these three countries made it impossible to accurately monitor executions, while for several other countries, recorded totals must be regarded as minimum figures.

“China, North Korea and Viet Nam continued to shroud their use of the death penalty behind layers of secrecy, but, as ever, the little we saw is cause for great alarm,” said Agnès Callamard.

⁠Iran maintains a mandatory death penalty for possession of certain types and quantities of drugs⁠—with the number of executions recorded for drug-related offences rising more than five-fold to 132 in 2021 from 23 the previous year. The known number of women executed also rose from nine to 14, while the Iranian authorities continued their abhorrent assault on children’s rights by executing three people who were under the age of 18 at the time of the crime, contrary to their obligations under international law.

As well as the rise in executions seen in Saudi Arabia (65, from 27 in 2020), significant increases on 2020 were seen in Somalia (at least 21, from at least 11) South Sudan (at least 9, from at least 2) and Yemen (at least 14, from at least 5). Belarus (at least 1), Japan (3) and UAE (at least 1) also carried out executions, having not done so in 2020.

Significant increases in death sentences compared to 2020 were recorded in the Democratic Republic of the Congo (at least 81, from at least 20), Egypt (at least 356, from at least 264), Iraq (at least 91, from at least 27), Myanmar (at least 86, from at least 1), Viet Nam (at least 119 from at least 54), and Yemen (at least 298, from at least 269).

Death penalty as a tool of state repression

In several countries in 2021, the death penalty was deployed as an instrument of state repression against minorities and protestors, with governments showing an utter disregard for safeguards and restrictions on the death penalty established under international human rights law and standards.  

An alarming increase in the use of the death penalty under martial law was recorded in Myanmar, where the military transferred the authority to try civilian cases to military tribunals, which conducted summary proceedings without the right to appeal. Close to 90 people were arbitrarily sentenced to death, several in absentia, in what was widely perceived as a targeted campaign against protestors and journalists.

Egyptian authorities continued to resort to torture and mass executions, often following unfair trials before Emergency State Security Courts, while in Iran, death sentences were disproportionately used against members of ethnic minorities for vague charges such as “enmity against God”. At least 19% of the recorded executions (61) were members of the Baluchi ethnic minority, who constitute only around 5% of Iran’s population.

Victims of Saudi Arabia’s deeply flawed justice system included Mustafa al-Darwish, a young Saudi Arabian man from the Shi’a minority who was accused of participating in violent anti-government protests. He was executed on 15 June following a grossly unfair trial based on a “confession” extracted through torture.

Positive signs towards global abolition

Despite these alarming developments, positive signs of a global trend toward abolition continued throughout 2021. For the second consecutive year, the number of countries known to have executed people was the lowest since Amnesty International began keeping records.

In Sierra Leone, an Act which abolishes the death penalty for all crimes was unanimously adopted by parliament in July, although it is yet to come into effect. In December, Kazakhstan adopted legislation to abolish the death penalty for all crimes, which came into effect in January 2022. The Government of Papua New Guinea embarked on a national consultation on the death penalty, which resulted in the adoption of an abolition bill in January 2022, which is yet to come into force. At the end of the year, the Government of Malaysia announced that it would table legislative reforms on the death penalty in the third quarter of 2022. And, in Central African Republic and Ghana, lawmakers started legislative processes to abolish the death penalty, which remain ongoing.

In the US, Virginia became the 23rd abolitionist state and first southern state to have abolished the death penalty, while, for the third consecutive year, Ohio rescheduled or halted all set executions. The new US administration also established a temporary moratorium on federal executions in July. 2021 marked the lowest number of executions in the US since 1988.

Gambia, Kazakhstan, Malaysia, the Russian Federation and Tajikistan continued to observe official moratoriums on executions.

“The minority of countries that still retain the death penalty are on notice: a world without state-sanctioned killing is not only imaginable, it is within reach and we will continue to fight for it. We will continue to expose the inherent arbitrariness, discrimination, and cruelty of this punishment until no one will be left under its shadow. It is high time the ultimate cruel, inhuman and degrading punishment is consigned to the history books,” said Agnès Callamard.

ENDS

For more information or to arrange an interview, please contact: michael.parsons@amnesty.org   

Out of hours contact details:
telephone: +44 20 7413 5566
email: 
press@amnesty.org  

Twitter: @amnestypress

 

Editor’s Notes

[i] The total number of executions reported for 2021 is the second-lowest figure, after 2020, that Amnesty International has recorded since at least 2010. 2021 represents one of the lowest figures that Amnesty International has recorded in any given year since it began its monitoring of the use of the death penalty in 1979. However, changes in access to information, configuration of countries and methodology over the decades make it challenging to accurately compare this figure over a longer period.

แอมเนสตี้เปิดรายงานโทษประหารชีวิตปี 2564 พบการสังหารตามคำสั่งรัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอิหร่านและซาอุดีอาระเบีย 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแถลง “รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2564”  พบว่า เป็นปีที่มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นและมีจำนวนการตัดสินให้ประหารชีวิตที่น่ากังวล หลังจากประเทศที่มีการประหารชีวิตมากสุดในระดับโลก ได้หวนกลับมาใช้วิธีการเช่นนี้อีก และในขณะที่ศาลเริ่มเปิดทำการ หลังปลอดจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19  

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ได้บันทึกการประหารชีวิตในปี 2564 พบว่า มีข้อมูลการประหารชีวิตอย่างน้อย 579 ครั้งใน 18 ประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับจำนวนที่บันทึกได้ในปี 2563 อิหร่านยังคงเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นสูงสุด โดยมีการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 314 คน (เพิ่มจากอย่างน้อย 246 คนในปี 2563) โดยเป็นจำนวนการประหารชีวิตสูงสุดนับแต่ปี 2560 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประหารชีวิตในคดียาเสพติดที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก นับเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งห้ามการใช้โทษประหารชีวิตกับความผิดอื่น ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคนตายโดยเจตนา ในเวลาเดียวกัน จำนวนการประหารชีวิตในซาอุดีอาระเบีย เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2565 ที่มีการประหารชีวิตบุคคล 81 คนในวันเดียวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า หลังจำนวนการประหารชีวิตลดลงในปี 2563 อิหร่านและซาอุดีอาระเบียได้กลับมาเร่งใช้โทษประหารชีวิตอีกในปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงการละเมิดต่อข้อห้ามภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งความกระหายในการประหารชีวิตผู้คนก็ไม่ได้มีท่าทีว่าเลิกราลงเลยในช่วงหลายเดือนแรกของปี 2565 

ในขณะที่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งเคยเป็นเหตุให้มีการชะลอกระบวนการยุติธรรมออกไปอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วโลก ในปี 2564 ผู้พิพากษาได้สั่งประหารชีวิตอย่างน้อย 2,052 ครั้งใน 56 ประเทศ เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในหลายประเทศ อย่างเช่น บังกลาเทศ (อย่างน้อย 181 ครั้ง จากอย่างน้อย 113 ครั้ง), อินเดีย (144 ครั้ง จาก 77 ครั้ง) และปากีสถาน (อย่างน้อย 129 ครั้ง จากอย่างน้อย 49 ครั้ง

แทนที่จะใช้โอกาสที่ว่างเว้นจากการใช้โทษประหารชีวิตในปี 2563 ประเทศจำนวนน้อยกลับยังคงแสดงความมุ่งมั่นในการเลือกใช้โทษประหารชีวิตมากกว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นแสดงให้เห็นถึงความเพิกเฉยต่อสิทธิที่จะมีชีวิตรอดของประชาชน แม้ในท่ามกลางวิกฤตสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องทั่วโลก แอกเนสกล่าว  

แม้จะมีความถดถอยเช่นนี้ แต่ตัวเลขรวมของการประหารชีวิตที่บันทึกได้ในปี 2564 ยังคงเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดเป็นอันดับสองรองจากปี 2563 เท่าที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเคยบันทึกข้อมูลได้อย่างน้อยตั้งแต่ปี 2553[i]   

เช่นเดียวกับปีก่อนหน้านี้ จำนวนคำตัดสินให้ประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกนี้ ไม่ครอบคลุมจำนวนประชาชนหลายพันคน ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าถูกสั่งประหารและถูกประหารชีวิตในจีน รวมทั้งจำนวนการประหารชีวิตที่สูงมากซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในเกาหลีเหนือและเวียดนาม ความลับด้านข้อมูลและการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลในทั้งสามประเทศ ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการติดตามข้อมูลการประหารชีวิตอย่างถูกต้อง ในขณะที่สำหรับอีกหลายประเทศ ตัวเลขที่บันทึกได้อาจต้องถือว่าเป็นตัวเลขเพียงขั้นต่ำเท่านั้น  

จีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามยังคงปิดบังการใช้โทษประหารชีวิตไว้เป็นความลับหลายชั้น แต่ดังเช่นที่ผ่านมา แม้ตัวเลขเพียงเล็กน้อยที่เราเห็น ก็ทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้แล้ว แอกเนส คาลามาร์ดกล่าว   

ในอิหร่านยังคงมีการกำหนดให้มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว (mandatory death penalty) สำหรับฐานความคิดครอบครองยาบางประเภทและในปริมาณหนึ่ง โดยมีข้อมูลว่า จำนวนการประหารชีวิตในคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นกว่าห้าเท่าเป็น 132 ครั้งในปี 2564 จาก 23 ครั้งในปีก่อนหน้านั้น และยังข้อมูลว่า จำนวนผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตก็เพิ่มขึ้น จาก 9 คนเป็น 14 คน ในขณะที่ทางการอิหร่านยังคงละเมิดต่อสิทธิเด็ก ด้วยการประหารชีวิตบุคคลซึ่งกระทำความผิดขณะมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งขัดกับพันธกรณีของตนที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ  

เช่นเดียวกับจำนวนการประหารชีวิตที่เพิ่มขึ้นในซาอุดีอาระเบีย (65 ครั้ง จาก 27 ครั้งในปี 2563) เราได้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2563 ในโซมาเลีย(อย่างน้อย 21 ครั้ง จากอย่างน้อย 11 ครั้ง) ซูดานใต้ (อย่างน้อย 9 ครั้ง จากอย่างน้อย 2 ครั้ง) และเยเมน (อย่างน้อย 14 ครั้ง จากอย่างน้อย 5 ครั้ง) เบลารุส (อย่างน้อย 1 ครั้ง) ญี่ปุ่น (3 ครั้ง) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (อย่างน้อย 1 ครั้ง) ก็กลายเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิต หลังว่างเว้นไปในปี 2563 

มีการตัดสินให้ประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2563 ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (อย่างน้อย 81 ครั้ง จากอย่างน้อย 20 ครั้ง) อียิปต์ (อย่างน้อย 356 ครั้ง จากอย่างน้อย 264 ครั้ง) อิรัก (อย่างน้อย 91 ครั้ง จากอย่างน้อย 27 ครั้ง) เมียนมา (อย่างน้อย 86 ครั้ง จากอย่างน้อย 1 ครั้ง) เวียดนาม (อย่างน้อย 119 ครั้ง จากอย่างน้อย 54 ครั้ง) และเยเมน (อย่างน้อย 298 ครั้ง จากอย่างน้อย 269 ครั้ง

ภายในสิ้นปี 2564 มี 108 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี และมี 144 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว  

สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ คือยังคงโทษประหารชีวิตอยู่ตามกฎหมายสำหรับอาชญากรรมทั่วไป แต่ได้มีการระงับการประหารชีวิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ยังคงเป็นหนึ่งในจำนวน 55 ประเทศที่มีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่  

“ประเทศส่วนน้อยในโลกที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต โปรดรับรู้ไว้ว่า โลกที่ปราศจากการสังหารโดยรัฐ ไม่เพียงแต่จะจินตนาการได้เท่านั้น แต่ยังอยู่ใกล้แค่เอื้อมและเราจะยังคงต่อสู้เพื่อให้เกิดโลกเช่นนี้ เราจะยังคงเปิดโปงการใช้โดยพลการ การเลือกปฏิบัติ และความโหดร้ายของการลงโทษนี้ต่อไป จนกว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ใต้เงามืดของบทลงโทษนี้ ถึงเวลาแล้วเราจะต้องทำให้การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุดจะกลายเป็นอดีตไป” แอกเนสกล่าว 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำความผิดหรือผู้บริสุทธิ์ หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตและเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม 

 อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มและภาพประกอบ พร้อมวิดีโอได้ที่นี่ https://www.amnesty.or.th/latest/news/1004/ 

 


หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ 

[i] จำนวนรวมการประหารชีวิตที่รายงานในปี 2564 นับเป็นตัวเลขต่ำสุดอันดับสอง รองจากปี 2563 ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลมาอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2553 โดยปี 2564 เป็นปีที่มีตัวเลขต่ำสุดอีกครั้งหนึ่งเท่าที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลบันทึกข้อมูลได้ตั้งแต่เริ่มติดตามข้อมูลการใช้โทษประหารในปี 2522 อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงในแง่การเข้าถึงข้อมูล ในแง่ระเบียบในประเทศ และด้านวิธีการในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาท้าทายในการเปรียบ??

Recent posts