16 February 2022
3364
ขอบคุณภาพ จาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34919
พระอาจารย์ดร.ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ (ญาณปฺปโภ)*
PhraAjarnDr.Nuttawat Tangpatomwong (Ñãṇappabho)
บทคัดย่อ
พระภิกษุสงฆ์หรือสมมติสงฆ์ ยังมิใช่พระสงฆ์ในความหมายของพระรัตนตรัยโดยตรง เกิดมาในโลกใบนี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับประกันว่า เราเป็นสงฆ์ เราเป็นสมมุติสงฆ์ แล้วบัญญัติก็เป็นสมมุติ สำนึกและความรับผิดชอบส่วนตัว การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงทางความเสียหายต่อภาพลักษณ์ เขย่าความศรัทธาต่อสถาบันศาสนา และความเชื่อในจิตใจของพุทธศาสนิกชน สร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดสำนึกและความรับผิดชอบในตัวเองต่อการเป็นสมมุติ “สงฆ์” ที่ดีๆ ที่ไม่ใช่พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตต่อการเป็นสมมุติ “สงฆ์” ที่ปฏิบัติตนผิดหน้าที่หรือขาดความสำนึกและความรับผิดชอบในตัวเอง จนถือได้ว่าเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่ง เช่น พระผู้ตั้งตัวเองเป็นผู้วิเศษ, พระดูหมอ-ใบ้หวย เป็นกิจวัตร, พระ ไม่ใช่ศิลปิน, และศักดิ์ศรีของผ้าเหลือง อันเปรียบเสมือน ธงชัยแห่งพระอรหันต์ อย่าให้พุทธศาสนิกชนอยากทำบุญใส่บาตรโดยไม่เลือกพระเลือกวัด คิดเพียงแค่ว่า “ถือว่า...ไหว้ผ้าเหลือง” มโนสำนึกและความรับผิดชอบส่วนตัว: การเป็นสมมุติ “สงฆ์” ต่อการเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ จึงควรเกิดขึ้นในตัวเรา “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
คำสำคัญ: ความรับผิดชอบส่วนตัว/มโนสำนึก/สงฆ์/สมมุติ
Abstract
Monks or fictional monks still not a monk in the meaning of the jewels directly born in this world are all fictional. The discipline of the Lord Buddha guarantees that we are monks. We are being supposed monks. Then the commandments are being supposed realization and personal responsibility behavior adjustment to prevent and reduce the risk of image damage. Shaking faith in religious institutions and belief in the mind of Buddhists build self-awareness and self-responsibility towards being a good “monk” being supposed that is not a health-promoting behavior, both physically and mentally, to being a “monk” being supposed that acts off duty or lack of confidence. Self realization and responsibility until it can be regarded as the destroyer of Buddhism in another way, such as the monks who set themselves as magicians, Phra Du Mor - mute lottery as a routine, monks are not artists, and the dignity of the yellow cloth. Which is like victory flag of the arhat, do not let Buddhists want to make merit with monks without choosing a temple. Just think of “Considered… paying homage to the yellow cloth” Consciousness and personal responsibility: being a "monk" suppose to be the recipient and giver. Therefore, it should happen in us, "fair giving wins all giving"
Keywords: Responsibility/Conscience/Personal/Monk/Supposed
บทนำ
ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ความก้าวหน้าของระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางสังคม คือเครือข่ายสังคมใหม่ที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมออนไลน์” (Social Network) โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สาธารณะที่สมาชิกซึ่งก็คือ คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติและศาสนา ทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาอาชีพ และทุกกลุ่มสังคมย่อยๆ จากทั่วโลกเป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเนื้อหาเรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่สมาชิกเขียนและทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่น ที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ได้รับรู้กันบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีของสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายประเภท (พนิดา พานิชกุล. 2548: 49) หนึ่งในเครื่องมือของการสื่อสารนั้นคือ “ไวรัลคอนเทนต์ (Viral Content)” ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดอย่างหนึ่งที่ปัจจุบันเป็นนิยมใช้กันอย่างมากมาย ควบคู่ติดกับสื่อสังคมออนไลน์ และในแทบทุกๆ วงการก็นำเอาเครื่องมือประเภทนี้ มาเป็นกลยุทธ์เสริมในการสร้างและปลุกปั่นกระแสในข้อมูล ข่าวสาร การทำแคมเปญโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่างๆ ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับสารได้เกิดการรับรู้ การจดจำ และเกิดแรงกระตุ้นจากเครื่องมือคอนเทนต์ดังกล่าว ในรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งไวรัลคอนเทนต์นั้น เกิดการกระจายไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วอินเทอร์เน็ต โดยมีเป้าหมายที่ต้องการคือ ให้ได้รับการพูดถึงเป็นกระแสในวงกว้าง และมีการแชร์หรือส่งต่อกันเป็นจำนวนมากๆ ทั้งบนช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Line, What-app, Twitter, YouTube และ Google ฯลฯ จนมีผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับสารได้พบเห็นเป็นหลักล้านๆ วิวได้ภายในไม่กี่วัน
ทุกวันนี้โลก ก้าวเข้าสู่ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน การสร้างการตลาด “แบบปากต่อปาก (Word of Mouth)” บนโลกออนไลน์ด้วย Viral Content นั้น ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากใช้ต้นทุนน้อยแล้วยังสามารถเข้าถึงผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับสารได้เป็นจำนวนมาก โดยแทบไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาเหมือนการทำแคมเปญโฆษณาอื่นๆ และผลที่ตามมาก็จะทำให้แบรนด์หรือกระแสในข้อมูล ข่าวสาร รูปภาพ วิดีโอ หรือโฆษณาต่างๆ นั้นกลายเป็นที่รู้จัก จดจำ และรับรู้ จนสามารถขายสินค้าและบริการ หรือเป็นเรื่องราวที่มีเป้าประสงค์อยากให้คนในสังคมทั่วๆ ไปรับรู้อย่างทั่วหน้ากันต่อๆ ไปได้ในอนาคต (BusinessLinX GlobalLinker. 2563: ออนไลน์)
การใช้เครื่องมือการสื่อสารในแบบนี้ มีทั้งผลดีและผลเสีย (เสมือนเหรียญที่มีทั้งสองด้าน) แต่สิ่งที่น่าตระหนักและพึงสังวรระวังคือ (การตั้งสติ คิดและตรึกตรองก่อนทุกๆ ครั้งก่อนที่จะทำการถ่าย แชร์ โพสต์ ฯลฯ) เพราะถ้าผู้หวังดีประสงค์ร้าย หรือผู้ต้องการขายกระแสของข่าวสารไปพบเจอคลิป รูปภาพ ข้อความ ฯลฯ ใดๆ เข้าอาจทำให้ข้อมูลเนื้อต่างๆ เหล่านั้นกลับกลายเป็น Viral Content แบบผิดๆ กลายเป็นภาพลบ/เนกาทีฟ เกิดขึ้นมาได้ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือบุคคล ฯลฯ และส่งผลกระทบในด้านลบต่อแบรนด์หรือตัวบุคคลได้มากเช่นกัน ฉะนั้นถ้าจะทำ Viral Content นั้น ก็ต้องวางแผนให้ดีเสียก่อน ว่าอะไรที่จะสามารถทำได้ คอนเทนต์ของแบรนด์ภาพลักษณ์ของตัวเราจะกลายเป็นไวรัลที่ดี หรือเลวร้ายจนย่ำแย่เกิดเป็นกระแสในสังคมถาโถมโจมตีอย่างต่อเนื่อง
องค์กรศาสนา เมื่อเกิดเป็นกระแสข่าวในทางสังคม ย่อมกลายเป็นกระแสที่ส่งผลกระทบในด้านลบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ เขย่าความศรัทธาต่อสถาบันศาสนา และความเชื่อในจิตใจของพุทธศาสนิกชน หากมองย้อนกลับไปเกือบทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยจะพบว่ามีข้อมูลจากสำนักงานพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2557 ที่มีจำนวนพระภิกษุทั้งสิ้น 348,429 รูป เฉพาะพระภิกษุ มีจำนวน 290,015 รูป แบ่งเป็น มหานิกาย 256,826 รูป และธรรมยุติ 33,189 รูป (สำนักงานพระพุทธศาสนา. 2563: ออนไลน์) แม้จะมีจำนวนพระหลายแสนรูปในประเทศ แต่นั่นไม่ได้เป็นเครื่องการันตรีถึงคุณภาพของวงการผ้าเหลืองไทยว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีคุณภาพน้ำดีทั้งหมดทั้งสิ้น ยิ่งนับวันทุกวันนี้โลกก้าวเข้าสู่ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน และมีเครื่องมือการสื่อสาร “ไวรัลคอนเทนต์ (Viral Content)” ในการสร้างและปลุกปั่นกระแสในข้อมูล ข่าวสาร การทำแคมเปญโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่างๆ ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับสารได้เกิดการรับรู้ การจดจำ และเกิดแรงกระตุ้นจากเครื่องมือดังกล่าวฯ ในรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลต่างๆ นั้น เกิดการกระจายไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วอินเทอร์เน็ต โดยมีเป้าหมายที่ต้องการคือ ให้ได้รับการพูดถึงเป็นกระแสในวงกว้าง และมีการแชร์หรือส่งต่อกันเป็นจำนวนมากๆ ทั้งบนช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Line, What-app, Twitter, YouTube และ Google ฯลฯ จนมีผู้ชมหรือกลุ่มรเป้าหมายผู้รับสารได้พบเห็นเป็นหลักล้านๆ วิวได้ภายในไม่กี่วันนั้น
แต่ในทางกลับกันก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในทุกๆ วงการนั้นย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวผสมปะปนกันไปอยู่ในกลุ่มในสังคม แต่ในความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนทุกๆ คน ก็จะยกย่องและฝากความหวังของพุทธศาสนาไว้กับ “สมมุติสงฆ์” เป็นสงฆ์ สงฆ์โดยสมมุติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ขึ้นมาแล้ววางธรรมไว้ด้วยใจที่เป็นธรรม แต่เวลาวางธรรมมาเป็นบัญญัติ ธรรมวินัยนี้เป็นบัญญัติ บัญญัตินี้เป็นสมมุติอันหนึ่ง สมมุติเกิดขึ้นมาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นตามความเป็นจริง แต่สมมุติขึ้นมาเพื่อทอดสะพานมาให้กับบรรดาเหล่า “สมมุติสงฆ์” ก้าวเดินได้ต่อไป ข่าวสารข้อมูลของวงการพระสงฆ์ ที่เป็นกระแสแพร่กระจายไปในวงกว้าง ล้วนแล้วแต่เป็นไปในเรื่องของการกระทำผิดในทางโลกของพระสงฆ์ ปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระลอกทั้งในสื่อมวลชนต่างๆ และที่แชร์กันสนั่นในโลกออนไลน์ เคียงคู่ไปความศรัทธาและกระแสการยกพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในหลายๆ กรณีที่เป็นข่าวใหญ่อื้อฉาวและยังเป็นที่จดจำกลายเป็นเรื่องอื้ออึงในวงการผ้าเหลือง เมื่อมีการแพร่ภาพซ้ำๆ ตกย้ำการรับรู้ การจดจำให้มีความถี่ ทวีความรวดเร็วและรุนแรง
ในบทความวิชาการชิ้นนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนก็เป็น “สมมุติสงฆ์” เฉกเช่นเดียวกัน และดำรงตนอยู่ภายใต้ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์มานับทศวรรษ ตลอดจนค่ำหวอดในแวดวงการศึกษาในด้านการสื่อสาร พระพุทธศาสนาและปรัชญา ก็เปิดใจและยอมรับฟังของทุกๆ กระแสข่าวสารในวงการสงฆ์ที่ได้สะท้อนเข้ามายังโสตประสาทอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้อ่านและเห็นผลงานในแวดวงการศึกษาในประเด็นกระแสข่าววงการพระสงฆ์ของนิสิตนักศึกษา ทั้งจากฟากฝั่งฆราวาสและบรรพชิตเป็นผู้ศึกษาวิจัยในงานต่างๆ เหล่านั้น โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลของ รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด (2559: TCIJ ออนไลน์) ที่พบว่า “4 ปี พระสงฆ์ก่อเหตุ 117 คดี ข่มขืน-ฆ่า-ชิงทรัพย์-ใช้อิทธิพลปิดปาก” วิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัญหาการล่วงละเมิดจริยธรรมของพระภิกษุและสามเณรในสังคมไทย ศึกษาเฉพาะกรณีการก่อคดีทางโลก” ของพระปรียะพงษ์ คุณปัญญา เผยแพร่เมื่อปี 2553 พบว่าตั้งแต่ปี 2546-2550 ปรากฏคดีที่พระสงฆ์เป็นผู้ก่อเหตุในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน ทั้งสิ้น 117 คดี แยกเป็น คดีฆาตกรรม 37 คดี คดีล่วงละเมิดทางเพศ 35 คดี คดีลักทรัพย์ 30 คดี และคดียาเสพติด 15 คดี และพิจารณาเฉพาะคดีล่วงละเมิดทางเพศ หากไม่นับคดีฆาตกรรมที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย คดีล่วงละเมิดทางเพศนับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อการรับรู้ โดยเฉพาะผู้กระทำความผิดเป็นผู้ทรงศีลและเหยื่อเป็นผู้เยาว์” อีกทั้งกระแสข่าวสารในวงการสงฆ์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องไม่เว้นแต่ละวันในทุกๆ วันนี้ โดยบทความวิชาการชิ้นนี้ อยากเสนอแนะ และสะท้อนทัศนะของผู้เขียนในประเด็นเรื่อง “การเป็นสมมุติ “สงฆ์”: มโนสำนึกและความรับผิดชอบส่วนตัว” อย่างตรงไปตรงมาในประเด็นบริบทของการเป็นเพียงแค่ “สมมุติสงฆ์” “มโนสำนึก” และ “ความรับผิดชอบส่วนตัว” ยังไม่ก้าวล่วงไปสู่การเป็นพระอริยสงฆ์ หรือพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ในอนาคตสืบไป
พระสงฆ์
ในตามหลักการ “พระสงฆ์” จึงถือว่าเป็นตัวแทนหรือเป็นเสมือนสาวกแทน ขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของพุทธศาสนิกชน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อการเผยแผ่และ ถ่ายทอดพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้บัญญัติไว้ เพื่อให้ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้น้อมนำพระธรรมคำสอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และในสังคม โดยพระสงฆ์ ต้องปฏิบัติและการดำรงชีวิตตนตามพระธรรมวินัย ให้สามารถสร้างความศรัทธา ความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พุทธศาสนิกชน ได้ตระหนัก ถึงหน้าที่ของตนในฐานะชาวพุทธอีกด้วย เมื่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมวินัยและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทำให้พระศาสนามีความเจริญก้าวหน้า ความตั้งมั่นของพระศาสนาจะเกิดประโยชน์แก่มหาชนคือ เหล่าพุทธบริษัท 4 ทั้งทางตรงและทางอ้อม พระพุทธเจ้าทรงยกพระธรรมวินัย ไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน (เหม เวชกร. 2555: ออนไลน์) ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทานโอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกัน ลักลั่นอยู่ คือคำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน' พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุพรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน' ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถามว่า ท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้ว ก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่า ไม่มีโอกาสถาม ปรากฏตามท้องเรื่องใน “มหาปรินิพพานสูตร” ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดา ปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า
แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ฃัดเจนก่อนจะนิพพานว่า พระภิกษุรูปใด ตรัสบอกพระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็น
พระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อม
สลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของ คืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
ตามเนื้อแท้ทางพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า “พระสงฆ์” ที่เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูง โดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์ โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ
1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบั??