15 November 2021
1042
ขอบคุณภาพประกอบ จาก สำนักข่าวอิศรา : https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/103407-covidsouthhi.html
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
17 ตุลาคม 64 นายกรัฐมนตรี ตั้ง “ศบค.ส่วนหน้า” ให้ทหารเกษียน “พล.อ.ณัฐพล” นั่ง ผอ.ศูนย์ ลุยแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอ้างว่า เพื่อให้การบริหารจัดการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้คำว่า เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการการปฏิบัติราชการให้สามารถขับเคลื่อน ติดตาม และแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการเฉพาะและชั่วคราวสร้างความไม่พอใจให้คนในพรรคภูมิใจไทย โดยวิจารณ์ว่า ท่านนายกัฐมนตรีกำลังเอาโมเดล "ความมั่นคงต้องมาก่อน" มาใช้กับเรื่องสาธารณสุข
หรือเป็นการนำเอา”การทหารนำการสาธารณสุข”สอดรับกับแนวทาง”การทหารนำการเมือง”ที่ท่านนายกรัฐมนตรีนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ยังไม่สำเร็จสอดคล้องกับนักวิชาการในพื้นที่ สะท้อนเช่นกันแม้หัวหน้าพรรคอย่างนายอนุทิน จะออกมาแก้ข่าว ช่วงหลังจากนั้น
อย่างไรก็แล้วแต่ยังมีเรื่องเพิ่มอุณภูมิความไม่พอใจต่อคนพื้นที่และยึดหน้าสื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์จนกลายเป็นเรื่องดราม่าร้อนฉ่า เมื่อ18 ต.ค. -
เพจประชาสัมพันธ์สวท.เบตงขึ้นเบรนเนอร์คำสั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาประกาศไม่ให้บริการประชาชนที่ไม่ฉีดวัคซีน สั่งหน่วยราชการ-ธนาคาร-รัฐวิสาหกิจ- องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานให้คนที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามมุสลิมเข้ามัสยิดเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ จนต้องลบข้อความดังกล่าวพร้อมทั้งกล่าวหาว่า Fake News (ดีที่มีคนแคปหน้าจอยืนยัน)ซึ่งทางรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand เล่าข่าวเจาะประเด็นโดย ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ / อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ ถล่มผู้ว่าราชการยะลา
(โปรดดู https://www.youtube.com/watch?v=oaohiRumjZU) แต่เปลี่ยนมา เลี่ยงบาลีใช้คำ "ขอความร่วมมือ" แทนซึ้งนักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน ตั้งข้อสังเกต เช่นอาจารย์ศิโรจน์ คล้ามไพบูลย์ ให้ห้ทัศนะว่า " การฉีดวัคซีนจำเป็น แต่คนที่ไม่ฉีดไม่ได้แปลว่าเขาไม่ใช่พลเมืองไทยซึ่งส่งผลให้หมดสิทธิในฐานะประชาชน? การบริการประชาชนคือหน้าที่ข้าราชการซึ่ง ข้าราชการจะตั้งกติกาว่าไม่ทำตามหน้าที่คงไม่ได้ ข้อสงเกต ถ้าคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเขาป่วยด้วยโรคความดัน มะเร็ง ฯลฯ โรงพยาบาลไม่มีสิทธิปฏิเสธจะไม่รักษาเขา? แล้วถ้าคนไม่ได้ฉีดเขาถูกปล้น ตำรวจจะไม่ทำคดีให้เขาหรืออย่างไร ถ้าผู้หญิงไม่ได้ฉีดวัคซีนถูกข่มขืน ท่านจะปล่อยให้เขาถูกข่มขืนอย่างนั้นหรือ แล้วถ้าเขาต้องเบิกเงินเขาจากธนาคารไปใช้จ่าย ไปผ่อนรถ ไปซื้อข้าว ธนาคารจะไม่ให้เจ้าของเงินเบิกเงินเขาหรืออย่างไร?การแก้ปัญหาโควิดระบาดจำเป็น แต่วิธีสนองนโยบายรัฐโดยละเมิดสิทธิประชาขนเหนือทรัพย์สินและขีวิตแบบนี้ไม่เหมาะสมแน่นอน
#การใช้มาตราการห้าม เป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน ไม่ใช่ทางออก
พล.ท ธิรา แดหวา แม่ทัพน้อยที่4 ได้เปิดเผยต่อผู้เขียน และคณะสล.3 ว่า "เมื่อวาน (วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564)ในการประชุม สบค.ส่วนหน้าโดยผอ.สบค.ส่วนหน้าท่านได้พูดคุยกับผู้นำศาสนาแล้วต่อด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด+นพ.สาธารณสุขจังหวัดซึ่งมีสาระสำคัญคือจะปรับกระบวนการป้องกันฯอย่างไรให้ไปกันได้กับวิถีชีวิตของประชาชน เช่น ละหมาดที่มัสยิด งานศพ การใช้จ่ายในตลาด การสัญจร ฯลฯ ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ประชาชนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปโดยสิ้นเชิง โดยให้แต่ละพื้นที่มีส่วนร่วมทุกขั้นตอนให้มากที่สุด"ในทางทฤษฎีถือว่าเป็นทิศทางที่ดีหลังจากถูกวิจารณ์จากนักวิชาการ ประชาสังคมและสื่อว่า ทำไมเรื่องสุขภาพเอานายทหารเกษียณมาเป็นผู้นำและในขณะเดียวกันทางผู้ราชการจังหวัดยะลาใช้มาตรการทางศาสนา วัฒนธรรมและการติดต่อราชการกับธุรกรรมทางการเงินมาเป็นตัวประกันในการฉีดวัคซีน ในขณะที่ประชาชนแห่ไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์จนต้องจัดคิวและไม่พอ ดังที่นางสาวอัญชนา หีมมีหน๊ะ รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่21 ตุลาคม 2564 จากสะบ้าย้อยว่า " "ใครว่าคนไม่ฉีดวัคซีนเขาแค่รอวัคซีนไฟเซอร์ ปรากฎการณ์คนมารับคิวแรกตอนตี5 คิวwalk in 1500 หมดตั้งแต่เวลา7:00 น.ข้าพเจ้ามา6 โมงคิวที่313 ในขณะ มีบางคนเก็บบัตรคิวไว้เป็นปึกๆ"และสะท้อนอีกว่า "3 วัน 4500ไม่นับที่ผ่านมาและนักเรียน ไม่ใช่เขาไม่ต้องการฉีดวัคซีนแต่รอวัคซีนและวัคซีนดี ๆ" ศุภวรรณ เกลียวคลื่น ชนะสงคราม กล่าวว่า #ความจริงชายแดนใต้ คน (จำนวนน้อย) ไม่ยอมฉีดวัคซีนถูกประโคมเป็นข่าว “ใหญ่” วัคซีนไม่พอสำหรับคน (จำนวนมาก) ที่ต้องการฉีด กลับเป็นข่าว “น้อย” “รัฐ” มีหน้าที่จัดวัคซีนให้เพียงพอ หยุดกล่าวโทษชาวบ้านคนชายแดนใต้ ซึ่งสอดคล้องกับนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ สะท้อนผ่านสื่อก่อนหน้านี้วันที่ ๕ ตุลาคม ดูเพิ่มเติมในhttps://news.ch7.com/detail/520171 และถ้าประชาชนไม่ได้ฉีดเพราะเหตุผลดังกล่าวเขาต้องถูกรัฐจับเป็นตัวประกันหรือ? ดังนั้นสบค.ส่วนหน้า ตามพล.ท ธิรา แดหวา แม่ทัพน้อยที่4สัมภาษณ์จริงก็เดินมาถูกทางที่ "จะปรับกระบวนการป้องกันฯอย่างไรให้ไปกันได้กับวิถีชีวิตของประชาชน ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ประชาชนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปโดยสิ้นเชิง "แต่ก็ต้องรอภาคปฏิบัติหรือเชิงประจักษ์
# ทางออกคือภาคประชาชนร่วม
นายข๊ดดะรี บินเซ็น นายกสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้มองว่า “เมื่อนายกรัฐมนตรีตั้งแล้วก็ต้องเดินหน้า มองในแง่ดี ศบค.ส่วนหน้า ที่มีทหารที่มีความสัมพันธ์กับกอ.รมน.ภาคสี่ที่มีแม่ทัพเป็นหัวหน้ามีทั้งอำนาจ ทั้งคน ในโครงสร้างบริหารเชิงประจักษ์ก็ทราบอยู่ น่าจะน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่ก็ได้ จะมีคนมาช่วยเพราะโดยลำพังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกคนค่อนข้างล้ามาก จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรทุกองค์กรมาเดินร่วมกัน จะทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น เช่น เรื่องของโครงสร้าง ทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ต้องลงมาทันทีตามที่นพ.รุสตา สาและ หัวหน้ากลุ่มงานด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาล จ.ปัตตานีเสนอ ปัญหาคือจะให้ภาคประชาชนชุมชนมีส่วนร่วมอย่างไร อย่างที่จะนะโมเดลเปิดโรงพยาบาลสนามคือตัวอย่างที่จะช่วยสามจังหวัด ซึ่งสามจังหวัดกำลังขอ ให้ต้องเน้น คือ การเข้ามาช่วยในส่วนของ Community Isolation เนื่องจากผู้ติดเชื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นการติดเชื้อในครอบครัวใหญ่ การไปรักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation ไม่เหมาะสมยังไม่เห็นภาคประชาชนมีส่วนร่วมทำโรงพยาบาลสนามอย่างจริงจัง ถ้ารัฐทำเองหมด ก็อย่างที่เห็น การควบคุมการระบาดจะต้องเป็นมาตรการที่ผสมกันไป เรามีการพูดถึงการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้น การล็อกดาวน์ทั้งพื้นที่อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่อาจจะต้องล็อกดาวน์เป็นชุมชนที่ติดโควิด ส่วนตัวมองว่าพอเราเติมวัคซีนที่ประชาชนมั่นใจในยี่ห้อและคุณภาพ มีการตรวจเอทีเคเชิงรุกในชุมชน รวมกับมาตรการที่มาเสริมแล้วให้ภาคประชาชน ชุมชนร่วมออกแบบร่วมปฏิบัติการในชุมชนเขา รัฐมีหน้าที่หนุนเสริมทุกองคาพยพ เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น”เรายินดีเป็นโซ่ข้อกลาง
#โซ่ข้อกลางเชิงประจักษ์และอาสาช่วยรัฐง
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30-16.00 น. ผู้เขียนและบาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะในนามตัวแทนสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาได้เข้าร่วมเวทีเสวนาหัวข้อห้องเรียนหลักประกันสุขภาพออนไลน์ครั้งที่5 “จัดโดย เครือข่ายหลักประกันสุชภาพประชาชนเขต 12 สงขลาโดยมีตัวแทนเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)เขต 12 สงขลา เข้าร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อถอดบทเรียนการที่ปอเนาะ โรงเรียนตาดีกาและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนอิสลามอาสาเปิดโรงพยาบลสนามเพื่อคนในชุมชนไม่ว่ามุสลิมหรือต่างศาสนิก อันเป็นภารกิจของผู้รู้ศาสนาในฐานะผู้รับอมานะฮ์ความรับผิดจากท่านศาสนฑูตมุฮัมมัดและบรรดาผู้รู้ที่เริ่มก่อตั้งสถาบันการสอนศาสนาในอดีต การอาสาทำโรงพยาลสนามโต๊ะครูเจ้าโรงเรียนจำเป็นต้องทำงานเป็นเจ้าภาพที่ดีดูแลดั่งเจ้าบ้าน ใส่ใจทุกรายละเอียด เสียสละเวลาและทุกอย่าง แต่โรงพยาบาลสนามจะไม่ประสบความสำเร็จเลยหากชุมชนและภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่หนุนเสริม” ในขณะที่ นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะให้ทัศนะว่า “โรงพยาบาลสนามที่โรงเรียนศาสนบำรุง เป็นโรงพยาบาลสนามในตำนานสู้ภัยโควิดที่สำคัญของอำเภอจะนะ เป็นพื้นที่แห่งความร่วมมือร่วมใจในชุมชนพหุวัฒนธรรมของอำเภอจะนะในการสู้ภัยโควิด เปิดขึ้นมาเป็น 3 โรงพยาบาลแรกตั้งแต่วันที่ 29 เดือนมิถุนายน 2564 รับเฉพาะผู้ป่วยหญิงและเด็ก มีขนาด 150 เตียง และแทบจะทำหน้าที่รับผู้ป่วยอย่างเต็มศักยภาพมาตลอด หลังการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง เพื่อดูแลผู้หญิงและเด็ก ทั้งชาวมุสลิมและพุทธ ที่ป่วยด้วยโรคโควิด รวม 1,009 คน ในเวลา 113 วัน จนหายและทยอยกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย บัดนี้ 21 ตุลาคม 2564 คนไข้ชุดสุดท้ายแห่งโรงพยาบาลศาสนบำรุงได้กลับบ้านแล้ว เป็นการปิดโรงพยาบาลสนามแห่งนี้โดยสมบูรณ์ เพื่อคืนพื้นที่ให้กับโรงเรียนศาสนบำรุงในการเตรียมการเปิดการเรียนการสอน คุณครูได้เข้ามาทำงาน เด็กบางส่วนได้เข้ามาเรียนอัลกุรอ่าน ผู้ปกครองได้เข้ามาประสานกับทางโรงเรียน รวมทั้งทางโรงเรียนจะได้ปรับปรุงอาคารสถานที่สำหรับการเปิดเรียนต่อไปทางโรงพยาบาลจะนะและพี่น้องชาวอำเภอจะนะต้องขอขอบพระคุณบาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ และชาวโรงเรียนศาสนบำรุง รวมทั้งทีมสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ ที่รวมแรงร่วมใจอย่างเต็มที่ ในการร่วมสู้ภัยโควิด ให้คนป่วยได้มีที่พักที่รักษากักตัวในคืนวันที่ยากลำบากและด้วยในปัจจุบันที่โควิดยังระบาดหนักมาก ทางสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาก็ได้ร่วมใจเปิดโรงเรียนบุสตานุดดีนให้เป็นโรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ขนาดมหึมา 450 เตียงขึ้นมา ด้วยความตระหนักในภารกิจการช่วยเหลือคนจะนะที่ยังต้องมีความต่อเนื่องในการมีีที่กักรักษาผู้ป่วยโควิด ตำนานการสู้ภัยโควิดของชาวจะนะ จะจารึกชื่อของโรงเรียนศาสนบำรุงในความทรงจำของเราทุกคน บาบอฮุสนีเล่าว่า ไปเดินตลาดมีแต่คนทักคนยกมือไหว้ ไปซื้อของร้านค้าหลายแห่งเขาก็ไม่ยอมให้จ่ายเงิน นั่นคือสัญลักษณ์แทนคำขอบคุณจากใจของพี่น้องคนจะนะครับบาบอ
เมื่อบาบอ(ครู)และบอมอ(หมอ) รวมพลังทำเพื่อพี่น้องประชาชน การสู้ภัยสารพัดที่มาสร้างความเสียหายกับผู้คนและแผ่นดิน ทั้งภัยโควิดและภัยอื่นๆ เราจะต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน
จากทัศนะทั้งบาบอฮุสณีและนายแพทย์สะท้อนบทเรียนพบว่า
“ทุนทางสังคม”ของ ผู้นำศาสนากับ หมอ เป็นปัจจัยหลักของการขบเคลื่อน กล่าวคือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันปอเนาะที่มีผู้นำการศึกษาศาสนาอิสลาม เรียกว่าโต๊ะครู โรงพยาบาลมีหมอเป็นผู้นำ ซึ่งทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง หมอภายใต้การนำของนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจและผู้นำการศึกษาที่ชาวบ้านเรียกว่า บาบอ โต๊ะครูเปรียบเสมือนหมอศาสนา ทั้งสองเมื่อรวมพลังกับชาวบ้านที่รวมกันเข้มแข็งมาตั้งแต่ 20 ปีก่อน ซึ่งต้องต่อสู้เพื่อชุมชนกันมาหลายครั้งหลายหน ตั้งแต่การรวมกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างท่อก๊าซ ตามมาด้วยพลังคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ และปัจจุบันก็ยังเกาะกลุ่มกันต่อต้านโครงการนิคมอุตสาหกรรม ล้วนมีส่วนสร้างพลังแห่งความร่วมมือให้เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับภัยเดือดร้อน เสมือนว่าเป็นเมืองที่สร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาดักจับและต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ในวิกฤติโควิดจึงเห็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือของชาวจะนะโดยไม่ต้องบังคับฝืนใจให้ทำ” นี่คือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างหมอศาสนาหรือบาบอ โต๊ะครู กับหมอรักษาร่างกาย หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพราะที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายต่างทำงานช่วยเหลือกันมาโดยตลอด เมื่อเจอภาวะวิกฤติแม้ต่างฝ่ายต่างสะดุดล้มแต่ก็ลุกขึ้นจับมือและพาชุมชนให้รอดไปด้วยกันได้”
จากจุดนี้เองทำให้ผู้ร่วมเสวนาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยอดโควิดกำลังสูงขึ้นสนใจจะนะโมเดลที่ขับเคลื่อนระหว่างผู้รู้ศาสนากับหมอซึ่งช่วงท้ายของรายการผู้เขียนและบาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะในนามตัวแทนสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลายินดีเป็นโซ่ข้อกลางประสานเจ้าของสถาบันและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีสถานที่ใหญ่กว่าพร้อมกว่าในอำเภอจะนะและนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ก็เชื่อมกับทุกโรงพยาลที่จะทำงานร่วมกับผู้รู้ศาสนาและเจ้าของโรงเรียนสอนศาสนาข้างต้น
ดังนั้นกล่าวโดยสรุป“ศบค.ส่วนหน้า” ภายใต้บังเหียนทหารเกษียน “พล.อ.ณัฐพล”ต้องมีภาคประชาชนร่วม