Back

เกษตรผสมผสาน

21 April 2021

1293

เกษตรผสมผสาน

วันนี้ ขออนุญาต เขียนยาว ระบายความอัดอั้น ในสมองหน่อย นะครับ....

 

ถ้าผมจำไม่ผิด เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เราเรียกกันติดปาก หรือ เรียกศาสตร์พระราชา หรือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือๆ แม้แต่เรื่องโคก หนอง นา โมเดล อะไรเหล่านี้ ผมเข้าใจว่า  มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน เมื่อราวๆ 30 ปีก่อน มาจากรูปแบบการทำเกษตรขนาดเล็กๆ ชาวบ้าน ในยุคที่ยังไม่มีระบบการค้า ไม่มีคมนาคม ไม่มีฟู้ดแพนด้า ไม่มีเซเว่น  ไม่มีตลาดใดๆ วิถีความอยู่รอดของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาก็คือ กินอะไรก็ปลูกอันนั้น ทุกบ้านจึงมีภูมิปัญญารักษาความมั่นคงทางอาหาร รักษาเมล็ดพันธุ์ ภูมิปัญญาการแปรรูปเป็นอาหาร การกิน เป็นยา เป็นเมนูต่างๆ กินตามฤดูกาล เมื่อก่อนภูมิความรู้แบบนี้มีทุกคน มีทุกหลัง หากแต่ปัจจุบันเหลือไม่มาก เราจึงเรียกว่า ปราชญ์ แต่ปราชญ์จริงๆ สมัยแต่ก่อน คือคนที่สามารถสร้างเทคโนโลยี สร้างเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องทุนแรง มาทำเกษตร การแบ่งเบาบรรเทาแรงงานภาคการผลิต สามารถหาวิธีเพาะปลูกให้ได้ผลผลิต เยอะๆ ขยายพันธุ์แบบใหม่ ทำนอกฤดู ฯลฯ

เมื่อตลาดเข้ามา ระบบการเงินการค้าการขายเข้ามา พ่อค้าเข้ามา สินค้าใหม่ๆ อาหารจากเมือง วัฒนธรรมบริโภคเข้ามา คนบ้านป่าบ้านนอก ก็เริ่มสะดวกสบาย มีถนนเข้ามา ไฟฟ้าเข้ามา ก็มี ทีวี ตู้เย็น เข้ามา ระบบสาธารณสุขเข้ามา (ห้องน้ำห้องส้วมเข้ามา) และสุดท้าย ประปาก็เข้ามา รูปแบบชีวิต วิถีหาอยู่หากิน ก็เปลี่ยนแปลง ครีมกันแดด น้ำยาล้างจาน เครื่องซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ซอส น้ำมันหอย กาแฟ โอวัลติน เครื่องดื่มบำรุงกำลัง นมกล่อง น้ำผลไม้ ฯลฯ ของใช้จำเป็นสำหรับ ชีวิตสมัยใหม่เข้ามา บ้านสวนกลายเป็นครัวเรือนแออัด สวนครัว กลายเป็นสนามหญ้า คามมั่นคงทางอาหารหายไปหมดสิ้น ชีวิตเรียบง่ายพอเพียง กลายเป็น นิยายคลาสิคของภาคราชการ ทีโหยหาให้ชาวบ้านพยายามกลับมาดำเนิน

จากรูปแบบการทำพอกิน พออยู่ ของคนชนบทสมัยนั้น ก็ถูกรับปรับเป็นแนวคิด โดยมี ปราชญ์ชาวบ้าน พระนักพัฒนา และเอ็นจีโอ ในยุคแรกๆ และเรียกเกษตรแบบนี้ ว่า เกษตรผสมผสาน เพื่อต่อสู้กับการครอบงำของตลาด ทุนและกระแสโลก ซึ่งมีรัฐ เป็เครื่องมือ ผลักดันตามผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเปลี่ยนประเทศเกษตรกรรมยากจน เป็นประเทศเกษตรกรรมใหม่ และเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (
NACK & NICK) ผลิตจากพออยู่พอกิน มาเป็นผลิตเพื่อการส่งออก  ถ้าผมจำไม่ผิดนะ ในช่วงนั้น ประเทศนี้ พยายามเปลี่ยนป่า เปลี่ยนนาร้าง ให้เป็นที่ดินทำกิน เพาะปลูก จินตภาพคนไทย หรือเกษตรกรไทย เปลี่ยนไปตั้งแต่ตอนนั้นโดยสิ้นเชิง

ไม่มีตลาดก็ไม่ต้องใช้เงิน ไม่มีคมนาคมก็ไม่ได้ไปไหนไม่มีรายจ่าย ไม่มีโทรศัพท์ พฤจิกรรมมนุษย์ก็ดำเนินไปอีกแบบ ภาษาหรูหราแบบสมัยเราเขาเรียกว่า เรียบง่าย สงบสุข แท้ แต่ไม่นานจากนั้น ที่ดินทยอยหลุดมือ เกษตรกรไทยเริ่มเป็นหนี้ เพราะความไม่คุ้มทุน ราคาถูกำหนดจากพ่อค้าคนกลาง เกิดชนชั้นคหบดีตามชนบท ( เกือบ
100% เป็นคนจีน หรือเจ๊ก ที่ชาวบ้านเรียก) ปัญหาเกษตรกร ปัญหาที่ดิน เอกสารสิทธิ์ ปัญหาตลาด ทุน เทคโนโลยี วิทยาการมัยใหม่ ฯลฯ กลายเป็นปัญหาระดับชาติแต่นั้นมา

มีความพยายามดึง รูปแบบเก่าๆ มาใช้ ด้วยจินตภาพสวยหรู พออยู่พอกิน และเรียกชื่อใหม่ ว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นรูปแบบ เพื่อต่อสู้ กับทุนใหญ่ ในหลายาๆ ระดับ เพื่อหนีออกจากกับดักของตลาด ทุน และภาวะความเหยื่อของธุรกิจเกษตร ที่มีทุนใหญ่ผูกขาด ทั้งเครื่องจักร เมล็ดพันธุ์ ยา ปุ๋ย และทุน ซึ่งสวนทางและย้อนแย้ง กับกระแส หรือ ทิศทางโลก และความเป็นจริง แต่
20 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐ กลับเลือกที่จะดันรูปแบบนี้ ไปให้ได้ ผ่านการถลุงงบประมาณ มหาศาลทุกๆปี

พออยู่ พอกิน พอเพียง ซึ่งเป็นไปได้อย่างไร เพราะพฤติกรรมการดรงอยู่ของมนุษยชาติ เวลานี้ ตั้งแต่ตื่นนอนจนล้มลงตัวลงนอน มีต้นทุน หลับแล้วก็ยังมีรายจ่าย ผ่านแอร์ พัดลม ไฟหน้าบ้าน ตู้เย็น สัญญาณไวไฟ อินเตอเน็ต  ( หมายถึงค่าไฟ ค่าเน็ต) อาบน้ำ แปรงฟัน สวมเสื้อผ้า กินอาหาร ออกไปทำงาน ไปโรงเรียน ฯลฯ ล้วนแต่มีรายจ่าย

 

10 กว่าปีที่ผมกลับมาทำเกษตร ผมวิเคราะห์ทบทวน ไม่ใช่แค่รูปแบบการเกษตร แต่หมายถึง รูปแบบชีวิต การดำรงชีพ กิน นอน ทั้งหมดต้นทุน ชีวิตเท่าไหร่  เอาที่จำเป็น ที่ชีวิตขาดไม่ได้ แล้วรายได้เราเท่าไหร่ ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี คำนวนออกมาสรุปรวบยอด เทียบกับรายได้ ภาคเกษตร ที่ทำๆกัน หลายครอบครัว อยู่ได้เพราะลูกๆ ส่งเงินมาให้ทำนา หรือ มีรายได้หลายทาง จากสวนยางพารา จากมันสำปะหลัง จากอ้อย และหมุนระบบเงินผ่าน ธกส. แต่เกษตรกรที่แกร่งขนาดนั้น ต้องทำงานหนักมาก มากเกินธรรมชาติมนุษย์ที่ควรจะเกิน อาทิ กลางคืนกรีดยาง กลางวันรับจ้าง นาก็ทำ มันก็ปลูก !!

ผมผันมาทดลองทิศทางใหม่ คือ แปรรูปเพราะภาคเกษตรไทย เป็นภาคเกษตรผูกขาด มีแต่พืชหลัก ที่มีตลาด นอกนั้น วังเวงมาก และราชการ ก็จมปลักสนใจแต่เรื่องดันโครงการที่ผูกโยงกับสถาบัน อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ โคกหนองนา  ตลาด OTOP กลายเป็นพื้นที่ของขาประจำ หน้าเดิม ( ถ้าเป็นสุรินทร์ ก็ผ้าไหมๆๆๆๆ  และข้าวหอม ที่ยึดตลาด ครองงบประมาณจังหวัด)

 

การมาเป็นผู้ประกอบการ หรือ ทำแปรรูป ทำกิจการค้าขาย ทำให้ค้นพบ ข้อดีอย่างหนึ่ง คือ เราต้องมีวินัยทางการเงิน สูงมาก คนที่จะประคับประคอง ( อย่าเรียกว่าประสบความสำเร็จเลย) ธุรกิจตนเองได้ ต้องคิดการ วางแผน และเข้มแข็งในการรักษาเงิน หรือ ทุน ในมือ ไตร่ตรอง มองโอกาส มองตลาด และ ที่สำคัญ ต้องอดทนมากๆ เพื่อพิสูจน์ตัวเองกับผู้บริโภค หรือ การยอมรับจากลูกค้า

 

ผมว่า ถ้าประเทศนี้อยากจะมามั่งคั่ง กะเขาบ้าง เลิกเอาเงินงบประมาณไปถลุงสร้างนิยายปรัมปรา จำพวกพอเพียง  สร้างคนรุ่นใหม่ที่ ไร้วินัยทางการเงิน เดี๋ยวนี้แม้แต่ลูกหลานชชาวบ้าน เกษตรกร ก้ไม่เอาชีวิตที่กรากรำ ไม่ทำ ไม่ย่ำดินสู้แดดแล้ว กลายเป็นแค่นักเสพสุข นักบริโภค ติดสบายและฟุ่มเฟือย กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอ ไร้ภูมิต้านทาน ประเทศนี้ต้องทุ่มศักยภาพ ทั้งหมด สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นพ่อค้าแม่ค้า ให้สนใจทำธุรกิจ และเป็นผู้นำให้ตัวเอง

 

ประเทศนี้ ต้องปรับทัศนคติข้าราชการใหม่ ทั้งหมด รื้อทั้งโครงการ มีประสิทธิภาพ  ทำงานแบบมองกระแสโลก มองความจริง ไม่ใช่การไปเป็น ข้ารับใช้ หรือ ถวายใคร  ไม่เสพสุขกับตำแหน่ง เงินเดือน สวัสดิการ แต่ผลงานด้อยคุณภาพ หรือ ใช้งานไม่ได้จริง  เพราะความอยู่รอดของประเทศ นี้ คือ ศักยภาพของคนที่จะทำการผลิตและการค้า เท่านั้น ซึ่งหมายถึง ปริมาณภาษี ที่จะหล่อเลี้ยงระบบคืน

พูดกันตรงๆ วินัยเรื่องการเงิน คือหัวใจมากๆ ของเศรษฐกิจและ ทางรอด ทางเดียวของประเทศนี้ .... ครับ

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112