ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

แถลงการณ์แอมเนสตี้เรียกร้องไทยปล่อยตัวผู้วิจารณ์อย่างสงบและลดความตึงเครียดท่ามกลางการประท้วงอย่างต่อเนื่องรอบใหม่

( ขอบคุณภาพ จาก The Esaan Record )   

  • เกือบหนึ่งปีหลังประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ประท้วงหลายร้อยคนรวมทั้งเยาวชน 13 คน ถูกดำเนินคดีอาญา ในขณะที่แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดียังถูกควบคุมตัวต่อไป  
  • ประชาชน 61 คน ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์  
  • คาดว่าจะมีการประท้วงครั้งใหญ่ในวันนี้  

 

แถลงการณ์แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า ในขณะที่การประท้วงในประเทศไทยเริ่มเข้มข้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทางการต้องลดแนวทางตอบโต้ที่รุนแรงอย่างเร่งด่วน และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุมโดย  

ผู้ชุมนุมโดยสงบหลายร้อยคนรวมทั้งเยาวชน ถูกดำเนินคดีอาญา และหลายคนถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และคาดว่าจะมีการประท้วงครั้งใหญ่อีกครั้งในวันเสาร์ที่ มีนาคม 2564 

การกลับมาประท้วงใหญ่เริ่มขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้ทางการใช้กำลังจนเกินขอบเขตเพื่อตอบโต้ รวมทั้งการใช้อาวุธที่เสี่ยงน้อยกว่าที่จะทำให้เสียชีวิต อย่างเช่น กระสุนยาง ไม้กระบอง แก๊สน้ำตา และการฉีดน้ำแรงดันสูงที่เจือด้วยสารเคมีสร้างความระคายเคือง 

เอ็มเมอร์ลีน จิล รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว การใช้วิธีข่มขู่อย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งของทางการไทย เป็นการโจมตีอย่างชัดเจนต่อสิทธิของประชาชนในการแสดงความเห็นและการประท้วงอย่างสงบ เกือบหนึ่งปีหลังจากรัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับการประท้วงอย่างสงบที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ทำให้เกิดสภาพที่น่าหวาดหวั่นอย่างยิ่ง กล่าวคือมีบุคคล 383 คนที่ถูกดำเนินคดีอาญาแบบจงใจใส่ความ รวมทั้งเยาวชน 13 คน เพียงเพราะการชุมนุมและแสดงความเห็น  

"ทางการไทยใช้เวลาทั้งปีที่ผ่านมากับปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบใหม่ เพื่อปราบปรามประชาชนที่เพียงต้องการแสดงความเห็นของตนอย่างสงบ เรายังคงกระตุ้นทางการให้ทบทวนแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ และให้หาทางคลี่คลายสถานการณ์ตามแนวทางที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง”   

เป็นเรื่องน่าตกใจที่ทางการปฏิเสธอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ประกันตัวผู้ประท้วงอย่างสงบที่เป็นแกนนำ พวกเขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ กุมภาพันธ์ 2564 หลังจากถูกดำเนินคดีในหลายข้อหาเพียงเพราะแสดงความเห็นของตน”  

ทางการต้องยกเลิกข้อหาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองกับผู้ประท้วงอย่างสงบโดยทันที รวมทั้งผู้ประท้วงที่เป็นเยาวชน ต้องมีการปล่อยตัวผู้ประท้วงอย่างสงบและแกนนำที่ยังถูกควบคุมตัวทุกคน ให้สอบสวนกรณีที่มีการใช้กำลังอย่างไม่จำเป็นและ เกินขอบเขต บ่อยครั้ง และประกันว่าจะมีการควบคุมดูแลการประท้วงเหล่านี้ สอดคล้องตามมาตรฐานระหว่างประเทศ” เอ็มเมอร์ลีน จิล กล่าว  

 

การตอบโต้ที่รุนแรงต่อการชุมนุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เกิดข้อกังวลร้ายแรง  

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำแรงดันสูง ใช้ไม้ประบอง ยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางต่อผู้ชุมนุมหลายร้อยคนที่เดินขบวนไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านพักในกรุงเทพฯ ของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รายงาน ตัวเลขอย่างเป็นทางการของผู้ได้รับบาดเจ็บจากการประท้วง 33 คน (เจ้าหน้าที่ 23 คน และผู้ประท้วง 10 คน) ในขณะที่ผู้ประท้วงกว่า 100 คนให้ข้อมูลว่าได้รับบาดเจ็บ  

มีรายงานว่า มีผู้ถูกจับทั้งหมด 23 คน รวมทั้งเยาวชนสี่คนอายุ 15-16 ปี และอีกสี่คนอายุ 18 ปี บางส่วนถูกควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี  

จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกควบคุมตัวในสถานที่แห่งนี้อย่างน้อย 130 คน โดยยังไม่มีการตั้งข้อหาหรือเข้ารับการพิจารณาจากศาลระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564 ตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  

 

แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งยังมีการตั้งข้อหาเพิ่ม  

นับแต่ประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาแบบที่จงใจใส่ความ เนื่องจากมีส่วนร่วมในการชุมนุมโดยสงบที่เพิ่มขึ้นอย่างมากตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา  

ประชาชนกว่า 380 คนที่ถูกควบคุมตัว ถูกดำเนินคดีในข้อหาที่มักใช้เพื่อเอาผิดทางอาญากับการชุมนุมโดยสงบ รวมทั้งข้อหายุยงปลุกปั่น และการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 215 ตามลำดับ) และการละเมิดข้อห้ามของการชุมนุม ตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ  

นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการประกาศว่าจะรื้อฟื้นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหานี้ 61 คนตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พวกเขาอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปีสำหรับข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์   

นักกิจกรรมประชาธิปไตยรวมทั้งอานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังคงถูกควบคุมตัวในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ จากการเข้าร่วมการชุมนุมสองครั้งในปี 2563 ศาลไม่ให้ประกันตัวพวกเขานับจากถูกจับกุมเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 

 

ข้อมูลพื้นฐาน  

ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และมาตรฐานการใช้กำลังตำรวจควบคุมฝูงชน เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องหาทางหยุดยั้งและแยกตัวบุคคลที่กระทำความรุนแรงออกไป แต่ต้องไม่ไปขัดขวางบุคคลอื่นที่ยังต้องการชุมนุมโดยสงบต่อไป ตำรวจอาจใช้กำลังได้เป็นแนวทางสุดท้าย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด และเฉพาะเมื่อจำเป็นแก่การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง การใช้กำลังควรมุ่งที่การยุติความรุนแรง และให้ใช้ได้ในลักษณะที่จำกัดอย่างยิ่ง โดยมุ่งลดอาการบาดเจ็บและมุ่งรักษาสิทธิที่จะมีชีวิตรอด   

นับแต่การประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 26 มีนาคม 2563 เจ้าหน้าที่ยังคงควบคุมตัวบุคคลอย่างต่อเนื่อง และดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่มีส่วนร่วมในการชุมนุมและการจัดกิจกรรมโดยสงบ ผู้ชุมนุมให้ข้อมูลในหลายครั้งถึงเหตุการณ์คุกคามและข่มขู่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพียงเพราะพวกเขามีส่วนร่วมในการชุมนุมโดยสงบ รวมทั้งการชุมนุมโดยที่มีแกนนำนักศึกษา เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้ยุติการคุกคามของตำรวจ  

 
 

 

**********
 
เนาวรัตน์ เสือสอาด
หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร
Naowarat Suesa-ard
Media and Communications Supervisor