วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2563 ณ ห้องประชุมลูนาร์ ชั้น 10 โรงแรม อวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ (AVANI Riverside Bangkok)
โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ประเภทเยาวชนและบุคคลทั่วไป
นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น
ทั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม
ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้
รางวัลดีเด่นข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่
เว็บไซต์ 101.world
รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 1รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 3 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ประเภทเยาวชน 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ประเภทเยาวชน 4 รางวัล ได้แก่
ส่วนรางวัลป๊อปปูล่าโหวตในประเภทนี้ 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ประเภทบุคคลทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ประเภทบุคคลทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่
ส่วนรางวัลป๊อปปูล่าโหวตในประเภทนี้ 1 รางวัล ได้แก่
นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีเวทีเสวนาในหัวข้อ “บทบาทสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวการชุมนุม: ทบทวนบทเรียน ข้อท้าท้าย และมองไปข้างหน้าตลอดปี 2564” โดยมีตัวแทนนักวิชาการ องค์กรวิชาชีพ สื่อมวลชนและตัวแทนผู้จัดการชุมนุมมาร่วมพูดคุยด้วย
ในตอนท้ายนางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป
---
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เนาวรัตน์ เสือสอาด หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มือถือ 089 922 9585 หรืออีเมล media@amnesty.or.th