Back

ไวน์กับการเมือง

2 March 2021

1364

ไวน์กับการเมือง

ตอนสมัยร่ำเรียนก็มักจะมีคนบอกเราว่า “ยังเรียนอยู่ก็เรียนไป ยุ่งอะไรกับการเมือง” พอมาทำงาน เป็นนักพัฒนา  ก็มีคนบอกอีกว่า “เป้าหมาย เราคือชาวบ้าน เรื่องการเมือง ไม่ควรแสดงออกมาก” ก็เข้าใจได้ พอหันมาเป็นเกษตรกร ก็เตือนอีกว่า “เรามันแค่ชาวบ้านจะทำอะไรได้ มีหน้าที่เพาะปลูกก็ทำไป ทำตัวเองให้รอด สำคัญกว่า”  ก็มีเหตุผล พอมาทำไวน์ มาแปรรูป มาเป็นพ่อค้า ก็บอกอีกว่า “เราคนทำมาค้าขาย ไปวุ่นวายกับการเมืองมากไม่ดี”  สรุปแล้ว วัยไหนๆ อาชีพอะไรก็ไม่ควรยุ่งการเมือง ซะงั้น

ไปสัมพันธ์กับราชการ ราชการก็ไม่เอา ปกครองก็ไม่ชอบ จังหวัดก็ไม่มา ส่วนกลางก็ไม่ให้ ท้องถิ่นก็ไม่สน ยิ่งวิจารณ์ยิ่งถอยห่าง ยิ่งพูดยิ่งหดหายตัวตน รวมๆลามๆ ไปจนถึง เพื่อนไม่รับ ชาวบ้านไม่ร่วม ก็ก้มหน้าก้มตา สงบปากสงบคำ คิดเห็นไม่ได้แสดงออกไม่ดี อยู่กันอย่างนี้

คนที่คอยเกาะเกี่ยว วิ่งตามทำร่วมก็จะเป็นหน้าเดิม ๆ
 หลายปีที่เห็นมา จากคนรอบตัว ในหมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ก็จะประมาณนี้ คนที่ได้ที่ถึง ทั้งโอกาสและสิ่งต่างๆ ก็จะน่าเดิม ๆ คนที่ให้ ที่มอบ ก็เช่นกัน

 

เราอยู่ประเทศแบบนี้ ในระบบแบบนี้ ในวัฒนธรรมแบบนี้  ในสังคมชุมชนแบบนี้ ตลอดกาลที่ผ่านมาและก็น่าจะตลอดไป ผมมักพูดบ่อยๆ ว่า เดี๋ยวนี้ แค่ความกล้าหาญเล็กๆน้อยๆ ก็ทำไม่ได้แล้ว แค่พูดเรื่อง ความไม่ถูกต้อง ความไม่เป็นธรรม อาทิ จากการพิจารณาหยิบยื่นโอกาส จากรัฐหรือราชการ ยังไม่เท่าเทียมเลย ในทุกวัน เรายังเห็น คนกลุ่มหนึ่งก็ตักเอาๆ ตวงเอาๆ แล้วก็อวดหรา ถึงความสำเร็จ หรือ ประโยชน์ที่ตัวเอง ชื่นมื่นกันทั้งคนรับ คนให้

รัฐที่ถูกต้อง รัฐที่พยายามจะเป็นรัฐสมัยใหม่  ควรจะสนใจ กลุ่มประชาชนที่มีศักยภาพในการชำระภาษี หรือ มีแนวทางที่เป็นไปได้ หมายถึง กลุ่มผู้ประชาชน กลุ่มประชาชนที่ทำธุรกิจการค้า การผลิต จริงจัง สร้างเงิน สร้างงานให้ชุมชน หรือ สร้างโอกาส ที่เรียกว่า ไปสู่อนาคตที่ดี แต่เท่าที่เห็น รัฐหรือราชการ กลับสนใจกลุ่มคนที่รอเกาะเกี่ยว ตักตวงโอกาส สนใจกลุ่มคนที่แอบอิง พึ่งพิงตลอดกาล แบบยากที่จะเข้มแข็ง เป็นองคาพยพคอยเป็นฉากสวยๆ ในการถ่ายรูป ทำรายงานผลการปฏิบัติการ ส่งให้ส่วนกลาง

ผมไม่ได้นึกตำหนิ กลุ่มชาวบ้านหรือประชาชน ที่เป็นเช่นนั้น เพราะธรรมชาติคน ที่ไหนมีบ่อน้ำทิพย์ ก็อยากแวดล้อม ใกล้ชิด พึ่งพิง และมุ่งมั่นปักหลักถาวร แต่ผม ละเหี่ยใจ กับระบบแบบนี้ ระบบที่ยากจะพัฒนาให้ เข้มแข็ง และยืนอยู่ได้ จริงๆจังๆ

 

เกษตรกร หรือ ผู้ประกอบการ ต่างๆ ที่ยืนหยัดอยู่ได้ ส่วนมาก เพราะความพยายามของตัวเอง และก็เป็นกลุ่มกัน คือถูกทอดทิ้งจากการสนับสนุนของภาครัฐ หรือราชการ นี่แหละที่ผม มีคำถามและสงสัย มาตลอด ว่า ทำไม ?

ถ้าการเมืองเราดี เข้มแข็ง โปร่งใส และเป็นประชาธิปไตย จริงๆ ถ้าสังคมเรา เป็นสังคมเช่นนั้นด้วย จำพวก ความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มหน้าเดิมๆ ที่ยืนแฉล้ม ปรากฏตัวตามงานอีเว้น ราชการ หรือกิจกรรมของรัฐ อาทิ โอท็อป ททท. บิซคลับ งานแฟร์จังหวัด ไปจนงานอบรม สร้างทักษะ ดูงานของมหาวิทยาลัย ต่างๆ สิ่งที่เห็นจนชาชินแบบนี้ ก็หนีไม่พ้นคำถาม ว่า ความสัมพันธ์แบบใดที่รักษาระบบ เอื้อประโยชน์หน้าเดิมๆ กลุ่มเดิมๆ ไว้ได้ยาวนานขนาดนี้

จังหวัดสุรินทร์ จึงยังเป็นตังหวัดที่หล้าหลัง เชื่องช้าและสิ้นหวังมากๆ กลุ่มคนหน้าเดิมๆ วิธีคิดเดิมๆ หน่วยงานเดิมๆ รูปแบบเดิมๆ ยังปรากฏและดำเนินกิจกรรมนั้นอยู่ พูดจากันแค่เพียงรักษา ภาพลักษณ์และโอ้โลมปฏิโลมกันไว้อย่างนั้น ปรุงแต่งแค่พอให้มี ภาพถ่ายสวยๆ องค์ประกอบหรูหรา แล้วก็ผ่านไป ปีๆ เปลี่ยนแปลงแค่ชื่องาน ที่ทำท่าเหมือนเกาะเกี่ยวกับโลกภายนอก กับกระแสตลาด

 

ในความเท็จจริง คนที่สู้และแทรกตัวได้ในตลาดได้จริงๆ  กลับไม่มีโอกาสแบบนั้น

เรื่องของคนทำไวน์ หรือ คนทำสินค้า ที่อยู่นอกจินตนาการภาครัฐ หรือ นอกแผนงานราชการ แผนที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีทางนโยบาย เป็นจารีตทางราชการ จึงเป็นพวกตกหล่น ไม่ว่าส่วนกลาง( รัฐบาล) จะเขียนแผนและนโยบาย มาว่าอย่างไร อาทิ ให้สนับสนุนเกษตรกรแปรรูป สร้างผลผลิต ทำแพ็คเกจ รุกตลาด ( นโยบายนี้ เป็นนโยบายเกือบทุกรัฐบาล) ไม่ว่าจะเขียนมา อย่างไร จังหวัดสุรินทร์ ก็ไปลง กลุ่มเดิม อาทิ ผ้าไหม ข้าวหอม ลงหมู่บ้านเดิม ลงกลุ่มเดิม อำเภอเดิม และมาจากหน่วยงานเดิมๆ เปลี่ยนแปลง แค่คนที่ลงมาถ่ายรูป กับชื่องาน

 

เราอาจจะไม่ถูกรัก จากภาครัฐ แต่เราเสียภาษี จริงๆ ตามหลักคิดของรัฐสมัยใหม่ คนที่มีศักยภาพ หรือคนที่มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในการยืนหยัดตัวเองทางธุรกิจ คือ กลุ่มแรกที่รัฐจะต้องรีบยื่นมือมาช่วย คนที่เข้มแข็งต้องถูกดูแล เพื่อให้สามารถหามาเลี้ยงคนที่อ่อนแอ แต่ประเทศนี้ ระบบที่นี่กลับ เอามาประเคนคนป่วย และพวกงอมือรอของฟรี!! 

 

คนทำงาน คนทำการผลิต คนทำการค้า สร้างเศรษฐกิจ รายได้ คนที่มีศักยภาพทำให้เศรษฐกิจของประเทศนี้ ขยับเขยื้อน ซึ่งกลั่นกลายมาเป็นภาษี ดูแลคนอื่นๆ จะต้องได้รับโอกาสก่อนและเงื่อนไขใดๆ ข้อจำกัดต่างๆ ทั้งทางนโยบาย กฎหมายจะต้องถูกแก้ไขในทันที และข้าราชการ มีหน้าที่สอดส่อง ยื่นมือช่วยเหลือ สนับสนุนในทุกทางและทั่วถึง นี่แหละที่ว่า ทำไมผมโกรธให้การทำงานของจังหวัดและหน่วยงานสำคัญๆ

มีคนมักเตือนผมว่า ทำไวน์ ขายของก็ดีแล้ว อย่าไปยุ่งกับการเมืองเลย ผมได้แต่อึ้งๆ เพราะความรู้สึกผม เวลาได้เห็น ได้ยิน เสียงเดิม ภาพเดิม หน้าเดิมๆ ยืนแฉล้ม เรียงหน้ากับหน่วยงานต่างๆ ผมได้แต่จี๊ด... การเมืองของผม คือ การกะเทาะวิธีคิด กะเทาะความสัมพันธ์ และจารีตประเพณีการบริหาร ทรัพยากรประเทศชาติแบบนี้แหละ

เพราะคนที่ลำบาก อันมาจากความหล้าหลังของประเทศนี้ มีผมอยู่ในนั้นด้วย....

 

 

จาก เกษตรกรขบถ แห่ง ไร่ทวนลม

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112