ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

ดร.มังโสด เตรียมบุกทำเนียบหากธรรมนัสผิดสัญญาลูกผู้ชาย พร้อมตั้งข้อสังเกตหลังคณะอนุกรรมการนายประสาน กล่าวกับที่ประชุมว่า “เนื่องจากจะเมืองอุตสาหกรรม ถูกนำไปเป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่มีต่อรัฐบาลในวันที่ 16 ก.พ.นี้..”

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 

Shukur2003@yahoo.co.uk 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

16 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.มังโสด หมะเต๊ะที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา ได้เปิดต่อผู้เขียนว่า “เขาและคณะพร้อมขึ้นไปกรุงเทพมหานครเพื่อประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่าเบี้ยวสัญญาลูกผู้ชายไม่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ภาคประชาชนร่วมอยู่ด้วยซึ่งได้สัญญาตอนที่ท่านนำคณะชุดใหญ่ลงพื้นที่จะนะเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 “

ท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “วันที่ 27 มกราคม 2564 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เซ็นต์ (ลงนาม) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ตามที่กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกโครงการเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา ระหว่างเมื่อวันที่ 10 - 15 ธันวาคม 2563 ได้ทำข้อตกลงไว้กับรัฐบาล โดยรองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ ซึ่งได้ยอมรับข้อเสนอของเครือข่ายฯ ที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. พร้อมกับให้ยุติการดำเนินการใดในโครงการนี้เอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการเปลี่ยนสีผังเมืองในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 16,700 ไร่ รวมทั้งการยุติการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA. ทั้ง 4 ฉบับ ที่บริษัท TPIPP. IRPC. ในฐานะผู้จะเข้ามาลงทุนทำนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แห่งนี้ กำลังจะดำเนินการในเดือนมกราคม 2564 เอาไว้ก่อน หลังจากนั้นได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมคนที่ 2 ลงมาตรวจสอบพื้นที่จริงในอำเภอจะนะทั้ง 3 ตำบลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งได้ทำให้รัฐบาลได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายมิติ ภายใต้การดำเนินงานในโครงการนี้ของ ศอ.บต. และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อเรียกร้องของประชาชน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่ดังนี้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน (ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการตำแหน่งปลัดกระทรวงของกระทรวงต่าง ดังนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และยังประกอบด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการตำรวจภาค 9 โดยมีรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคำสั่งนี้ให้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการขยายโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ให้ศึกษาและทวนปัญหารวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้รายงานผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี เชิญผู้แทนส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐและบุคคลเข้าร่วมประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงให้ข้อมูลรวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการต่อไป ซึ่งตอนแรกเรามองว่า

 

เป็นความก้าวหน้าอีกขั้น ในการที่จะให้ร้อยเอกธรรมนัส มีอำนาจทางกฎหมายแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ท่านเคยสัญญาตอนที่ท่านลงมาจะนะ และมีหลายภาคส่วนพยายามดิสเครดิตท่านว่า ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง และพยายามแย่งซีนแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการนี้แทนเพื่อสะดวกในการควบคุมและสามารถปกปิดความผิดพลาดองค์กรตน ซึ่งพวกเราคาดหวังว่าการดำเนินงานของกลไกนี้ต้องตรงไปตรงมา หลังจากนั้นท่านได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริง แต่มีแต่ส่วนราชการตามที่เห็นในหน้าสื่อและลงมาจะนะเพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีแค่สองวัน มีนัยยะอะไรทางการเมือง? ซึ่งพวกเราจึงมี(สิทธิ)กังวล ตั้งข้อสังเกตและสงสัยว่าคณะอนุกรรมการฯ ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับพวกเรา (ซึ่งได้มีการส่งรายชื่อและกำกับบทบาทหน้าที่ไปด้วยแล้ว) นั้น ยังจะมีการแต่งตั้งด้วยหรือไม่อย่างไร ? เราอยากให้ทุกเปิดเผยบนโต๊ะทุกคนมีส่วนร่วมโปร่งใสเป็นธรรมและตรวจสอบได้ดังนั้นเราจึงเสนอว่า ต้องทำการศึกษาผลกระทบทางยุทธศาสตร์ หรือ SEA. โดยมีคณะนักวิชาการที่มีความเข้าใจในมิติด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตและด้านสันติวิธี (แก้ไขปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้) เพื่อใช้หลักวิชาการในการตัดสินใจต่อโครงการนี้”

ท่านกล่าวทิ้งท้ายโดยส่งเสียงดังๆอีกครั้งว่า “เขาและคณะพร้อมขึ้นไปกรุงเทพมหานครเพื่อประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่าเบี้ยวสัญญาลูกผู้ชายไม่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ภาคประชาชนร่วมอยู่ด้วย”

อนึ่งนาย ประสาน หวังรัตนปราณี ผช.รมต.ประจำ พลเอกประวิตร   วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะตั้งคณะอนุกรรมการที่ได้สัญญาว่าแน่นอนหลังจากชุดนี้ซึ่งทีภารกิจทางกฎหมายเป็นหลักเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินการขยายผลโครงการและท่านกล่าวโดยสรุป

 

“การเดินทางมารับฟังข้อเท็จจริงครั้งนี้ เนื่องจากโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 หรือ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ถูกนำไปเป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่มีต่อรัฐบาลในวันที่ 16 ก.พ.นี้...วันนี้ ผมมาประชุมกับ จนท. ส่วนราชการต่างๆ  เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบ  แต่มีคนสั่งการ ไม่ให้เอกสาร  แก่คณะอนุกรรมการ  แต่มาวันนี้ เราได้เอกสารมาเกือบครบ แล้ว เพราะจะเร่งสรุปผล ... ตนขอเตือนไว้ก่อนว่า ตนทำงานตรงไปตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าใคร ต่อให้คนเป็นนายสั่ง ถ้าไม่ถูกต้อง ตนจะไม่ทำ ถ้าจะถูกไล่ออกก็ยอม และขอเตือนว่าเรื่องนี้ไม่ได้จบที่ ครม. ตนจะดำเนินการไปถึง ปปช. สำหรับคนที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง นายประสาน ได้กล่าวย้ำในเรื่องจะเอาผิดกับหน่วยงานในพื้นที่ถึง 3-4 ครั้ง ต่อหน่วยงานที่เข้าไปรับฟังและชี้แจงในสิ่งที่ คณะอนุกรรมการฯ ต้องการรับทราบ

 

โดยคณะอนุกรรมการเราได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงประเด็นหนึ่งของการเปลี่ยนผังเมืองเพื่ออุตสาหกรรมจากโยธาธิการจังหวัดว่าทำตามกฎหมายถูกต้องหรือไม่ ซึ่งโยธาธิการจังหวัดได้ชี้แจ้งรายละเอียดว่า ปฏิบัติตาม พรบ.ผังเมือง มาตราที่ 35 ที่มีการแก้ไขใหม่ ลดขั้นตอนจาก 18 ข้อเหลือเพียง 8 ข้อ ขณะนี้ทำถึงข้อที่ 3 คือส่งเรื่องให้คณะกรรมการผังเมืองของประชาชน และการแก้ไขผังเมืองตามความร้องขอของ ศอ.บต. เป็นการร้องขอตาม มาตราที่ 35 ซึ่งเป็นตามกฎหมายทั้งสิ้น โดยนายประสาน ได้ถามว่ามีเอกสารตามคำร้องขอของ ศอ.บต. หรือไม่ และให้ส่งให้คณะอนุกรรมมาธิการด้วย

สองประเด็นที่ดินที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องการออกโฉนดที่ดิน 70 ไร่ให้กับบริษัท ทีพีไอโพลีนซึ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น นส.3 ก. ที่ออกถูกต้องหรือไม่?”