Back

“สกายวอล์คฯ อัยเยอร์เวง”นักท่องเที่ยวมากที่สุดหลังไฟใต้ 16 ปี

22 December 2020

4719

“สกายวอล์คฯ อัยเยอร์เวง”นักท่องเที่ยวมากที่สุดหลังไฟใต้ 16 ปี

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 

รายงานจากพื้นที่

 

Shukur2003@yahoo.co.uk 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

 

17 พฤศจิกายน 2563 ผู้เขียนได้พาครอบครัวไปชมความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์(พระเจ้า)สัมผัสทะเลหมอก หลัง “สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” แลนด์มาร์คใหม่ อ.เบตง จ.ยะลา สร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้ขึ้นชมทะเลหมอกอย่างไม่เป็นทางการฟรี ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา

เวลา 4.30 น.ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ผู้เขียนและครอบครัว ออกจากที่พัก 34 โฮมสเตย์ ตั้งออยู่กี่โลเมตร ที่ 34 ก่อนทางขึ้นไปชมทะเลหมอก ประมาณ 1 กิโลเมตร ขับรถจากตีนเขาถึงที่หมายทางคดเคี้ยวประมาณ 10 กิโลเมตร ถนนโล่งมากๆแต่พอไปถึงที่หมายปรากฎว่ามีนักท่องเที่ยวทั้งคนในพื้นที่และต่างพื้นที่เดินทางมาเฝ้ารอขึ้นสกายวอล์คฯ อัยเยอร์เวง กันเป็นจำนวนมาก มีรถจำนวนมากทั้งมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ทั้งรถส่วนตัวและรับจ้างเต็มไปหมด

หลังจากนั้นรอคิวละหมาดเพราะสถานที่ละหมาดคับแคบจุคนได้ครั้งละ 10-15 คน แบ่งเป็นสองฝั่ง หลังจากนั้นยืนรอคิวเข้าห้องน้ำมีเพียงสองห้อง เสร็จภารกิจก็ขึ้นรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 20 บาทต่อคน โดยไม่มีหมวกกันน็อกทั้งคนขับและคนซ้อนท้ายขับกันสวนไปสวนมาใครนึกจะเเซงก็ได้ ผ่านทางลาดชัน จนถึงจุดจะขึ้นไปสกายวอล์คฯ ปรากฎว่า มีนักท่องเที่ยวต่อแถวเข้าคิวรอขึ้นสกายวอล์คฯ อัยเยอร์เวง กันยาวเหยียดมีทั้งคนชรา วัยรุ่น สตรี เด็กและทารก เดินขึ้นอย่างเนื่องเน้น ซึ่งอาจจะเกิดอะไรที่ไม่คาดฝันด้านสุขภาพและความปลอดภัยได้ พอถึงจุดชมวิว และทะเลหมอกยังขาดมัคคุเทศก์ที่จะคอยแนะนำให้ความรู้มีเพียงเจ้าหน้าที่สามสี่คนที่คอยระเบียบการเข้าชม 

จากรายงานข่าว แจ้งว่า ยอดนักท่องเที่ยววันนี้(17 พฤศจิกายน) 3,000 คน และช่วงวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2563 ยอดเฉลี่ยประมาณ วันละ 10,000 คนทำลายสถิตินักท่องเที่ยวช่วงไฟใต้ 16 ปีก็ว่าได้(อาจจะเป็นเพราะรัฐปิดชดเชยยาว 4 วันและโรงเรียนปิดภาคเรียนด้วย)

สำหรับเส้นทางขึ้นลงของรถ ตั้งแต่ตีนเขาถึงจุดชมวิวที่หมายแม้จะกว้างเก่ามากแต่ยังมิได้มาตรฐานสากล

 

ดังนั้นสิ่งที่จะต้องปรับปรุงในเรื่องข้อบกพร่องเพื่อสู่มาตรฐานสากลก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นกำลังใจอบต.อัยเยอร์เวง ศอ.บต.และทุกภาคส่วนในโครงการครั้งนี้

ความท้าทายต่อไปจะทำอย่างไรให้มีความยั่งยืนและประโยชน์กลับสู่ชุมชน

อย่างไรก็แล้วแต่อันเนื่องมาจากสถาการณ์โควิด เมืองท่องเที่ยวต่างๆไม่ว่าภูเก็ต กระบี่ เกาะสมุยและที่อื่นๆกำลังเจอวิกฤตน่าจะเป็นบทเรียนว่า การท่องเที่ยวที่เอื้อต่อนายทุนให้คนนอกพื้นที่ไม่ว่าไทยหรือต่างชาติ ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นนำ้และกลางนำ้จะไม่ ยั่งยืน จึงขอฝากให้ที่นี่ว่าจะทำอย่างไรให้คนพื้นที่ร่วมด้วยช่วยกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางนำ้และปลายน้ำซึ่งมีข้อเสนอแนะทางวิชาการยืนยัน เพื่อจะช่วยยกระดับให้การท่องเที่ยวเกิดประโยชน์ต่อชุมชนเช่น 5 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้

 

 

 

1 .การพัฒนาคนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้สามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้

 

 

 

2 .การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้าใจตัวเองว่ามีดีอะไรและต่อยอดนำเสนอจาก

ทรัพยากรที่มี ไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ใช่อัตลักษณ์ของท้องถิ่น

 

 

 

3 .การตลาดที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อแสวงหาตลาดนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน และสร้างความสามารถในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยไม่เสียอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนั้น เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการนำเที่ยวให้นำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าเส้นทางการท่องเที่ยว

 

4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนทรัพยากร ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อทำงานเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็งได้ใน

ระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนของภาครัฐหรือภาคเอกชนเสมอไป

 

5 .การประเมินผลด้วยตัวชี้วัดความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์ ดังนั้นตัวชี้วัดความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงรายได้

ที่เพิ่มขึ้นหรือนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น แต่เป็นความอยู่ดีมีสุขในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนของเจ้าบ้านและผู้มาเยือนที่เท่าเทียม มีความสุขร่วมกัน

ช่วง 3 วันสองคืน 17-19 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งผู้เขียนได้สัมผัสด้วยตนเองพบว่า “ในภาพรวมแน่นอนสร้างบรรยากาศทางการท่องเที่ยวทั้งในและนอกเมืองเบตง” เพราะทำให้อาชีพอื่นๆขยายต่อเป็นลูกโซ่ ไม่ว่าอาหาร ที่พักและของที่ระลึกรวมทั้งที่ท่องเที่ยวอื่นๆเช่นสะพานแขวนไม้แตปูซู 

บ่อน้ำร้อน  สนามบิน  สวนดอกไม้  อุโมงค์ ประวัติศาสตร์ “อุโมงค์ปิยะมิตร” เขื่อน นำ้ตก

เมืองเบตงยามคำ่คืนและอื่นๆ ดังนั้นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว “สกายวอล์ค อัยเยอร์เวง กับที่อื่นๆเพื่อเศรษฐกิจถ้วนหน้าจึงเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่สำคัญ

เพราะโดยธรรมชาติไม่มีใครหรอกที่จะเที่ยว”สกายวอล์ค อัยเยอร์เวง”อย่างเดียว จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า “ความเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยว มี 4 -5 มิติ คือ (1) มิติด้านวิถีชีวิตชุมชน (2) มิติด้านวัฒนธรรม และศาสนา (3) มิติด้านประวัติศาสตร์ และ (4) มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ (5)พื้นที่และอื่นๆ

ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) มุ่งพัฒนากิจกรรมการท่องเท่ียวของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย บนพ้ืนฐานของทรัพยากรชุมชน และไม่ขัดกับจริต และ

วิถีชีวิตของคนในชุมชน 2) การจัดการท่องเท่ียวต้องสร้างประโยชน์ รายได้ และคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น

 

ของคนในท้องถิ่น ต้องมีการจัดระบบไม่ให้คนนอกเข้ามากอบโกยผลประโยชน์มากจนเกินไป และ 3) รัฐต้องมีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาการท่องเท่ียวอย่างเหมาะสม รวมทั้งพัฒนามัคคุเทศก์ที่สามารถสื่อสารภาษามลายูกลาง จีนกลางที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษเพราะเบตงมีชายแดนติดมาเลเซียและมีสนามบินนานาชาติรองรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศด้วย

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112