Back

: เครือข่ายทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจะเข้าพบ ผบ.ตร. เพื่อนำเสนอการแก้ปัญหาของทนายความในการปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกจับกุมเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง

7 November 2020

4364

: เครือข่ายทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจะเข้าพบ ผบ.ตร. เพื่อนำเสนอการแก้ปัญหาของทนายความในการปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกจับกุมเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง

สนส. 34/2563

    วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 

เรื่อง      การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมประชาธิปไตย

เรียน       ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

            สืบเนื่องจากการที่มีนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน และนักกิจกรรมประชาธิปไตย (“นักกิจกรรม”)  ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันต่างๆ ทางการเมือง นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้กล่าวหาและจับกุมคุมขังดำเนินคดีบุคคลดังกล่าวนับร้อยคน ในข้อหาต่างๆ รวมทั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น เครือข่ายองค์กรและทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ดังมีรายนามข้างท้ายนี้ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอเสนอความคิดเห็นต่อบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิบัติต่อนักกิจกรรมประชาธิปไตยดังกล่าวดังต่อไปนี้

  1. นักกิจกรรมมีและใช้สิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิในความเชื่อและความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออก และการชุมนุมสาธารณะ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และได้พยายามป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรงตลอดมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะกลไกของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่เพื่อการดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้มาตรการกล่าวหา ดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมในข้อหาต่างๆ ในลักษณะที่มุ่งที่จะขัดขวางไม่ให้นักกิจกรรมใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวจนถูกมองได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลเพื่อกลั่นแกล้งนักกิจกรรมที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม
  2. เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคน บางท้องที่หรือบางหน่วยงาน ได้กล่าวหาและดำเนินคดีนักกิจกรรมโดยมุ่งที่จะขัดขวางมิให้นักกิจกรรมที่ตกเป็นผู้ต้องหาสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมสาธารณะมากกว่าที่จะดำเนินคดีตามปกติด้วยความเป็นธรรม เช่น
    1. ตั้งข้อหาที่ร้ายแรง มีโทษสูงเกินกว่าพฤติกรรมที่อ้างว่ากระทำผิด เพื่อขอหมายจับจากศาล ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่สามารถออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาได้ คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปร่วมชุมนุมอีกทั้งๆ ที่การชุมนุมเป็นสิทธิอันชอบที่กระทำได้และศาลยังไม่เคยมีคำพิพากษาว่าการชุมนุมที่กล่าวหานั้นละเมิดต่อกฎหมาย แม้ศาลจะไม่อนุญาตให้ฝากขังหรือมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวเจ้าหน้าที่ตำรวจก็อายัดตัวไว้ดำเนินเนินคดีต่อๆ ไป ในลักษณะของการอายัดตัวซ้ำซาก รวมทั้งสร้างอุปสรรคและความยากลำบากให้แก่ผู้ต้องหา
    2. จับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) ปทุมธานี ซึ่งมิใช่ที่ทำการปกติของพนักงานสอบสวน ก่ออุปสรรคและความยกลำบากต่อญาติในการเยี่ยมผู้ต้องหาและการพบและปรึกษาทนายความ อาทิเช่น การให้ทนายความพบผู้ต้องหาหรือไม่เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ต้องหาและเป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกจำกัดให้ทนายความ 1 คน ต่อผู้ต้องหา 1 คนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ทนายความผู้ช่วยหรือผู้ช่วยทนายความร่วมในการพบและให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องหา ซึ่งถือเป็นการจำกัดการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ           อีกทั้งทนายความไม่สามารถนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น โทรศัพท์มือถือเข้าไปได้ ทำให้ทนายความไม่สามารถติดต่อบุคคลอื่นหรือรับหรือค้นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้ง การจำกัดระยะเวลาในการพบทนายความและการเยี่ยมโดยญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจโดยไม่สมควร
    3. การปฏิบัติต่อนักกิจกรรมที่เป็นผู้ต้องหา เนื่องจากดำเนินกิจกรรมเสมือนเป็นอาชญากรในคดีร้ายแรง ทั้งๆที่นักกิจกรรมเหล่านั้นตกเป็นผู้ต้องหา เนื่องจากกระทำกิจกรรมในทางการเมือง ไม่ได้ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่และไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี แม้ว่าในบางกรณีเจ้าหน้าที่ได้ใช้กำลังกระทำให้ผู้ต้องหาบางคนจนได้รับบาดเจ็บ
    4. บังคับใช้กฎหมายอย่างเลือกปฏิบัติ ในลักษณะสองมาตรฐาน โดยบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ต่อนักกิจกรรมอย่างเข้มงวดและเกินเลย แต่สำหรับฝ่ายตรงข้ามที่ต่อต้านนักกิจกรรมโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย เช่น การชุมนุมและการทำร้ายร่างกาย เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับละเลยไม่ดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดดังกล่าว
  3. เจ้าหน้าที่ตำรวจมีภารกิจในการรักษาความสงบสุขของสังคม แต่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคน บางท้องที่และบางหน่วยงาน ดังกล่าวในข้อ 2 ทำให้นักกิจกรรมและประชาชนเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีสองมาตรฐาน เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาลมากกว่าเป็นกลไกของกฎหมายและความยุติธรรม ซึ่งนอกจากจะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งขยายตัวมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน สตช. และกระบวนการยุติธรรม อันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อหลักนิติรัฐอย่างยิ่ง

ด้วยเหตุที่เรียนมาข้างต้น จึงเรียนมาเพื่อเรียกร้องให้ท่าน ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของ สตช. ได้พิจารณา ทบทวน และดำเนินการเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำต่อนักกิจกรรมทางการเมือง ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย นิติรัฐและนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะเป็นหนทางที่สำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ต่อไป 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

 

ขอแสดงความนับถือ

 

นางสาวคอรีเยาะ มานุแช

นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส)

 

รายชื่อองค์กรและเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

ศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

 

"""""""""""""""""""""""

HRLA 34/2563

    3 November 2020

 

Subject: The violation of laws and human rights during the legal actions taken against the pro-democracy students and activists 

Dear Commissioner General of the Royal Thai Police

            Since August 2020, school and university students, members of the public and pro-democracy activists (“activists”) have been organizing pollical activities, disseminating information, conducting public assemblies, making their criticisms and demanding the resignation of the government as well as proposing the reform of various political institutions. In response, the police have taken legal actions, made the arrests and held in custody hundreds of such protesters on various charges including among others the violation of the Emergency Decree on Government Administration in States of Emergency 2005. The undersigned organizations and networks of human rights lawyers are concerned about the unfolding situation, and would like to offer our recommendations as to the role of the Royal Thai Police concerning its response to the pro-democracy students and activists’ protests as follows;  

  1. The activists are entitled to and exercising their rights and freedoms, particularly their right to freedom of belief and political opinion, freedom of expression and freedom of public assembly based on the human rights provided for in international laws and the rights and freedoms prescribed in the Constitution. Efforts have been made to prevent and avoid violence. As a public authority, the police are duty bound to protect, uphold, and promote people’s rights and freedoms and should perform their duties as such. But in reality, the police have opted to take legal actions against the activists accusing them on various charges simply to stifle their exercise of the rights and freedoms until the police are viewed as a tool used by the government to harass the activists considered dissidents to therm. 

 

  1. Some police officers in certain jurisdictions or in certain units have accused and criminalized the activists simply to prevent the activists who have become alleged offenders from exercising their right to freedom of expression and public assembly rather than subjecting them to normal and fair legal actions. For example; 

 

    1. Pressing aggravated charges, not consistent with the nature of their offence against them and applying for arrest warrants from the Court, even though the police can simply summon them to hear the charges. By applying for the arrest warrants, the police claim it can prevent the alleged offenders from continuing to participate in a public assembly, even though it is a legitimate right to participate in a public assembly and until now the Court has yet to rule that any of such public assemblies are unlawful. Even though the Court dismisses the remand request and orders the temporary release of the alleged offenders, the police continue to execute arrest warrants from other cases to have them perpetually remanded in custody. Such rearrests are going on repeatedly and become an obstacle and burden for the alleged offenders. 

 

    1. After the arrests, the alleged offenders are often held in custody at the Border Patrol Police Region 1 in Pathumthani which is not a conventional detention facility used by the police. It becomes an obstacle to their relatives who want to visit them and the attorneys who should have access to the alleged offenders to give them legal assistance. For example, access to lawyer of the alleged offenders has been made an exception and the officers claim they have no authority to authorize such visits even though it is a legitimate right of the alleged offenders and it is incumbent on the officers to facilitate such private meeting between the alleged offenders and their lawyers. The officers instead restrict such access to just one lawyer and one alleged offender and paralegals, or assistant lawyers are barred from joining the visits. This is a restriction imposed on the performance of duties by the lawyers. Meanwhile, the lawyers are also prohibited from bringing inside the detention facility their devices or equipment useful for the performance of their duties including mobile phones. As a result, the lawyers are unable to contact other people or to receive or search for information concerning the performance of their duties. The duration of visit by the lawyers or the families or the alleged offenders’ trusted persons is also subjected to restriction.  

 

    1. The activists who have become alleged offenders as a result of their activism are being treated as heinous criminals even though such activists have been charged simply for conducting their political activities. They have never obstructed the performance of duties by the officers and have never made any attempt to abscond. In certain cases, the officers are found to have applied excessive force causing injuries among the alleged offenders. 

 

    1. The law has been enforced discriminately and with double standard. While the pro-democracy activists have to face strict enforcement of the law, their counter-protesters have been treated with leniency by the police even though the latter have adopted illegal approaches including conducing public assemblies and committing physical assault, 

 

  1. The police are obliged to work to maintain public order and peace. But some police officers in certain jurisdictions or in certain units in (2) have made the activists and members of the public complain about their double standard, their discrimination and a lack of fairness toward them. The police have been used as political tool by the government, rather functioning as a mechanism to ensure law enforcement and to serve justice. This has not just contributed to the exacerbation of the conflicts, it has made the public lose their trust in the Royal Thai Police and the justice process which shall have grave ramification on the rule of law. 

Given the above reasons, we seek your attention and urge that as the Supreme Commander of the Royal Thai Police, you should review and proceed to improve and rectify the performance of duties of the police as far as their treatment of the political activists is concerned to ensure compliance with international laws, the Constitution of the Kingdom of Thailand, the rule of law and human rights.  It shall be an important avenue through which an effective solution to unlock the pollical conflicts can be found. 

Please be informed. 

 

Yours sincerely,

 

Miss Koreeyor Manuchae

President of the Human Rights Lawyers Association (HRLA)

 

Organizations and networks of human rights lawyers

   Human Rights Lawyers Association (HRLA)

   Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) 

   Union for Civil Liberties (UCL)

   Communications Resource Center (CRC).

   Cross Cultural Foundation (CrCF)

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112