Back

ทัศนะจากนักวิชาการ “มุมมองรอบด้านต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ”

23 October 2020

2510

ทัศนะจากนักวิชาการ   “มุมมองรอบด้านต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ”

Quotes จากงานเสวนา “มุมมองรอบด้านต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ”

ทัศนะจากนักวิชาการ 10 ท่าน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

 

- “การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีความคล้ายคลึงกับการประกาศใช้กฎหมายมอบอำนาจ (The Enabling Act) ในยุคของ Adolf Hitler ซึ่งเปรียบเสมือนใบอนุญาตให้ฆ่า (License to kill) กฎหมายศอ.บต. ในกรณีนิคมฯ จะนะ = ใบอนุญาตให้สร้างความหายนะ (License to make the disaster)”

- “ตั้งแต่มีศอ.บต.มา ตำแหน่งเลขาธิการศอ.บต.บอกเราว่ายุคนี้เป็นยุคที่ทหารมีอำนาจและมีการครอบงำเชิงนโยบายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของสงขลา”

 “นิคมฯ จะนะบอกว่าจะนำเครื่องมือทางการตลาดมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขความล้มเหลวด้านเศรษฐกิจ แต่เอกสิทธิ์ทางด้านเศรษฐกิจต้องไม่ถูกให้คุณค่ามากกว่าคุณค่าอื่นๆ เช่น ความปลอดภัย พลังด้านวัฒนธรรมของชุมชน หรือคุณภาพของสิ่งแวดล้อม”

- “การพัฒนาอำเภอจะนะอาจนำไปสู่หายนะ หากขาดการปรึกษาหารือแบบประชาธิปไตย ศอ.บต. ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง หาไม่แล้วศอ.บต.ก็จะเป็นเครื่องมือของเผด็จการที่ทำลายชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรืออาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ”

 

- “การตัดสินใจเชิงนโยบายใหญ่ๆ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มักตัดสินใจก่อนแล้วค่อยมาถามทีหลัง เมื่อคำตอบถูกกำหนดมาแล้ว กระบวนการและวิธีการก็ต้องไปทางนั้น กรณีจะนะก็เช่นกันคือมีมติครม. มาก่อน พร้อมเลือกวิธีการมาแล้วว่าเพื่อเป้าหมายความเจริญทางเศรษฐกิจหรือจะแก้ปัญหาเชิงพื้นที่โดยใช้อุตสาหกรรม”

- “Feasibility Study ของศอ.บต. ในทางวิชาการค่อนข้างมีปัญหา ข้อมูลไม่แน่น และรายละเอียดหลายอย่างมีข้อกังขา ใช้ตรรกะวิบัติ คือยกเหตุผลข้างๆ คูๆ ที่อาจนำไปสู่ปัญหาได้ เช่น อ้างว่าจะนะยังไม่มีนิคมฯ จึงควรต้องมี ถ้าใช้ตรรกะนี้หมายความว่าที่ไหนยังไม่มีนิคมฯ ก็ตั้งได้เลย ซึ่งจะสร้างความลำบากให้กับพื้นที่มาก”

- “ภาคใต้ทำเกษตรและท่องเที่ยวเป็นหลัก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีเพียง 10% และเป็นการผลิตที่ต่อเนื่องมาจากภาคเกษตร ฉะนั้นโดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจแล้วเราพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติสูงมาก คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติจึงสำคัญมากทั้งโดยตรงและโดยอ้อม”

- “ปัญหาจริงๆ ของไทย คือ ความสามารถในการผลิตยังไม่ดี หากจะพัฒนาต้องให้น้ำหนักกับการพัฒนาทุนมนุษย์ก่อน ไม่ใช่ตั้งต้นด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม”

- “ถ้าดูตัวเลขการจ้างงานในสงขลานั้นจะพบว่าโดยพื้นฐานอยู่ที่ภาคบริการ ค้าขาย เกษตร ประมง คำถามคือโรงงานต่างๆ ในนิคมฯ เช่น ผลิตกังหัน ท่าเรือ หัวรถจักร แรงงานเหล่านี้จะเชื่อมโยงเข้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ดูดีเกินจริงนี้ได้อย่างไร?”

- “สถานประกอบการที่จ้างงานในอัตราสูงจริงๆ คือ SME ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดังนั้นถ้าเป้าหมายต้องการช่วยคนเล็กคนน้อย ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องทุ่มไปที่ขนาดเล็กและต่อยอดจากสิ่งที่เขามีอยู่แล้ว”

 

- “โลกกำลังป่วยไข้ ไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เราไปลงนามในอนุสัญญาเพื่อลดโลกร้อน เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ แต่สิ่งที่ทำในพื้นที่จะนะกลับตรงกันข้ามกับแนวทางของโลก”

- “สิ่งที่ต้องคิดวันนี้ไม่ใช่ GDP หรือความร่ำรวยทางเศรษฐกิจ แต่เป็นความร่ำรวยทางเศรษฐกิจที่มองชีวิตของคน คุณภาพชีวิตที่ดีนั้นหาได้จาก “การบริการเชิงนิเวศ” ในรูปของอาหารที่ดี อากาศที่บริสุทธิ์”

- “เราจะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไปเพื่ออะไร ในเมื่อธรรมชาติมีให้เราได้เหนือกว่าโดยไม่ต้องลงทุน ระบบนิเวศให้การบริการแก่เรามากมายกว่าแค่เป็นแหล่งผลิต เกินกว่าที่มนุษย์ที่สนใจแค่ตัวเงินจะคำนวณออกมาได้”

- “มติครม.นั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้คือธรรมชาติที่เสียไปแล้ว จะไม่สามารถกลับคืนมาได้ ศอ.บต.ไม่ต้องถอยหลัง แค่หยุดแล้วเดินไปในทางที่โลกกำลังเดินไปอย่างมีอารยะ”

- “ลักษณะการกัดเซาะชายหาดจากการทำโครงสร้างยื่นลงไปในทะเล เรียนรู้ได้จากการสร้างท่าเรือในกรณีของมาบตาพุด จะเห็นได้ว่าเมื่อไหร่มีท่าเรือจะต้องมีกำแพงกันคลื่นแน่นอน เพราะชายหาดจะถูกกัดเซาะ นี่เป็นสูตรสำเร็จทุกที่ในไทย ค่าทำกำแพงตอนนี้ตกอยู่ที่กิโลเมตรละ 100 ร้อยล้านบาทและมีแนวโน้มจะทำต่อไปเรื่อยๆ”

 

- “โครงการนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ถามชาวบ้าน ไม่ได้วางแผนร่วมคิดร่วมคุย ทั้งที่ในอดีตก็มีบทเรียนอยู่แล้วว่ามันสร้างความขัดแย้งและต้องมาตามแก้ปัญหาภายหลัง”

- “โครงการนี้เป็นโครงการที่ขาดการมีส่วนร่วม อยู่ดีๆก็ลอยมา เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนจะนะทั้งหมด แต่กลับไม่ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างรอบด้านเพื่อการร่วมคิดร่วมตัดสินใจ  อยู่ดีๆก็มีมติ ครม.ออกมาแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้อง ควรยกเลิกมติ ครม.ที่มีไปก่อน มาจัดกระบวนการใหม่ว่า จะนะควรมีนิคมอุตสาหกรรมหรือไม่ ถ้าควรมีจะมีขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน ให้คนพื้นที่ได้ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ”

 

- “ในฐานะนักการศาสนา ขอเตือนสติทุกฝ่ายว่าเป้าหมายที่ดีต้องเดินควบคู่กับวิธีการที่ถูกต้อง ใครก็ตามมีเป้าหมายดี แต่ทำทุกวิถีทางโดยไม่ดูเรื่องคุณธรรมความถูกต้องคุณกำลังทำลายคุณธรรมบนโลกนี้ ซึ่งอิสลามปฏิเสธสิ่งนี้”

- “อยากเตือนคนสนับสนุนโครงการว่าถ้าสิ่งนี้ดีจริงก็ขอให้ได้กุศล แต่ถ้ามันทำลายธรรมชาติทำลายชีวิตเพื่อนร่วมโลกจริง คุณกำลังก่อกรรมระยะยาว การลงนามของครม. การทำงานของศอ.บต.ก็เช่นกัน ถ้าเป็นการทำลายชีวิตคน ที่แม้ไม่ได้รับผลทางกฎหมายเพราะคุณมีอำนาจ แต่ในทางศาสนาคุณต้องรับผลเพราะอิสลามเชื่อเรื่องการตรวจสอบหลังความตาย”

- “วาทกรรมของรัฐที่ว่าต้องมีฝ่ายหนึ่งเสียสละเพื่อเศรษฐกิจของชาตินั้นไม่ถูกต้อง ไม่มีเหตุผลดีพอที่จะให้คนจะนะสละบ้านเมืองของตัวเองเพื่อเศรษฐกิจของคนทั้งชาติ ไม่มีเหตุผลพอที่เราต้องรับอากาศเป็นพิษเพื่อต้องการเงินเลี้ยงดูคนทั้งชาติ”

- “จะสร้างที่จะนะก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าสภาต้องมีสร้างที่จะนะ รมต.ต้องมาทำงานและมีบ้านพักที่จะนะ เรามาร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน นี่ไม่ใช่คุณมาสร้างบ้านผม แต่คุณอยู่สบาย”

 

- “โครงการนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงและหนักกว่ากรณีท่อก๊าซ เพราะผลประโยชน์มากกว่า มีการใช้กฎหมายและนโยบายทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้ามาจัดการ มีการให้ผลประโยชน์แก่คนในพื้นที่แตกต่างกัน การขาดการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ห้ามคนนอกเข้าไปยุ่งทั้งที่มีคนนอกที่ปรารถนาดีกับสังคมมากมาย และการใช้ภาษาสร้าง/วาทกรรมสร้างความเกลียดชังและแตกแยก”

 

- “การเกิดขึ้นของโครงการนี้ผิดมาตั้งอแต่ต้น ฉะนั้นต่อรองไม่ได้ ต้องยกเลิกโครงการ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งขึ้นและอาหารของความขัดแย้งก็คือความเกลียดชัง ซึ่งนั่นหมายความว่าท่านกำลังทำลายประเทศ”

- “ถามว่าคนจะนะรับรู้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับผังเมืองสีม่วงที่จะมาครอบลงบนพื้นที่ของ

- “การละเมิดครั้งนี้เป็นการละเมิดอนาคตที่จะมีความสุขอย่างที่คนรุ่นพ่อแม่เคยมี”

- “ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะพัฒนาโดยทิ้งคนแม้แต่คนเดียวให้ต้องทนทุกข์ไปชั่วชีวิต”

- “การที่จะพยายามสร้างสันติภาพในพื้นที่ สิ่งที่ต้องไม่ทำคือการสร้างเชื้อไฟให้กับความขัดแย้ง”

 

          - “น่าสนใจมากว่า Feasibility Study ของศอ.บต. นั้นไม่มีการพูดถึงหรือประเมินจะนะในแง่ของความเป็นพื้นที่ความมั่นคงเลย ซึ่งสำคัญมากในการตัดสินใจลงทุนของเอกชน”

         

- “นีกไม่ออกเลยว่าโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ จะดำเนินการได้ฉับไวและจำกัดพื้นที่ให้เหลือเพียง 3 ตำบลได้อย่างไร?”

- “กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้นจึงใช้เวลานานในการจะประกาศใช้ และต้องไม่ใช่เป็นการตัดสินใจโดยรัฐฝ่ายเดียว”

- “ที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะเชื่อว่าประชาชนคิดเองได้ ในสังคมเสรีประชาธิปไตย รัฐจะต้องไม่ใช่คุณพ่อรู้คิดเองทุกอย่าง”

- “ในสถานการณ์เช่นนี้ ภายใต้พรก.ฉุกเฉินถ้าพี่น้องจะจัดเวทีคู่ขนานหรือชุมนุมคัดค้านจะทำได้หรือ เมื่อภาวะแห่งความกลัวเกิดขึ้น การแสดงออกและการมีส่วนร่วมจึงทำได้ลำบาก ต้องถามศอ.บต.ว่ามีเหตุผลอะไรจึงต้องเร่งทำในช่วงนี้?”

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112