Back

คำถามถึง นักรัฐศาสตร์

10 September 2020

1952

คำถามถึง นักรัฐศาสตร์

ผมเรียนรัฐศาสตร์มา แม้จะงูๆปลาๆ จากตำรามหาลัย แต่ก็พอสรุปๆได้ว่า ความสัมพันธ์ของประชาชนกับ รัฐ เป็น เรื่องสมมุติขึ้น และผู้สมมติ มักเป็นผู้มีอำนาจสถาปนาตนเอง และได้รับความยินยอมพร้อมใจ สวามิภักดิ์ จากผู้คนจำนวนหนึ่ง
.
รัฐไทย ก็เหมือน รัฐ อื่นๆ ทั่วโลก คือ พยายามจะเป็นรัฐสมัยใหม่ (Nation State ) เพราะทั่วโลกกำลัง เปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ เพื่อการพัฒนา เพื่อความอารยะ และ ทั่วโลก ก็พยายามจะเป็นรัฐ ประชาธิปไตย ในเวลาต่อมา รัฐไทย ก็เหมือน รัฐ อื่นๆ ทั่วโลก

รัฐสมัยใหม่ เป็นรัฐที่สนใจ การพัฒนาบ้าน เมือง บริหารองค์กรรัฐ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการผู้ใต้ปกครอง อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
.
ส่วน รัฐ ประชาธิปไตย มีหลักการเพิ่มมาอีกว่า ผู้บริหารองค์กรของรัฐ หรือ รัฐบาล คือ ผู้มีอำนาจกำหนด ตัดสินใจ ทางนโยบาย การบริหาร และจัดการ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อประชาชน มีการถ่วงดุล ออกกฎหมาย มีศาล การตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยให้สิทธิ เสรีภาพกับประชาชน ในการมีส่วนร่วมปกครอง เลือกผู้บริหารหรือ รัฐบาล และมีอำนาจ ตัดสินใจ ต่างๆ ผ่านผู้แทนราษฎร หรือ สส. ที่ประชาชนเลือกเข้าไป
.
และเราเรียกเจ้าพนักงานของรัฐ ว่า ข้าราชการ ซึ่งเรียกตามเดิม ตั้งแต่ ยุคยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และข้าราชการ หลายคน โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง ก็ยังเรียก ประชาชนแบบเดิม (เหมือนสมัยยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง) ว่า ราษฎร

ดังนั้น ด้วยเจตจำนง การเปลี่ยนแปลงมาเป็นรัฐสมัยใหม่ และ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็น รัฐประชาธิปไตย ประชาชน คือ หัวใจของการปกครอง
.
เวลาผมได้ยิน ข้าราชการ ประกาศว่า ขอเป็นข้ารองพระบาท หรือ เป็นข้ารับใช้พระเจ้าอยู่หัว จึงรู้สึก ขุ่นเคือง เพราะความเหมาะสมที่สามารถเอ่ยถึงได้คือ มีพระเจ้าอยู่หัวเป็นปณิธาน ชีวิต เป็นต้นแบบ เป็นไอดอล ในเรื่องการทำงานเพื่อส่วนรวม แต่บทบาทภารกิจของตนนั้น ต้องทำเพื่อ ประชาชน ผู้เสียภาษี ค้ำจุน รัฐ
.
พูดตรงๆ คือ พระเจ้าแผ่นดิน ไม่ใช่คนจ่ายค่าตอบแทน ค่าสวัสดิการให้ ข้าราชการ !!
.
ในอีกแง่หนึ่ง พระเจ้าแผ่นดิน ก็มีค่าตอบแทนจากรัฐ เป็นเงินที่รัฐจัดเก็บภาษีประชาชน เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบพระราชกรณียกิจ

และรัฐไทย ซึ่งเป็นรัฐประชาธิปไตย ยึดกฎหมาย เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เศรษฐกิจ สิทธิ เสรีภาพ ในการมีส่วนร่วมปกครองประเทศ

และประชาชน ในประเทศไทย มีหน้าที่ เลือกผู้ปกครอง ตรวจสอบ วิพากษ์ิจารณ์ เสนอแนะ กำกับ ควบคุม (ผ่านผู้แทนราษฎร) และประชาชนคนไทย มีหน้าที่ทำการผลิต ทำธุรกิจการค้า ให้ประเทศคึกคักมั่งคั่ง ผ่านการชำระภาษี ดังนั้น กิจใดๆ ที่จะทำให้ประชาชน มั่งมีศรีสุข ร่ำรวย โดยไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ศีลธรรม รัฐจะต้องสนับสนุน คุ้มครอง

และดังนั้น ไอ้บ้าไหน ที่ทำการผลิตแค่เพื่ออยู่เพื่อกิน เหลือกินค่อยขาย หรือพอเพียงพอดี(ตัวเอง) ไอ้นั่น ไม่ใช่บุคลากรที่ดีของ รัฐ เพราะมึงต้องทำการผลิตให้มาก ให้คุ้มทุน และให้ร่ำรวย เพื่อมีเงินจ่ายภาษี ให้รัฐมั่งคั่ง ไม่ใช่แบมือขอ ตั้งแต่ครรภ์มารดา ยังเชิงตะกอน ...!!

....
.
ข่าวเช้าวันนี้ ข่าวทุกเช้า ทุกวัน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นทุกวัน ว่า ข้าราชการ ซึ่งทำหน้าที่บริหาร ดูแล องค์กรรัฐ ได้ละเมิด กระทำเกินหน้าที่ ใช้อำนาจ รังแก กลั่นแกล้ง ประชาชน ที่มิได้กระทำผิดกฎหมาย ทำให้บทบาทหน้าที่องค์กรรัฐ มีความเสื่อมเสีย มัวหมอง ในการสถาปนาตนเองเป็น รัฐประชาธิปไตย
.
ข่าวเช้านี้หรือ ครับ มีการจับกุมเด็กมัธยม ที่ไปร่วมชุมนุมแสดงออกทางการเมือง

คำถามของผม คือ ข้าราชการ ที่ใช้อำนาจกระทำผิดต่อเจตจำนงประชาชน อย่างนี้ เราควรทำอย่างไร ?

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112