Back

อะไรคือปัจจัย ที่เรียกว่า ความสำเร็จ ?

25 August 2020

2215

อะไรคือปัจจัย ที่เรียกว่า ความสำเร็จ ?

มีเสียงอื้อหื้อ!! กับปรากฏการณ์แบรนด์"สวนซีโมน"

บางคนก็อาจจะมองเฉยๆ แต่บางคนกลับมองว่า มันทำได้อย่างไร ? ( บ้างก็ว่าผมประสบความสำเร็จ บ้างก็ว่าผมเดินทางแบบก้าวกระโดด หลายคนตื่นตาตื่นใจ ) และ คิดจะทำบ้าง ... ซึ่งมุมนี้แหละที่ผมสนใจและเชียร์มาตลอด 10 ปี...  แต่! ต้องรู้ก่อนว่า


.

ผมโตมาในครอบคครอบครัวเกษตรกรที่ ทำการค้าด้วย หมายถึงพ่อรับซื้อผลผลิตการเกษตร เป็นพ่อค้ายุคแรกที่บุกเบิกซื้อขายผลผลิตที่นี่ และแม่เป็นแม่ค้า ขายขนม ส้มตำ กวยเตี๋ยว ไก่ย่าง ขายทุกอย่าง และผมเป็นลูกคนเดียวที่เป็นวัวงานในครอบครัวมาแต่เด็ก


 

ชีวิตเข้ามหาลัย ผมทุ่มเทอยู่กับงานกิจกรรมนักศึกษา ถนัด เขียน พูด วิพากษ์และปลุกเร้า หรือโน้มน้าว จัดกระบวนการทางความคิด (สมัยก่อนเรียกการจัดตั้งความคิด ) พอจบมหาวิทยาลัยผม ทำงานเป็น NGOs ด้านสื่อ เดินทางทั่วสารทิศ แล้วก็เขียนรายงาน 5 ปีหลังจากทำงาน ผมหันมาศึกษาต่อปริญญาโทด้าน cultural study (วัฒนธรรมศึกษา) อยู่นครศรีธรรมราช ควบคู่กับการทำงานแบบเดิมอยู่  10 ปี เป็น 10 ปีกับงานสร้างสื่อบนอินเตอร์เน็ต อยู่กับโซเชี่ยลมีเดีย จนเริ่มเบื่อและวิกฤติชีวิตเมือง จึงลาออกมาเป็น “เกษตรกรขบถ”  เพาะต้นไม้ และปลูกทุกอย่างที่ขายไม่ได้ !!    พยายามทำงานกับเด็ก เยาวชน พยายามทำงานกับชุมชน ทำสื่อเพลง หนังสั้น รณรงค์ เรื่องหยุดตัดไม้ ลดละเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร ผลก็คือ ไม่มีใครเอาด้วยกับผม

3 ปี ( 2551-2553 ) กับการเป็นเกษตรกรขบถ หรือเกษตรกรธรรมชาติ กับผืนดินแปลงแรกชื่อ “ไร่ทวนลม”

( เป็นสถานะเกษตรกรในอุดมคติ ที่ใฝ่ฝันมานาน พร้อมๆกับภาพฝันบ้านเล็กในป่าใหญ่ หนีเมือง หนีความวุ่นวาย และยังยึดมั่นอุดมคติ เพื่อโลกเพื่อมวลมนุษยชาติ “คือปลูกทุกอย่างเพื่อสร้างอุทยานเมล็ดพันธุ์” ผมขับรถมอเตอร์คันเก่าๆ ตระเวนไปทั่วทุกเช้า ทุกเย็น เพื่อเสาะหาและเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นถิ่น ไปเพาะชำ และปลูก จนชาวบ้านเรียกผม บ้า!!  ต่อมาก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นคำว่า  “ไนล์ อนุรักษ์” )

อีก 4 ปี (2553-2556 ) ผมเป็นแค่คนปลูกต้นไม้ ( เพราะกลับมา กทม. เพื่อทำงานไถ่ถอนที่ดินที่ติดจำนองตั้งแต่สมัยผมเด็กๆ ทำให้พ่อคิดจะขายเพื่อชดใช้หนี้ ซึ่งผมไม่ยอมและต้องการปลดหนี้เพื่อเอาที่ดินคืน) ผมกลับบ้านทุกเดือนบางเดือนกลับถึง 2-3 ครั้ง เพื่อขนต้นไม้มาปลูก และผมรู้จักผู้หญิงคนหนึ่งที่นี่ เธอเป็นสถาปนิกด้านอนุรักษ์ (หมายถึงมีแนวคิด มีความสนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชน) และนั่นคือจุดเชื่อมของเราสองคนที่สำคัญ เพราะเรารักความเป็นวัฒนธรรมพื้นเมือง ท้องถิ่นหรือชุมชน และรักธรรมชาติ จุดเด่นที่สำคัญของเธอ คือ เธอเคยไปร่ำเรียนใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศหลายปี ความสนใจหลากหลายทำให้เธอมีความรู้หลากหลาย ทำให้เป็นที่มาของสินค้าที่คนชนบทหรือเกษตรกรอย่างเราๆ นึกไม่ถึง คิดไม่ออก ซึ่งก็คือ “แยม” แต่นั้นไม่สำคัญเท่า เธอสนับสนุนความใฝ่ฝันผมตลอดมา

อีก 3 ปี ( 2557-2559 )กับการเป็นเกษตรความสุข และเริ่มสนใจการเกษตรพึ่งพาตลาดเพื่อยังชีพ เริ่มกู้เงินก้อนเล็กๆ มาลงทุนขุดรื้อตอไม้ยูคาร์ลิปตัส จัดรูปที่ดินใหม่ แบ่งเป็นสวนยางพารา นา  และขุดสระ และกำเนิด ชื่อ “ไร่อิ่มเอม”  ครึ่งหนึ่งมีเป้าหมายคือเงิน ปลูกยางพารา และอีกครึ่งเป้าหมายคือกิน!!  จึงปลูกทุกอย่างที่กินได้ หว้า มะขามป้อม หมากเม่า สมอ สมอพิเภก ไผ่ กล้วย มะพร้าว มะม่วง ข้า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว แคนา ชะอม ฯลฯ และทำนาปลูกข้าว คือ  “ผกาอำปึล” เป็นข้าวที่ใกล้สูญพันธุ์ !!  นอกจากนั้นก็เลี้ยงปลา

10 ปี บนเส้นทางที่ยังแปลกแยก “ผมเลี้ยงตัวเองไม่ได้ !!” รับภาระครอบครัวไม่ได้ ให้หลักประกันชีวิตคนรักไม่ได้และให้ความดูแลสุขสบายพ่อแม่ไม่ได้!!

3 เดือน สำหรับการลุย เรื่องแปรรูป ซึ่งพืชชนิดแรกก็ คือ หม่อน หรือมัลเบอรี่ และต่อมาก็คือ แปรรูป (พืชพิ้นถิ่นหรือผลผลิตตามฤดูกาลทุกชนิด ) ความก้าวหน้าตอนนี้ คือ ผมมีตลาดรองรับระดับประเทศ จาก นายกสมาคมแปรรูปสินค้าเกษตร ผมมีเพื่อนยินร่วมลงทุนและยินดีให้ทุนตั้งต้น(โดยไม่คิดดอกเบี้ย) ผมมีเพื่อนชาวเกษตรพร้อมลงมือปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้อนโรงงาน และผู้บริโภคสินค้าแบรนด์สวนซีโมน หลายคนให้การยืนยันคุณภาพ!!


 

ที่เขียนมาทั้งหมดแค่อยากให้เห็นว่า ประสบการณ์ ความฝัน แรงกดดัน คนรักข้างกาย ( รวมถึงความรู้ความสามารถของเธอ)  คือสิ่งที่กลั่นกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของการ “ก้าวกระโดด แบรนด์สวนซีโมน”  ในระเวลา 3 เดือน!!

มางาน “เถื่อนเฟสติวัล & แค้มปิ้งไร่ทวนลม”สิครับ   ถ้าสนใจผมจะเล่าให้ฟัง...ปีนี้ ปีที่ 13 ครั้งที่ 12

จาก เกษตรกร ไร่ทวนลม

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112