Back

ย้ายผู้ว่าฯเลย  กระทบแผนฟื้นฟูเหมืองทองคำ

28 July 2020

1727

ย้ายผู้ว่าฯเลย  กระทบแผนฟื้นฟูเหมืองทองคำ

นับตั้งแต่ที่ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ๖ หมู่บ้าน  ชนะคดีอย่างเด็ดขาดเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๑  เพราะไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์  โดยศาลพิพากษาให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายจากการทำเหมืองทองคำที่ส่งผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเป็นเงินแก่ชาวบ้าน ๑๔๙ ราย ๆ ละ ๑๐๔,๐๐๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี  นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑) เป็นต้นไป  จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น  และให้จำเลยแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่รอบเหมืองทองคำด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยจนกว่าพื้นที่เหมืองแร่ทองคำจะมีสภาพที่ใช้อุปโภคบริโภคได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของทางราชการ 

 

โดยให้ชาวบ้านและจำเลยมีส่วนร่วมในการทำแผนฟื้นฟู !

 

ชาวบ้านก็ได้ริเริ่มจัดทำแผนฟื้นฟูเหมืองฉบับประชาชนขึ้นมา  เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการฟื้นฟูเหมืองทองคำตามคำพิพากษา  เพราะรู้โดยสามัญสำนึกว่าหน่วยงานราชการที่ต้องรับผิดชอบการฟื้นฟูเหมืองแทนบริษัทฯที่ล้มละลายไปจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่  ไม่สนใจปฏิบัติตามคำพิพากษา 

 

โดยได้ริเริ่มจัดทำแผนฟื้นฟูเหมืองภาคประชาชนขึ้น  เพื่อเป็นกรอบคิดริเริ่มในการชวนภาคประชาชน  และหน่วยงานราชการ  เข้ามาปรึกษาหารือและผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูเหมืองขึ้นมาให้ได้ในอนาคตอันใกล้  โดยได้จัดทำเวทีไปหลายครั้งหลายหน  ทั้งโดยภาคประชาชนเอง  และโดยความร่วมมือกับจังหวัดเลย

 

ต่อมากรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  และติดตามผลการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมบริเวณในและรอบเหมืองแร่ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด  ที่ตำบลเขาหลวง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลยขึ้นมา  เพื่อจะเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ตามลำดับ  เพื่อที่จะเสนอของบประมาณตามแผนฟื้นฟูต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในท้ายที่สุด  โดยมีการจัดทำเวทีนำเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯดังกล่าว  ที่อำเภอวังสะพุงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๓  

 

และหลังจากจัดทำเวทีดังกล่าวแล้วเสร็จ  กพร. ก็เดินหน้าต่อโดยพยายามปรับแก้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯให้เป็นฉบับสมบูรณ์  เพื่อที่จะเสนอแผนปฏิบัติการฯฉบับสมบูรณ์พร้อมกรอบงบประมาณให้กับคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  และ ครมอยู่ในขณะนี้

 

แต่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯร่วมกับภาคประชาชนที่เป็นภาคีความร่วมมือเห็นว่า  (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯที่ กพร. จัดเวทีนำเสนอในครานั้นเป็นแผนฟื้นฟูเหมืองที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่  นอกจากนี้ กพร. ยังได้พยายามเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการฯให้เสร็จโดยเร็วเพื่อจะเสนองบประมาณโดยไม่ปรึกษาหารืออย่างละเอียดชัดเจนแก่ภาคประชาชน

 

การเร่งรัดนี้อาจจะเป็นเพราะวัฒนธรรมระบบราชการ  ที่พยายามเสนองบประมาณให้สอดคล้องกับกฎระเบียบทางการเงินของระบบราชการที่เป็นอยู่  เช่น  กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง  ฯลฯ  และทัศนคติที่ระบบราชการมีต่อประชาชนโดยพยายามกีดกันประชาชนออกไปจากการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเหมือง  ทั้ง ๆ ที่การฟื้นฟูเหมืองอย่างมีส่วนร่วมเป็นประเด็นหลักตามคำพิพากษาของศาล  ที่ระบุไว้ชัดว่าจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเหมืองด้วย

 

เนื่องจากสถานการณ์ที่เร่งรัด  ขาดการปรึกษาหารืออย่างละเอียดถี่ถ้วนกับภาคประชาชน  และพยายามกีดกันประชาชนออกไปจากแผนการฟื้นฟูของ กพร.  ทางกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯจึงได้ร้องเรียนไปยังผู้ว่าฯเพื่อขอปรึกษาหารือเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน  เพราะเกรงว่าหากให้ กพร. ดำเนินการต่อไปจนได้งบประมาณมา  การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนจากการทำเหมืองทองคำจังหวัดเลยอาจจะล้มเหลวและประสบปัญหาเหมือนกรณีการฟื้นฟูเหมืองตะกั่วที่คลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี  และการฟื้นฟูเหมืองทองแดงที่อำเภอแม่ตาว จังหวัดตาก  ซึ่งทั้งสองกรณีนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพยายามกีดกันประชาชนออกไปจากการมีส่วนร่วมในการออกแบบและกำหนดแนวทางการฟื้นฟู

 

ในการปรึกษาหารือร่วมกับผู้ว่าฯครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา  มีการหยิบยกประเด็นสำคัญขึ้นมาหารือ  โดยขอให้ทางจังหวัดเลยจัดตั้งคณะกรรมการวางแผนการฟื้นฟูการปนเปื้อนในและรอบเหมืองทองคำจังหวัดเลยขึ้นมา  และหางบประมาณในกรอบงบประมาณของจังหวัดเลยเพื่อให้คณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการด้วยตนเองหรือว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้ดำเนินการเพื่อกำหนดขอบเขตการฟื้นฟูที่ครอบคลุมมิติสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม อาชีพ  และสำรวจการรั่วไหลจากบ่อกักเก็บกากแร่ โดยระบุจุดที่น่าจะรั่วไหลหรือสุ่มเสี่ยงต่อการถล่มหรือรั่วไหลในอนาคตสำรวจการรั่วไหลของโลหะพิษจากกองเก็บแร่ หรือกากแร่ในบริเวณอื่น ๆ ของเหมืองนอกเหนือจากบ่อกักเก็บกากแร่สำรวจการกระจายตัวของสารหนูและโลหะพิษอื่น ๆ ในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน อันเกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่  ฯลฯ  และจัดทำแผนปฏิบัติงานโดยแบ่งงานให้ส่วนราชการและภาคประชาชนร่วมกันปฏิบัติงาน

 

โดยทั้งหมดต้องไม่อิงกับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯของ กพรหรือกรณีที่จะต้องอิงกับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯของ กพร. ก็จะต้องมีการปรับปรุงขึ้นมาใหม่  โดยมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างขึ้นใหม่ทั้งหมด  เพื่อให้เป็นร่างพร้อมกรอบงบประมาณที่ร่วมกันจัดทำและยอมรับร่วมกัน

 

ทางผู้ว่าฯได้รับข้อเสนอของกลุ่มฯ  โดยขอให้กลุ่มฯนำเสนองบประมาณเพื่อการดังกล่าวตามย่อหน้าก่อนหน้านี้  เพื่อที่ทางจังหวัดจะดูว่างบประมาณที่นำเสนอจะอยู่ในส่วนงบประมาณของจังหวัดเลยได้หรือไม่  หรือถ้าสูงเกินไป  จังหวัดเลยจะดำเนินการเป็นเจ้าภาพส่งเรื่องต่อไปยังรัฐบาลได้อย่างไรบ้าง

 

โดยขอให้รีบส่งให้ทางจังหวัดเลยพิจารณา  แต่ขอให้ส่งภายหลังจากวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ไปแล้ว (เนื่องจากช่วงก่อนวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จะติดภารกิจรับเสด็จพระเทพฯ

 

จากการประสานงานกัน  จึงได้นัดหมายปรึกษาหารือกับผู้ว่าฯในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓  ตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ น. เป็นต้นไป  

 

แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น  นั่นคือ  คำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงมหาดไทยล็อตใหญ่  ที่ผู้ว่าฯเลยต้องย้ายไปเป็นผู้ว่าฯที่ จ.ปทุมธานี  และย้ายผู้ว่าฯกาฬสินธุ์มาเป็นผู้ว่าฯเลยแทน  ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓

 

ผลของการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้มีกระแสข่าวโจษจันกันในหมู่ข้าราชการบนศาลากลางจังหวัดเลยว่า  จะต้องมีการจัดห้องทำงานให้แก่ผู้ว่าฯคนใหม่สองห้อง (ความหมายจริง ๆ ของกระแสข่าวโจษจันอาจจะไม่ได้หมายถึงการจัดห้องทำงานให้แก่ผู้ว่าฯคนใหม่สองห้องจริง ๆ  แต่หมายถึงว่าผู้ว่าฯคนใหม่จะต้องทำงานอยู่ภายใต้บงการตัวแทนของผู้มีอิทธิพลในจังหวัดเลย  หรืออาจจะหมายถึงการจัดห้องทำงานให้แก่ผู้ว่าฯคนใหม่สองห้องจริง ๆ ก็เป็นได้โดยห้องหนึ่งเป็นของผู้ว่าฯตัวจริง  คือ  นายชัยธวัช เนียมศิริ  ส่วนอีกห้องหนึ่งเป็นของผู้ว่าฯตัวปลอม  ชื่อนายพรศักดิ์ เจียรณัย  อดีตรองผู้ว่าฯเลย ช่วง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ สิงหาคม ๒๕๕๒  และผู้ว่าฯเลย ช่วง ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

 

ว่ากันว่านายพรศักดิ์เป็นคนของ บ้านใหญ่’  ภายใต้การนำของนายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ  นายก อบจ. เลย หลายสมัย  ทายาทสืบทอดความเป็นผู้มีอิทธิพลต่อจากนายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ  ผู้เป็นพ่อของเขา  ที่เกี่ยวพันอย่างชัดแจ้งต่อการตายของครูประเวียน บุญหนัก  อดีตนายกสมาคมครูจังหวัดเลย  หน้าสถานีตำรวจ สภ..วังสะพุง  โดยมือปืนชื่อนายเลข กัตติยะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านขอนแก่น ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง  ผู้เป็นลูกน้องของนายสุรัตน์   เมื่อ ๒๕ ปีก่อน

 

ว่ากันว่าการย้ายนายชัยธวัช เนียมศิริ  จากผู้ว่าฯกาฬสินธุ์มาเป็นผู้ว่าฯเลย  คือความต้องการของนายธนาวุฒิและนายพรศักดิ์  โดยจะให้นายพรศักดิ์มาเป็นผู้ว่าฯเงา  คอยกำกับและควบคุมการทำงานของนายชัยธวัชให้ตอบสนองเรื่องต่าง ๆ ที่บ้านใหญ่ต้องการ

 

จะเป็นความต้องการหรือวาระอะไรบ้างของจังหวัดเลยที่บ้านใหญ่หรือนายธนาวุฒิต้องการให้ผู้ว่าฯเลยคนใหม่ตอบสนอง  ไม่อาจคาดเดาได้ในขณะนี้  แต่เรื่องหนึ่งที่เกี่ยวพันอย่างแน่นอนก็คือการฟื้นฟูเหมืองทองคำจังหวัดเลย  ที่ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ๖ หมู่บ้าน กับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ที่กำลังจะกลายเป็นอดีตผู้ว่าฯเลยหลังวันที่ ๑ ตุลาคมนี้  ที่กำลังจะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ในการฟื้นฟูเหมืองโดยมีชาวบ้

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112