Back

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉิน กีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ

20 July 2020

1838

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน  หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉิน กีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ

ขอบคุณภาพจาก : https://www.banmuang.co.th/news/region/198406

 

            นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ภายในประเทศเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ต่อจากนั้นเกิดการระบาดใหญ่มาตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2563 จนไปสู่การประการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ดังกล่าว ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคส่วนธุรกิจต่าง ๆ ที่มองว่าการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกจะถูกจำกัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสฯ ดังกล่าว ภายในประเทศจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่พบการแพร่ระบาดภายในประเทศติดต่อกันหลายวัน แต่รัฐบาลกลับมีการประกาศขยายระยะเวลา พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพิ่มไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และยังไม่มีการยืนยันถึงแนวโน้มที่จะยกเลิกกฎหมายนี้ในเร็ววัน

            พวกเรา เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายภาคประชาชน ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์การพัฒนาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเฉพาะการผลักดันและการก่อสร้างเขื่อนต่าง ๆ บนแม่น้ำโขง รวมทั้งโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังถูกผลักดันในภาคอีสานคือ โครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ตลอดจนโครงการจัดการน้ำตามพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญในภาคอีสาน ได้รับผลกระทบและบทเรียนอย่างสำคัญจากการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงเวลามากกว่า 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งภาครัฐใช้ พ.ร.ก ฉุกเฉิน มาเป็นข้ออ้าง เพื่อกีดกันการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำในภาคอีสาน ดังกรณีที่กรมชลประทานเลื่อนการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนศรีสองรักษ์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยอ้างถึง สถานการณ์ปัญหาไวรัสโคโรน่า 2019 และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ทั้งที่กรมชลประทาน มีการลงนามบันทึกข้อตกลงกับกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบแล้ว

            ในขณะเดียวกัน ที่รัฐบาลใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำ จนทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว เพื่อปกป้องทรัพยากร กลับปรากกฎว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ที่มี นายธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานกรรมาธิการฯ ยังคงเดินหน้าพิจารณาผลักดันโครงการจัดการน้ำขาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำคือ โครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ที่มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม เสมือนเป็นการรับลูกการผลักดันโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่เหล่านี้ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และกรมชลประทาน (ชป.) โดยเฉพาะ กรมชลประทาน หนึ่งในหน่วยงานรัฐ ที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันโครงการเหล่านี้มาอย่างยาวนาน โดยอ้างเหตุผลความชอบธรรมถึงสถานการณ์ปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ  และการป้องกันน้ำท่วม ทั้งที่โครงการดังกล่าวนี้ เดิมคือ โครงการโขง-ชี-มูล ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เคยเกิดขึ้นอย่างแท้จริง จนเป็นรอยแผลที่เกาะกุมจิตใจคนอีสานตามลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว มากว่า 3 ทศวรรษ

            พวกเรา เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์การเร่งรัด ผลักดันโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล  ยิ่งไปกว่านั้น บทบาทของคณะกรรมาธิการฯ ที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาและผลักดันโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ ภายใต้สถานการณ์ที่ภาคประชาชนและภาคประชาชนถูกปิดกั้นการมีส่วนร่วม จะกลับกลายเป็นว่า หน่วยงานภาครัฐ สามารถฉวยโอกาสในการผลักดันโครงการจัดการน้ำต่าง ๆ สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ที่คลี่คลายลงจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้หน่วยงานภาครัฐมีแนวโน้มที่จะใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลกับโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่  ดังปรากฏให้เห็นผ่านเอกสารประกอบการพิจารณางบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2564 ที่เผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะ สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มไปสู่ปัญหาความไม่โปร่งใส การขาดความชอบธรรม และการขาดหลักธรรมาภิบาลในการจัดการโครงการ

            ฉะนั้น พวกเรา เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสังคมสาธารณะ ต่อสถานการณ์ปัญหาการขาดการมีส่าวนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของภาคประชาชน ดังต่อไปนี้

            ประการแรก ขอให้รัฐบาลไทยยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้อำนาจพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทันที แล้วทำการทบทวนนโยบายและโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ในภาคอีสานทั้งระบบ เพราะในช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาโครงการจัดการน้ำต่าง ๆ ยังดำเนินตามแนวทางการจัดการน้ำแบบเดิมที่มุ่งพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ตามลุ่มน้ำต่าง ๆ แต่บทเรียนที่ผ่านตลอด 6 ทศวรรษในการจัดการน้ำภาคอีสานได้บ่งชี้ว่า การจัดการน้ำควรสอดคล้องกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมของพื้นที่ภายใต้บริบทของพื้นที่ที่หลากหลาย

            ประการที่สอง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ และคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม ต้องทบทวนบทบาท การทำงาน และการศึกษาต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ที่เกี่ยวข้องกับโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล และโครงการจัดการน้ำต่าง ๆ ตามลุ่มน้ำสาขาในภาคอีสานทั้งระบบ โดยต้องกลับมาเริ่มต้นศึกษาและประเมินความคุ้มค่าที่แท้จริงของโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ เพราะที่ผ่านมาได้มีการละเลยการศึกษาถึง มิติความคุ้มค่า โครงการฯ แต่กลับมีมุมมองการจัดการน้ำแบบแยกส่วนและการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำระยะสั้นตามสถานการณ์เพียงเท่านั้น

            ประการที่สาม ขอให้ กลุ่ม องค์กร ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมต่าง ๆ ตลอดจนพลเมืองกับเสรีชนทุกท่าน มาร่วมกันตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ การผลักดันโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ในภาคอีสาน ที่กำลังถูกปัดฝุ่นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ท่ามกลางการใช้กฎหมายพิเศษจำกัดสิทธิ เสรีภาพประชาชนในการเคลื่อนไหวเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร

 

       ด้วยจิตคาราวะ

 

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน

17 กรกฎาคม 2563

หน่วยงาน/องค์กร/เครือข่าย/บุคคล

1. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

2. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. กลุ่มฮักแม่น้ำเลย

4. กลุ่มฮักเชียงคาน

5. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง อำเภอปากชม จังหวัดเลย

6. กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา

7.กลุ่มอนุรักษ์​สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

8.กลุ่มฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพระเนียง

9.โปรเจกต์เสวนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

10.มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

11.เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอล่าง จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร

12.ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง

13.เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน

14.เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน

15.กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย เชียงเพ็ง

16.สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนราศีไศล

17.สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนหัวนา

18.คณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน(คปน.)

19.กลุ่มประชาธิปไตยไทบ้าน

20.มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตจังหวัดอุบลราชธานี

21.เครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.)

22.ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ(CAN) Northern Activist Community​

23.สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

24.สมัชชาคนจน

25.ขบวนการอีสานใหม่ new isan movement

26.ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

27.กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)

28.กลุ่มรักเชียงของ

29.กลุ่มผู้ผลิตสื่อสารคดีเพื่อเสรีภาพแม่น้ำโขง

30.ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

31.มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

32.สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)​

33.มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

34​.สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

35.สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี

36.มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)​

37. เครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ

38.กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

39.ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อีสาน(ศศส.)

40.สภาองค์กรชุมชน ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

41.กลุ่มฮักบ้านเกิด เมืองเพีย  จังหวัดขอนแก่น

42.เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมติดตามสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

43.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้วยเสือเต้นและโคกหินขาว

44.โครงการทามมูน

45.เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำ ภาคอีสาน

46. เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง

47. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์

48. สภาผู้นำลุ่มน้ำพุงและป่าสักตอนบน

49. เครือข่ายองค์กรชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์

50. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ

51. สภาผู้ผลิตและบริโภค จังหวัดเลย

52. เครือข่ายอนุรักษ์ป่าหัวไร่ปลายนา จังหวัดหนองบัวลำภู

53. เครือข่ายชาติพันธุ์เทือกเขาเพชรบูรณ์

54. สภาองค์กรชุมชนตำบลวังสะพุง

55.สมัชชานักศึกษาอีสาน

56.กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

 

--------------------------------------------------------

รายนามบุคคล

1. นายณรงค์ฤทธิ์  อุปจันทร์

2. นายฐากูร สรวงศ์สิริ

3. นายสมพงศ์ อาษากิจ

4.นายจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

5.มณีรัตน์​ มิตรประสาท

6.นายแพทย์นิรันดร์พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนปี2552-2558

7.นายสันติภาพ  ศิริวัฒน์ไพบูลย์

8.นายจตุรภัทร บุญภัทรรักษา

9.นายนิรันดร​ คำนุ

10.นายเดชา​ คำเบ้าเมือง

11.นายชาญณรงค์​ วงศ์ลา

12.นาย​ศิระศักดิ์ คชสวัสดิ์​

13.นายวิพัฒนาชัย​ พิมพ์หิน  ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.โนนสะอาด​ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น​

14.รศ.ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง​ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง หาวิทยาลัยมหาสารคาม

15.ดร.เลิศชาย​ ศิริชัย

16.นางสาวภัทรา วรลักษณ์

17.นางสาวจิตราภรณ์ สมยานนทนากุล

18.นายภมร ภูผิวผา

 

 

 

 

ผู้ประสานงาน: นายสุวิทย์  กุหลาบวงษ์ สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

เบอร์โทร 0981055324

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112