ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ ตอนที่ 3  สื่อทางเลือก และข่าว ที่ไม่ใช่ข่าว

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ

ตอนที่
สื่อทางเลือก และข่าว ที่ไม่ใช่ข่าว

การเกิดของไทยเอ็นจีโอ เกิดท่ามกลางสภาวะงานเคลื่อนไหว ปะทุ ไปทุกถิ่นทั่วระแหง ผลพวงสะสมมาจากโครงการหรือนโยบายของรัฐ และการเติบโตของทุนใหญ่ ทั้งทุนชาติ ทุนข้ามชาติที่ลงจับมือกับทุนท้องถิ่น ที่ซึ่งมีอิทธิพลและข้าราชการ ทั้งการเมือง ข้าราชการประจำ เอื้ออำนวย ทำให้ปัญหา ลุกลามรวดเร็ว และเมื่อกฎหมายเอื้อให้ประชาชนมีสิทธิ มีเสรีภาพ มากขึ้น ก็ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเติบโต และสื่อคือ ปัจจัยสำคัญมาก สำหรับคนที่ทำงานพัฒนา งานเคลื่อนไหว  เพราะต้องดึงพลัง ดึงกระแสสังคม มาใช้กดดัน ต่อรองกับอำนาจหรือ ชี้นำทางการเมือง เพื่อผลักดันนโยบาย มาตรการ หรือกฎหมาย จากรัฐ


www.thaingo.org จึงเกิดได้ แม้ไม่มีประสบการณ์งานข่าว งานสื่อสารมวลชน ดังปรัชญาการทำข่าวง่ายๆ ที่ผมเข้าใจ คือ ชาวบ้าน แกนนำ หรือ เอ็นจีโอ อยากพูดอะไร พูดเลย อยากลงภาพไหน ลงเลย ผมแค่ถอดเทป เกลาคำให้ถูกต้อง และอัพกันยาวๆ จุใจไปเลย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านมาก

ปกติสิ่งที่เอ็นจีโอ หรือ ชาวบ้านเดือดร้อน มันประเด็นเล็กๆ สื่อมวลชน ไม่เล่น ไม่ลง ไม่ตาม แต่ไทยเอ็นจีโอ ลงให้หมด มีเท่า เขียนอะไรก็ลงให้ เพราะนั่นคือเสียงประชาชน เราในฐานะสื่อไม่สถาปนาตัวเองพูดแทน
!! 

ในยุคทองของสื่อ การจะมีพื้นที่ลงข่าวบนหน้า นสพ. ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ยิ่งหน้าทีวี ยิ่งยาก เพราะมีผลต่อการเมืองสูง ดังนั้น ถ้าจะชุมนุม เรียกร้องแล้วให้สื่อลงมา ทำข่าว ต้องรุนแรงประมาณว่า “มึงสร้างกูเผา” ต้องมีคนหลักพัน ต้องปิดถนน ต้องยึดสนามบิน ซึ่งสื่ออาจจะลงหน้ากรอบเล็กๆ แต่ถ้าหลักหมื่น นี่ได้ลงหน้าหนึ่ง หลักแสนสื่อทุกสำนัก กล้อง ไมค์ ทุกตัวปักหลัก ข้างที่ชุมนุมเลย

ดังนั้น ถ้าความเดือดร้อน ที่ไม่ใช่ประเด็นที่กอง บก. สนใจ นักข่าวก็หมดสิทธิ์ แม้จะทำข่าวส่งเข้าส่วนกลาง ก็อาจจะลงตะกร้า ทำให้ สื่อเล็กๆ อย่างไทยเอ็นจีโอ ( ในตอนนั้น ทีวีไทย มีเพียง
ITV  ที่กำลังมาแรง รายงานข่าวตรงไปตรงมา วิเคราะห์เจาะลึกได้คมชัดมาก และเกาะติดสถานการณ์ข่าวชาวบ้าน มากที่สุด ) ไทยเอ็นจีโอ จึงเป็นทางเลือกเล็กๆ ที่รายงานผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อใหม่ ที่คนส่วนมากยังไม่คุ้นเคย แต่สำหรับคนทำงานพัฒนาเล็กๆ หรือ  NGOs ตัวเล็กๆ ที่ทำงานในพื้นที่ ในหมู่บ้าน แต่เราเกาะติด รายงาน และลงพื้นที่ ข่าวหลายข่าวที่คนทำงานอย่างสื่อ แต่สื่อมวลชนไม่สนใจ ไม่ลงให้ เราไทยเอ็นจีโอลงให้หมด ทำให้ด้านหนึ่ง เรามีส่วนทำให้องค์กรพัฒนา แกนนำชาวบ้าน หันมาสนใจ คุ้นเคย คำว่า เว็บไซต์ และ อินเตอร์เน็ต

ที่สำคัญ บทสัมภาษณ์ จากแกนนำ จากชาวบ้าน หรือจากคนทำงานพัฒนา ที่ต้องการพูด ต้องการนำเสนอปัญหา ยาวแค่ไหน ก็จะถอดเทปรายงานให้ทั้งหมด ( บางราย ผมใช้เวลาถอดเทปถึง
3 วัน ยาวนับ 10 หน้า A4 ตามปรัชญาที่ผมวางไว้ ตั้งแต่ต้น และบอกทุกคนในทีม คือ “ถ้าชาวบ้านเขาอยากพูด อยากบอกโลกภายนอก ถึงเรื่องราว ปัญหาความไม่เป็นธรรม ให้เขาพูดมาให้หมด และเราต้องลงให้หมด” นี่แหละคือความต่างๆ ของไทยเอ็นจีโอ คือเราไม่ตัดตอน เราไม่มีกรอบ จำนวนคำ ขนาดพื้นที่ จำกัด เราไม่ใช้คำถามชี้นำ  ที่สำคัญ เราไม่สรุป ย่อ จับใจความ แบบคิดไปเอง

และภารกิจตอนนั้น คือ ใครทำงานตรงไหน โดยเฉพาะเป็นพื้นที่สุ่มสี่ยง ไทยเอ็นจีโอจะลงไป ไกลแค่ไหนก็ไป ลำบากแค่ไหน หรือ อันตรายแค่ไหนก็ไป ทำให้ ดังนั้น แค่เพียงปีเศษๆ คนก็เริ่มติดปาก เราทำงานไม่นาน เราก็เป็นที่รู้จัก ได้รับความร่วมมือ แค่พอแนะนำตัว ก็ “อ้อ..ไทยเอ็นจีโอ”

ทำให้เรากลายเป็นดาวเด่น อยู่ในใจเพื่อนพี่น้อง นักพัฒนา นักเคลื่อนไหว และชาวบ้านอย่างรวดเร็ว