ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

ความตายปลุกความกล้า

 

ผ่านไป 1 ปี ( ThaiNGOs  เริ่มเมื่อ 16 ตุลาคม 2543 ) จริงโครงการเริ่มมานาน แต่กลับเจออุปสรรคคือ ไม่มีใครสนใจมารับตำแหน่งนี้ webmaster หรือ ผู้ดูแลเว็บไซต์ ด้วยภารกิจคือ รายงานสถานการณ์งานพัฒนา ทั้งด้านข้อมูลงานพัฒนา งานเคลื่อนไหวและสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทำให้สังคมไทย เข้าใจ แนวคิด บทบาท คนทำงานพัฒนา

เชื้อเชิญนักสื่อสารมวลชนมืออาชีพ หรือมีประสบการณ์ ก็ไม่มีใครเอา  (ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นยุคทองของคนทำงานสื่อ นอกจากจะรายได้ดีแล้วยังมีหน้ามีตาในสังคม)
ทาบทามนักคิด นักเขียน นักกิจกรรม นักพัฒนา ก็ไม่มีใครรับ สุดท้าย ก็มาควานหา บุคลากร ที่พอเขียนได้ เดินทางได้ และเข้าใจหรือชอบงานพัฒนา ( NGOs) สรุปสุดท้ายก็มาลงที่ผม คนที่ไม่เคยแม้แต่จะเปิดคอมพิวเตอร์

1 ปี สำหรับการ งุนงง กับภารกิจที่ถูกว่าจ้าง  และ 1 ปีสำหรับการเรียนรู้ แค่ เปิด ปิด คอมพิวเตอร์  จึงยังแสวงหาหนทางการทำงาน หรือ บทบาทตัวตนของ ThaiNGOs ไม่ได้ ว่าจะเดินไปทางใด และอย่างไร ท่ามกลางการถูกคาดคั้น คาดหวัง ต่อบทบาทสูงมาก มองไปด้านข้อมูล ก็มากมาย สืบสาวไปทางไหนก็เยอะ ลึก และกว้าง แบบไร้ขอบเขต กลับมามองภาพงานเคลื่อนไหว ก็ผุดพราย กระจายไปทั่วแทบทุกวัน จนแม้แต่งานภารกิจคลิปปิ้งข่าว ตัดข่าว เก็บข่าว ที่ซึ่งต้องอ่าน วันละหลายฉบับ ไม่นับรวมรายสัปดาห์ รายปักษ์ และวารสสารอื่นๆ อีก สรุปคือ ภาระที่แบกอยู่นั้น แค่งานอ่านข่าวก็เกือบหมดวันแล้ว !!

จน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544  ข่าวการถูกลอบสังหาร นักกนุรักษ์หนุ่ม เลือดรามคำแหง และว่าที่บัณฑิตหนุ่มด้านกฎหมาย ที่ชื่อ “โจ” พิทักษ์ โตนวุธ ก็แพร่สะบัด และผมคนหนึ่งที่ตกใจมาก เสียใจ และโกรธแค้นจนตัวสั่น  เราอยู่แต่ในโลกสวยมาวนาน ไม่เคยรู้ความจริงไม่เคยคาดคิดว่า บ้านเมืองเรานั้นยังมีคนชั่วช้าป่าเถื่อน กระทำเช่นนี้ได้

 โจ ผูกพันและลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่บ้านห้วยชมพู พื้นที่อนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ ในจังหวัดพิษณุโลก  ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา (ยุคเดียวกับผม เรามีซุ้มติดกัน  ) หลังจากกลับจากค่ายฯ กับน้องๆ นักศึกษา โจ ก็ยังแวะเวียนมาร่วมกิจกรรม ให้คำปรึกษาชาวบ้านอยู่เนื่องๆ จน สถานการณ์ต่อสู้เริ่มตึงเครียด โจ เลือกฝังตัวร่วมต่อสู้ และ มีความรัก แต่งงานกับหญิงสาวชาวบ้านที่นั่น โจ ถูกยอมรับมากขึ้น ในฐานะแกนนำ และในฐานะคนที่รู้เรื่องกฎหมายมากที่สุด โจ ต่อสู้คัดค้านการสัมปทาน ของโรงโม่หินแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก


การเคลื่อนไหว หนักหน่วง และได้พลังเสริมจากเครือข่ายและพันธมิตร ทั้งชาวบ้านและเอ็นจีโอ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่มทุนอิทธิพล หลังชนฝา และแล้ววันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เสียงปืนก็ดังลั่น บนถนน ทางกลับบ้านห้วยชมพู เป็นเวลาบ่ายๆ หลังจากโจ เสร็จธุระที่สถานีตำรวจ

หลังจากทราบข่าวด่วนจากมิตรสหาย ผมวางหูโทรศัพท์ลง นิ่งอึ้ง... ไปชั่วขณะ ความคิดหลายอย่างบังเกิดขึ้น
1 ใน นั้น คือ ไทยเอ็นจีโอ จะออกไปเดินเคียงข้างกับพี่น้อง ที่ทำงานต่อสู้ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงภัย เราเป็นสื่อเล็กๆ ที่สถาปนาขึ้นมาเพื่อพี่น้องนักพัฒนา ที่ซึ่งหลายคนเป็นแค่คนตัวเล็กๆ ที่กำลังเผชิญกับยักษ์ชั่ว ดุร้าย ถ้าไทยเอ็นจีโอ ไม่ลงไปช่วย ไปทำ ไปรายงานข่าว เปิดประเด็นสู่สาธารณะ แล้วใครจะทำ ... ผมไม่กลัว!!!