ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เว็บ thaingo.org จะปรับค่าบริการจากเดิม 300 บาทเป็น 500 บาท
From January 1, 2023, thaingo.org will adjust job announcement fee from 300 baht to 500 baht.

ThaiNGO team support only thaingo.org and thaingo.in.th.

เว็บไซต์ที่ทีมงาน thaingo ดูแลคือ thaingo.org และ thaingo.in.th เท่านั้น

“อัจรา สรวารี” หญิงแกร่งเพื่อคนเร่ร่อน

“อัจณา สรวารี” หญิงแกร่งเพื่อคนเร่ร่อน

คำถามที่เกิดในใจใครหลายๆคนคือ เธอก้าวมายืนจุดนี้ได้อย่างไร อะไรคือพลังคือแรงบันดาลใจ ทัศนคติ มุมมองเธอเป็นอย่างไร นางสาวอัจรา สรวารี นั้นคือชื่อ ที่นักพัฒนาสายคนจนเมืองหลายคนต่างคุ้นเคย


“เริ่มมาอยู่จุดนี้อย่างไรหรอ ก็เริ่มจากเรียน หาคณะที่เรียนแล้วทำงานกับคนเพราะไม่ชอบนั่งออฟฟิศพบว่ามันไม่ใช่ตัวเราตอนแรกไม่รู้จักคณะสังคมสงเคราะห์ เพื่อนชวนมาสอบตรงที่ธรรมศาสตร์ ดันสอบติด เลยมาเรียนและฝึกงานมาฝึกกับอิสรชน ก็สนุกและทำมามันก็สะท้อนชีวิตสะท้อนสังคมให้เรียนรู้ไม่จบ ย้อนไปเด็กๆก็จะแบบคลุกคลีกับปัญหาแบบนี้รอบตัวจนชินและมองผ่านพอมาทำก็ให้เราเข้าใจสาเหตุเห็นต้นต่อและสื่อสารออกสังคมได้ค่ะ”  เธอเริ่มเล่าเปิดเผย พร้อมกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ เพราะความจริง ชีวิตบนเส้นทางงานแบบนี้ไม่ได้สวยงาม หากแต่มากด้วยอุปสรรค ความเหนื่อยยากและแน่นอน หลายคนยอมหายไปเพราะทนแรงเสียดทานไม่ได้

 

“ถ้าถามว่า ไขว้เขวไหม ไม่ค่ะ ถ้าในเรื่องการลงพื้นที่ไม่มีเลย แต่ท้อเวลาเราต้องระดมทุนแล้วไปสื่อสารกับคนที่ตีตราไปแล้วว่าคนเร่ร่อนไม่ดี แล้วไม่เปิดใจโดยเฉพาะผู้บริหารที่ไม่เคยสนใจมองมันเหนื่อย  งานสื่อสารคืองานหนักแต่งานฟื้นฟูไม่หนักแต่หนีไม่พ้นเพราะเราจะดูแลคุ้มครองคนเร่ร่อนได้ก็ต้องมีทุนทางสังคมเหนื่อยมากกว่าแต่ไม่เขว

 

ส่วนที่ว่าเราได้เรียนรู้อะไรกับงานเหล่านี้ คิดว่า ได้เยอะนะค่ะ  ได้การเรียนรู้ต้นต่อปัญหาวิเคราะห์ ประมวลผล รู้เท่าทันตนเอง การอ่านคน การอย่าตัดสินคนจากสิ่งที่เห็นและที่สำคัญอย่าคิดแทน ถ้าต่อสู้และยึดแนวในการทำงานตั้งเป้าคงไม่พ้นที่จะทำอย่างไรให้สังคมมีสวัสดิการ ที่เท่าเทียมกัน เป็นประชาชนที่ได้รับสวัสดิการพื้นฐาน แม้แต่เราเองความมั่นคงในชีวิตไม่มีต้องวิ่งหา จนละเลยคนรอบข้างจนเป็นปัญหาต่างๆในปัจจุบันไม่ว่าถูกทอดทิ้ง เด็กขายบริการ คนแก่ขายบริการ ครอบครัวแตกแยกต่างๆ เพราะกลายเป็นยุคโลกาวิวัฒน์ที่คนสนใจเอาตัวรอดมากกว่าคำว่าเอื้ออาทร หรือส่วนรวมเป้าหมายก็คือ เดินตามรอย อ.ป๋วย ในเรื่องสวัสดิการ พยายามผลักมันให้ได้เริ่มจากจุดเล็ก "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" อันนี้เป้าของงานมูลนิธิอิสรชน ส่วน คติในงานคือ "คนแต่ละคนคิดไม่เหมือนกันอย่าคิดแทนอย่าตัดสินแทนแล้วเราไม่เป็นเขาเราไม่มีทางรู้ว่าเขาเจออะไรรับได้แค่ไหนค่ะ"  เธอกล่าวถ้อยคำอ่อนนุ่ม ก่อนจะเผยแนวคิดในการทำงานของมูลนิธิ ว่า

 

“ในกระบวนการทำงานคนเร่ร่อนหรือคนไร้ที่พึ่ง เดินกระบวนการมาได้ดี สร้างระบบจนเกิดกฏหมาย แต่เอาภาพรวมดีกว่า รัฐไทยอะพอเปลี่ยนนายเปลี่ยนหัวหน้าต้องเริ่มต้นใหม่ในบางงาน บางงานไม่สานต่อบางงานไม่สนใจ ทำให้งานไม่ต่อเนื่อง และที่สำคัญรัฐทำเยอะแต่อ่อนการสื่อสารสังคม รัฐทำภายใต้การคิดแทนแต่ไม่สนใจเสียงประชาชนทำให้บางงานไม่ตอบสนองสุดท้ายก็บอกช่วยคนเหล่านี้ไม่ได้ บางทีทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยากเพราะอ้างเงื่อนไข หรือคอรัปชั่น เพราะถ้าสังคมไทยไม่มีสิ่งเหล่านี้สื่อสารสังคม ให้เดินไปด้วยกันเน้นการพัฒนาร่วมไม่ใช่สอนให้คนไทยรอแต่รัฐจัดให้ แต่เน้นงานพัฒนาไปกับการสงเคราะห์สังคมจะเรียนรู้การพึ่งตนเอ’และส่งต่อคนรอบข้างมากขึ้น”  เธอกล่าวออกมาอย่างเข้มแข็ง ก่อนจะสรุปภาพอนาคตชีวิต ไว้สั้นๆ ว่าจะเป็นอย่างไร

 

“เรื่องไปหาอาชีพอื่นทำบ้าง ก็เคยคิดนะ แต่นี่มันคือชีวิตเราไปแล้ว งานคือความสุขของเรามนุษย์วิ่งหาอะไร ที่จริงก็วิ่งหาความสุข ไม่ว่าการสร้างวัด การบวช การหางานที่ทำแล้วมีความสุข เคยท้ออยากหยุดเหนื่อยการสื่อสารการระดมทุน แต่สุดท้ายก็ทิ้งมันไปไม่ได้ก็เดินต่อแต่ค่อยๆเดินค่อยๆก้าว ไปพร้อมกันอย่างมีความสุข พราะไปทำงานที่อื่นมันคงไม่ใช่ตัวเรา เราก็คงต้องวิ่งไปหาสิ่งที่เป็นตัวเราเสมอไป เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ขอบคุณอุปสรรคที่สอนให้เราโตพอเราผ่านมาได้เรารู้ว่ามันคุ้มที่ยังเดินต่อ รักในสิ่งที่ทำทำในสิ่งนั้นเพราะเรามีความสุข”