ผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 29 พย 55
25 June 2015
994
สำหรับค่าไฟฟ้าเอฟทีมีการคิดคำนวณ โดย
๑ ค่าต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตไฟฟ้า ในสัดส่วน๒๗%ของค่าเอฟที
๒ ต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในสัดส่วน ๗๒%ของค่าเอฟที กฟผ รับซื้อไฟจากบริษัทเอกชน ในราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ทำให้เอกชนที่ผลิตไฟฟ้ามีกำไรเพิ่ม เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท EGCO
๓ ชดเชยค่าไฟฟ้าพลังงานทดแทน และอื่นๆตามนโยบายรัฐ ๑%
เมื่อเข้าไปดูการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน พบว่า กฟผ รับซื้อในราคาที่สูงกว่า บริษัทเอกชน อื่นๆ คืออยู่ที่ ๓.๐๕๖๙ บาทต่อหน่วย เอกชนรายอื่นอยู่ที่ ๐.๗-๒.๖๗๒๘ บาทต่อหน่วย ( เอกสารแนบ ๑ ) เมื่อเข้าไปดูรายชื่อกรรมการปรากฎชื่อ นายนายคุรุจิต นาครทรรพเป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีตำแหน่ง เป็นรองปลัดกระทรวงพลังงาน และกรรมการในคณะกรรมการ กฟผ. ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
กรรมการใน ราชบุรีโฮลดิ้งมี หลายคนที่เป็น เจ้าหน้าที่ในกฟผ. เช่น ในตาราง
เช่นเดียวกัน บริษัทEGCO (เอ็กโก) (รับซื้อค่าไฟฟ้า จากเอกชนในราคา ๒.๔๘-๒.๖๗ บาทต่อ หน่วย ในส่วนที่แพงกว่าหลายบริษัท รองจากบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี ) มีบริษัทในเครือคือ RY= บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง, NK = บริษัทผลิตไฟฟ้าขนอม, GPG = บริษัทกัลลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด มี นายพรชัย รุจิประภา เป็นประธานคณะกรรมการ และยังเป็นอดีต ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการ กฟผ.
(อ้างอิงhttp://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=EGCO&language=th&country=TH)
กฟผ ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการคือ นายพรชัย รุจิประภา และรองประธานได้แก่นายคุรุจิต นาครทรรพ ทั้งสองคนได้รับผลประโยชน์ในรูปโบนัสมากน้อย ตามกำไรบริษัทเอกชนที่เป็นกรรมการ
http://gphone.prd.go.th/dp.php?MID=22&DID=178
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
ลำดับ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่งราชการ |
ตำแหน่งใน บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) |
1. |
นายคุรุจิต นาครทรรพ |
- รองปลัดก.พลังงาน
-รองประธานบอร์ด กฟผ. |
ประธาน คณะกรรมการ |
2. |
นายนพพล มิลินทางกูร |
รองผู้ว่ากฟผ. |
กรรมการผู้จัดการใหญ่ |
3. |
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ |
ผู้ว่าการการ กฟผ. |
กรรมการ |
4. |
นายตระกูล วินิจนัยภาค |
รองอัยการสูงสุด |
กรรมการ |
5. |
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ |
รองผู้ว่า กฟผ |
กรรมการ |
6. |
นายธนา พุฒรังสี |
ผูชวยผูวาการ กฟผ |
กรรมการ |
7. |
นายสาธิต รังคสิริ |
อธิบดีกรมสรรพากร |
กรรมการ |
กำไรล้านบาท |
ปี 54 จำนวน 4,840.64 |
ปี 55 ( กย ) 6,875.02 |
รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ |
|
|
|
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด |
41,964,699 |
2.89 |
|
|
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (โสภณพนิช) |
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (ล่ำซำ) |
|
|
กองทุนเปิด กรุงศรีหุ้นระยะยาว |
10,882,600 |
0.75 |
|
นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ (อดีต รองปตท) |
|
|
|
|
|
บริษัทผลิตไฟฟ้า EGCO
ลดับ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่งราชการ |
ตำแหน่งใน บริษัท ผลิตไฟฟ้า EGCO ( รวมบรษัทผลิตไฟฟ้า RY KN GPG) |
8. |
นายพรชัย รุจิประภา |
อดีต ปลัดก.พลังงาน ,อดีต กบง. |
ประธานคณะกรรมการ |
9. |
นายสหัส ประทักษ์นุกูล |
กรรมการกฟผ |
กรรมการ |
10. |
นายกุลิศ สมบัติศิริ |
ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง |
กรรมการ |
11. |
นายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ |
รองผู้ว่าการกฟผ. |
กรรมการ |
12. |
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ |
อธิบดีอัยการ ฯ สำนักงานอัยการสูงสุด |
กรรมการ
|
กำไร |
ปี 54 จำนวน 4989.53 ล้านบาท |
ปี 55 ( กย ) 10,039.11 ล้านบาท. |
รายชื่าอผู้ถือหุ้นใหญ่ |
|
กฟผ. |
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด |
|
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) |
กองทุนเปิด บัวหลวง |
|
สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) |
บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด |
|
บริษัทต่างชาติ |
ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
|
|
|
|
|
อ้างอิง -
http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=RATCH&language=en&country=US
-http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=EGCO&language=th&country=TH
ดังนั้น ความผิดปกติของการเจรจารับซื้อไฟฟ้า จึงเป็นการปฏิบัติ หน้าที่เอื้อ ธุรกิจเอกชน และมีผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ถูกกฎหมาย เนื่องจาก รัฐบาลได้แก้ไขข้อกฎหมายไว้แล้วใน พรบ
ดัง นั้นเหตุของความเดือดร้อนของประชาชนมาจากผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมายของ นักการเมือง ข้าราชการที่สร้างเกณฑ์ให้เอื้อต่อการมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมาย มาทุกสมัย
1 สมัยชวน หลีกภัย กฎหมาย พรบ. ปปชพศ 2542 มาตรา 102
มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่
(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น
(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม
มาตรา 102 บทบัญญัติมาตรา 100 มิ ให้นำมาใช้บังคับกับการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมอบหมายให้ ปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัท มหาชนจำกัดที่หน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเข้าร่วมทุน
2 สมัย สุรยุทธ จุลานนท์ แก้ไข ให้อำนาจ ข้าราชการ มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550มาตรา 5 กรรมการของรัฐวิสาหกิจ..(10) ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดสรร หรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน ผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น เว้นแต่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารโดยการมอบหมายของรัฐวิสาหกิจนั้น