11 May 2015
947
จากผลการศึกษา เรื่อง “การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ทางฟรีทีวี ช่อง3, 5, 7 และ ช่อง9” ของ มีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับ แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ(FHP) พบว่า ร้อยละ 94 ของอาหารและเครื่องดื่มที่โฆษณา มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม แต่ใช้กลยุทธ์การโฆษณาเพื่อโน้มน้าวเชิญชวนให้บริโภค ทั้งการใช้พรีเซ็นเตอร์ดารา คนดัง ตัวการ์ตูน การทำให้อาหารมีขนาดใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง การเน้นเรื่องรสชาติ การกระตุ้นให้บริโภคเกินจำเป็น บริโภคแทนอาหารมื้อหลัก การโน้มนำว่ามีคุณค่า ราคาถูก บริโภคแล้วจะเด่น หากไม่บริโภคแล้วจะด้อยกว่าคนอื่น ทั้งมีเนื้อหาส่อไปในทางเพศซึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ ยังพบโฆษณาแฝงทุกรูปแบบอีกด้วย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็กฯ กระตุ้นความต้องการบริโภคโดยเฉพาะอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม ในขณะที่ กฎหมายควบคุมการโฆษณาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมรูปแบบและเนื้อหาที่มีอยู่ในชิ้นงานโฆษณาที่ปรากฏในรายการสำหรับเด็กฯ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมีมาตรการในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดเหมือนกับประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลียที่มีกลไกการกำกับดูแลร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ในการติดตามเฝ้าระวังและการลงโทษโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เห็นว่า ควรผลักดันให้กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้จริง รวมทั้ง ปรับเปลี่ยนค่านิยม “ความสุขในการกินอาหาร ” จากความพึงพอใจในรสชาติหวาน มัน เค็ม และรูปลักษณ์ที่น่าทาน มาเป็นอาหารให้แคลอรีต่ำ มีรสชาติจืด ฝืด เฝื่อน ขม รูปลักษณ์ไม่น่าทาน แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน ขณะที่ เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อและเยาวชน (สสย.) เสนอว่า ควรมีการขับเคลื่อนทางสังคม การก่อตั้งองค์กรเฝ้าระวังโฆษณาสำหรับเด็ก การสร้างกลไกการป้องกันโดยร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน สังคม ไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อกระแสบริโภคนิยม เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ ในส่วนผู้เข้าร่วมเวทีการเสวนา เรื่อง “โฆษณาอาหารในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ให้ข้อมูล? คุณค่า? หรือ พิษภัย?” เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ การคุ้มครองผู้บริโภค โภชนาการ จิตวิทยาเด็ก ฯลฯ ได้เสนอความเห็นที่น่าสนใจ คือ