Back

ความเห็นต่อกรณีอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ชี้แจงการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลาเพื่ออุตสาหกรรมหิน

19 March 2020

1322

ความเห็นต่อกรณีอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา  ชี้แจงการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลาเพื่ออุตสาหกรรมหิน

ขอบคุณภาพจาก กรีนนิวส์ ; https://greennews.agency/?p=20360


ตามที่นายสัมพันธ์ โฆษิตพล อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ได้ออกมาชี้แจงและให้ความเห็นเกี่ยวกับประกาศ
กรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา ในพื้นที่ตำบลลิดลและตำบลยะลา อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา ว่า ในกรณีของการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลา เพื่ออุตสาหกรรมหินนั้น อยู่ในการตัดสินใจ
ของประชาชน ว่าจะอนุรักษ์เขายะลา หรือ ยอมเสียสละเพื่ออุตสาหกรรมหิน ให้ราคาหินลดลง เนื่องจากในปัจจุบัน
นั้น ราคาหินที่จังหวัดยะลาแพง คิวหนึ่งประมาณ 500 กว่าบาท ในขณะที่ภาคกลางหรือที่อื่นนั้นคิวหนึ่งอยูที่ 200
กว่าบาท ซึ่งถ้าหากประชาชนยอมสละ ก็จะทำให้ราคาหินถูกลง ส่วนเรื่องการรุกล้ำพื้นที่เขตโบราณสถานนั้น นาย
สัมพันธ์ โฆษิต อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ระบุว่า การทำเหมืองนั้น จะอยู่ในการควบคุมของกรมอุตสาหกรรมและ
การเหมืองแร่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดและจะไม่ปล่อยให้มีการทำเหมืองนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต โดยทุก
เดือนจะมีการทำรายงานและการตรวจสอบโดยวิศวกร ของกรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ยืนยันว่าที่ผ่านมายังไม่พบ
การทำอุตสาหกรรมลุกล้ำนอกเหนือพื้นที่ได้รับอนุญาต นั้น
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่เห็นว่า มุมมองดังกล่าวเป็นมุมมองที่มีทัศนคติคับแคบเกินไป ซึ่งควร
มองในมุมกว้างแบบภาพรวมมากกว่านี้ ซึ่งการอ้างว่า ต้องให้ประชาชนเสียสละเพื่อให้มีการทำเหมืองหิน
อุตสาหกรรมต่อไปและจะทำให้หินมีราคาถูกลง แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุดกลับไม่ใช่
ประชาชนในพื้นที่ แต่เป็นผู้ประกอบการทำเหมืองและนายทุนรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการเกร็งกำไรในการประกอบ
กิจการให้ได้มากกว่าเดิมเท่านั้น โดยการเสียสละของประชาชนต้องสอดคล้องกับคุณภาพชีวิตที่สมควรได้จากสุนทรี
ยะของหินในแง่มุมอื่นที่ไม่ใช่เพียงในแง่ที่หินเหล่านั้นมีมูลค่าราคาตันละเท่าไหร่เท่านั้น ซึ่งการทำเหมืองหนึ่งๆ รวม
ทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง มักละเลยการคำนวนคุณค่าและผลประโยชน์ทางนิเวศวิทยา และบกพร่องในการคำนึง
ถึงแรงตึงเครียดทางชีวภาพและกายภาพของพื้นที่หนึ่งๆ ที่จะต้องแบกรับจากการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาได้ โดย
ถ้าหากคำนึงในแง่การเสียสละของคนในพื้นที่ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวด้วย และการที่คนในพื้นที่ออกมาปกป้อง
อนุรักษ์ และพยายามจัดการนิเวศวิทยาท้องถิ่น เนื่องจากเห็นถึงคุณประโยชน์ของการมีสุนทรียภาพและปฏิสัมพันธ์
ทางธรรมชาติในแง่มุมอื่น ก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้โดยชอบธรรม
ซึ่งความเห็นของอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา แสดงให้เห็นถึงเจตนาในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราช
บัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งกฎหมายแร่ไม่ได้อนุญาตหรืออนุโลมให้มีการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในพื้นที่สงวน
หวงห้ามตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ได้ รวมทั้งไม่ได้บัญญัติให้อุตสาหกรรมจังหวัดยกเว้นการที่ต้องสำรวจ
ตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ในเขตอำนาจของตัวเองว่า พื้นที่ใดควรจัดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองได้ และพื้นที่
ใดเข้าข่ายเป็นเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 17 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งต้องกันออกจาก
การเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามกฎหมาย


เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
11 มีนาคม 2563

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112