Back

สรุปสถานการณ์การย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและครอบครัว พร้อมทั้งจัดเกรดนโยบายย้ายถิ่นรัฐบาลตู่ “รุ่ง” หรือ “ร่วง”

19 December 2019

2129

สรุปสถานการณ์การย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและครอบครัว พร้อมทั้งจัดเกรดนโยบายย้ายถิ่นรัฐบาลตู่ “รุ่ง” หรือ “ร่วง”

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติจัดเวทีแถลง สรุปสถานการณ์การย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและครอบครัว พร้อมทั้งจัดเกรดนโยบายย้ายถิ่นรัฐบาลตู่ “รุ่ง” หรือ “ร่วง” เนื่องในวันผู้ย้ายถิ่นสากล หลายฝ่ายประสานเสียงครม.ตู่สอบตกร่วงทุกประเด็น   ระบุการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีความก้าวหน้าทั้งมาตรการการคุ้มครองแกนนำแรงงานที่ถูกฟ้องคดีปิดปากร่วมกับนักข่าว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักวิชาการกว่า 20 คดี และการคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ชายแดนให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมห่วงกระบวนการต่อใบอนุญาตทำงานปี 63 อาจล่าช้าซ้ำรอยปี 60 จนส่งผลให้แรงงานข้ามชาติหลุดออกจากระบบมากถึง 811,437 คน  เปิดข้อมูลยังการกีดกันแรงงานข้ามชาติจากการก่อตั้งสหภาพแรงงานของตนเองในสถานประกอบการจี้รัฐเร่งออกอนุบัญญัติ-ระเบียบ เพื่อนำไปสู่การบังคับกฎหมาย พร้อมให้สัตยาบันเปิดทางสิทธิในรวมตัวต่อรอง เพิ่มการมีส่วนร่วมแบบไตรภาคีบวกของแรงงาน ขณะที่เด็กข้ามชาติยังไม่พ้นวิกฤต ปิด10 ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดระนองทำเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ผู้เข้าร่วมงานแฉมีแม่ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้นำหมู่บ้านเพื่อแลกกับการทำบัตรประจำตัวให้กับลูก พร้อมระบุนโยบายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการรับรองทำบัตรเปิดโอกาสให้เกิดการคอรัปชั่นและเรียกรับผลประโยชน์

 

                เมื่อวันที่18 ธันวาคม ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ แถลงข่าว “จัดเกรดนโยบายการย้ายถิ่นของรัฐบาลตู่” รุ่งหรือ ร่วง เนื่องในวันผู้ย้ายถิ่นสากลปี2562  (International Migrants Day 2019) UNTAPPED POWER: MIGRATION REDEFINED, WORKERS REUNITED  ปลดปล่อยพลัง ผูกใจคนใช้แรงงานเป็นหนึ่งเดียว

                นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ สรุปสถานการณ์การย้ายถิ่นและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ในปี พ..2562 ว่า แม้ว่าในปี 2561  ไทยประสบความสำเร็จในการยุตินโยบายการผ่อนผันแรงงานข้ามชาติที่ยังมีสถานะหลบหนีเข้าเมือง ทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย  และเน้นการนำเข้าตามระบบ MOU ได้มากขึ้น แต่ในปี 2562 พบว่ามีการจับกุมขบวนการนำพาคนข้ามชาติผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีการจับกุมไม่ต่ำกว่า ครั้ง มีผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติที่ถูกจับกุมมากกว่า 100 คน   นอกจากนี้ยังพบว่า กลไกการคุ้มครองตามกฎหมาย คือ พ...การคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.. 2562 และพ...แก้ไขเพิ่มเติมพ...ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.. 2551 และ พ..2562  ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และไม่ตอบสนองต่อหลักการใหญ่ของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในมากนัก  เช่น ระบบประกันสังคมของแรงงานในกิจการประมงทะเล  ที่ขาดมาตรการในการเข้าถึงการคุ้มครองของแรงงานข้ามชาติที่ชัดเจน ขณะเดียวกันในการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีความก้าวหน้าใดๆ ทั้งมาตรการการคุ้มครองแกนนำแรงงานที่ถูกฟ้องคดีปิดปาก  รวมถึงการคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ชายแดนให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การคุ้มครองทางสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นความถดถอยของการมีมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานของไทยเช่นกัน

                ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีความล่าช้าของการแก้ไขปัญหาเด็กที่ไม่มีสัญชาติในระบบการศึกษาของไทย ซึ่งพบว่าในช่วง ปีที่ผ่านมา แก้ไขปัญหาได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด  ขณะเดียวกันการจัดตั้งศูนย์การเรียนก็ยังมีอุปสรรคในการดำเนินการจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย จนในปีที่ผ่านมามีการปิดศูนย์การเรียน และทำให้เด็กข้ามชาติจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพวกเขาอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน ซึ่งมีความเสี่ยงหรือเป็นที่จับตามองว่าสถานการณ์การเข้าไม่ถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวจะผลักให้เด็กกลับไปสู่วงจรการใช้แรงงานเด็กได้หรือไม่

                “การขาดความใส่ใจ กลไกที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและประชากรข้ามชาติ ทำให้กฎหมายและนโยบายที่ดีของไทยขาดประสิทธิภาพ ความล่าช้าในการดำเนินการตามกฎหมายนโยบายกลายเป็นโซ่ตรวนที่ฉุดรั้งการได้รับการคุ้มครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติและประชากรข้ามชาติทั้งหมด การพยายามเล่นเกมส์การเมืองโดยการมองข้ามความสำคัญของสิทธิในการรวมตัวต่อรอง และกลไกสำคัญในการให้แรงงานทุกคนในประเทศไทยได้ปกป้องและคุ้มครองตัวเองซึ่งทำให้ทิศทางเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงานเข้าสู่ภาวะตกต่ำ และยังเป็นพันธนาการที่ผูกมัดแรงงานทั้งหมดในประเทศไทยให้ถูกละเมิดซ้ำ ๆ ดังนั้นประเทศไทยแม้จะดูมีความพยายามแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สอบตกในเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและคนข้ามชาติ”นายอดิศรระบุ

 

เตือนต่อใบอนุญาตทำงาน มีปัญหาซ้ำรอยปี60

 

                ขณะที่เวทีแถลงข่าว จัดเกรดนโยบายการย้ายถิ่นของรัฐบาลตู่”รุ่งหรือร่วงผ่านการให้เกรดคะแนนรัฐบาลโดยองค์กรเครือข่ายด้านประชากรข้ามชาติในประเด็นต่างๆนั้น นายอดิศรได้ระบุในเวทีจัดเกรดในเรื่องการบริหารจัดการแรงงานข้ามตามมาตรฐานสากลว่า ตนขอให้เกรดรัฐบาลชุดนี้ร่วง เพราะกรณีการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ซึ่งดำเนินอยู่ในขณะนี้และมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม พ.. 2563 มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยกรณีต่ออายุใบอนุญาตทำงานในปี พ.. 2560 ซึ่งพบว่ามีแรงงานข้ามชาติที่หายไปจากกลุ่มจำนวนตัวเลขเป้าหมายที่ต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติจำนวนสูงถึง 811,437 คน   นอกจากนี้ยังมีการกีดกันแรงงานข้ามชาติจากการก่อตั้งสหภาพแรงงานของตนเองขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในสถานประกอบการ ดังนั้นแล้วเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงแรงงานเร่งดำเนินการ  ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ออกกฎหมายอนุบัญญัติและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่บังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติโดยเร็วที่สุด และควรให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 ว่าด้วยว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ค.. 1948 และ อนุสัญญาฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองอย่างเร่งด่วน รวมทั้งดำเนินการพิจารณาหากลไกในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ถือเอกสารจ้างงานชายแดนในเร็ววัน โดยในทุกประเด็นที่กล่าวมาควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อความโปร่งใสตามหลักการ‘ไตรภาคีบวก’

                มีความเป็นห่วงว่า การต่อใบอนุญาตการทำงานในอีกไม่กี่เดือนนี้ จะซ้ำรอยปี 2560 เพราะสองปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีความพร้อมใดๆในการพัฒนาระบบการต่ออายุ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่ารัฐบาลมีการดำเนินการสองส่วนโดยในส่วนของระบบออนไลน์ที่ค่อนข้างล้มเหลว ระบบล่มไม่สามารถดำเนินการต่อได้ อีกทั้งหากต้องการเปลี่ยนนายจ้าง จะต้องให้อดีตนายจ้างมาเซ็นรับรอง   ทำให้ต่อไปแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย อาจจะกลายเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายทันทีหากเปลี่ยนนายจ้าง   ซึ่งมีความกังวลว่าจะมีแรงงานนับแสนคน จะหลุดออกจากระบบในการต่ออายุปี 2563 นี้นายอดิศรระบุ

 

“วิกฤตปิด10 ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดระนองทำ เด็กข้ามชาติขาดโอกาสทางการศึกษา”

 

                ด้าน น.ส.ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิเพื่อเยาวชนบท ได้ร่วมจัดเกรดนโยบายการย้ายถิ่นของรัฐบาลชุดนี้ในประเด็นเรื่องการปิดศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติและการแก้ไขปัญหาเด็กที่ไม่มีเอกสารแสดงตนในสถานศึกษา (เด็กติด G) โดยน.ส.ลัดดาวัลย์กล่าวว่า ตนขอให้เกรดรัฐบาลชุดนี้ร่วงด้วยเช่นกัน เนื่องจากการปิดศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติและการแก้ไขปัญหาเด็กที่ไม่มีเอกสารแสดงตนในสถานศึกษานั้น ปัจจุบันมีเด็กข้ามชาติรวมถึงเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยกลุ่มอื่นๆ ได้รับการศึกษาประมาณ 160,000 คน แต่ยังมีเด็กข้ามชาติกว่า 200,000 คน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาใดๆ ขณะที่การศึกษาในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ หรือ MLC  จำนวน128 แห่งใน 18 จังหวัด ซึ่งมีเด็กข้ามชาติเข้าเรียนจำนวน 19,410 คน มีครูผู้สอนจำนวน 962 คน ทั้งครูไทยและครูเมียนมา แต่ศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ  ไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย ทำให้สถานะนักเรียน หลักสูตรที่ใช้ ไม่ได้รับการรับรองตามไปด้วยส่งผลให้เด็กไม่สามารถใช้วุฒิการศึกษาในการทำงาน และการเรียนต่อได้อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้สถานะของครูผู้สอน ยังเป็นการจ้างงานไม่ตรงกับประเภทงานที่รัฐอนุญาตให้ทำ จนนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์กวาดจับผู้สอนในศูนย์การเรียนบางแห่งในจังหวัดระนอง ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีใบอนุญาตทำงานผิดประเภทการจ้างงาน  ส่งผลให้ศูนย์การเรียนทั้ง 10 แห่งในจังหวัดระนองต้องปิดตัวลง กระทบต่อเด็กในศูนย์การเรียนที่ต้องถูกปิดลงจำนวน 2,856 คน ต้องสูญเสียโอกาสทางการศึกษา

                “แม้การย้ายเด็กเข้าไปเรียนในโรงเรียนไทยทั้งหมดจะเป็นแนวทางที่ดี แต่ในทางปฏิบัติพบว่า มีเด็กจากศูนย์การเรียนเพียงประมาณ 300 คนเท่านั้น ที่เข้าไปเรียนในโรงเรียนไทย ขณะนี้ปัญหาใหญ่คือ เด็กกว่า 2,000 คน ยังคงอยู่ในชุมชน และกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพ่อแม่ยังทำงานอยู่ในไทย ดังนั้น ควรหาช่องทางการปรับสถานะและคุณภาพของศูนย์การเรียน  โดยที่ศูนย์การเรียนสามารถเปิดดำเนินการได้ นอกจากนี้ควรให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาของเด็กข้ามชาติที่ชัดเจนทั้งในทุกระดับ และกระทรวงแรงงาน ควรพิจารณากำหนดประเภทอาชีพที่อนุญาตให้คนต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน ให้สามารถเข้ามาทำงานเพื่อสอนหนังสือให้กับเด็กข้ามชาติในศูนย์การเรียนรู้ได้" น.ส.ลัดดาวัลย์ระบุ

                น.ส.ลัดดาวัลย์ ยังกล่าวถึง  การแก้ไขปัญหาเด็กติด ในสถานศึกษา ว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่วันนี้สามารถกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักของกระทรวงมหาดไทยให้เด็กเพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานได้ไม่ถึงร้อยละ10 หรือเพียง 3,400 คน จากจำนวนเด็กนักเรียนรหัส G ปีการศึกษา  2559 ทั่วประเทศ จำนวน 92,749 คน ขณะเดียวกันยังพบว่าอาจมีเด็กบางส่วนตกหล่นในการสำรวจ เช่น มีการกำหนดรหัสขึ้นต้นด้วยอักษรอื่น ๆ ในสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ เช่น รหัส P หรือ รหัส 0 ด้วย รวมถึงควรประสานไปยังต้นสังกัดสถานศึกษาให้ครบทุกสังกัด และเน้นย้ำแนวทางการปฏิบัติฯ การติดตาม ช่วยเหลือสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

 “ เรียกร้องรัฐให้มีมาตรการคัดกรองผู้ลี้ภัยที่เป็นสากล 

 

ขณะที่น.ส. รวิสรา เปียขุนทด ผู้แทนเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ กล่าวถึงนโยบายคัดกรองและคุ้มครองผู้ลี้ภัย ความหวังที่ยังมาไม่ถึงพร้อมให้คะแนนรัฐบาลชุดนี้ในการบริการจัดการผู้ลี้ภัยซึ่งมีความก้าวหน้าไปในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามยังคงต้องการการจับตามองจากภาคประชาสังคมอย่างใกล้ชิด จึงให้เกรดอยู่ระหว่างกลางรุ่งหรือร่วง โดยน.ส.รวิสราระบุว่า ข้อมูลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประเทศไทยรองรับผู้ลี้ภัยประมาณ 93,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากเมียนมา ซึ่งอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบริเวณพรมแดนไทย-เมียนมา และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ลี้ภัยในเขตเมืองประมาณ 6,000 คนจากกว่า 40 ประเทศ รวมถึงปากีสถาน เวียดนาม โซมาเลีย อิรัก ปาเลสไตน์ ซีเรีย จีน และประเทศอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการขอการรับรองสถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR และส่วนใหญ่ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้มีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากในปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่ได้รับรองสถานะการแสวงหาที่ลี้ภัยของกลุ่มดังกล่าว ผู้ลี้ภัยจึงมักถูกจับกุมตามความผิดข้อหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรืออยู่เกินกำหนด และถูกกักตัวโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่ชัด

                น.ส.รวิสรา กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดทำร่างระเบียบการคัดกรองและบริหารจัดการประชากรผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ซึ่งองค์กรที่ทำงานกับผู้ลี้ภัยในไทย 13 แห่ง เรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำระเบียบที่ครอบคลุมเนื้อหาเพื่อประกันการป้องกันเพื่อไม่ให้มีการส่งกลับไปยังประเทศที่อาจเสี่ยงต่อการถูกทรมาน ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2550 รวมทั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ให้จัดทำเนื้อหาของระเบียบฯ ที่สอดคล้องกับนิยามของคำว่าผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 และสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ให้บุคคลทุกคนสามารถเข้าถึงกลไกการขอสถานะผู้ลี้ภัยอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เข้าถึงสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งโดยศาลที่เป็นอิสระ เข้าถึงการมีผู้แทนด้านกฎหมาย เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และประกันสุขภาพ เข้าถึงโอกาสในการศึกษา โอกาสในการทำงานและความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ

"ผู้ลี้ภัยทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ บุคคลที่เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง สามารถเข้าถึงทนายความที่มีความสามารถ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีล่ามที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีหลักประกันในขั้นตอนปฏิบัติ ได้รับโอกาสที่จะสามารถนำเสนอข้อมูลและพยานหลักฐานเกี่ยวกับสภาพที่เกิดขึ้นกับตน นอกจากนี้ผู้เข้ารับการคัดกรองต้องได้รับแจ้งผลการตัดสินอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเป็นคำวินิจฉัยที่มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะสามารถยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้หากต้องการ และที่สำคัญคือข้อมูลรวมทั้งการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ต้องอยู่บนหลักการของการของการเก็บรักษาความ

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112