Back

การออกแบบประชาธิปไตยของภาคประชาชน

9 June 2018

3733

การออกแบบประชาธิปไตยของภาคประชาชน

ขอบคุณภาพจากกรีนเวิร์ล : http://www.web.greenworld.or.th/greenworld/local/2199 

เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับความจริงว่า ขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยภาคประชาชนบ้านเรามาถึงทางตัน ตันอยู่หลายปีตันร่วมทศวรรษแล้ว ถ้าย้อนนึกคิดทบทวนไป ตั้งแต่เริ่มมีการปลุกม็อบชนม็อบ การที่รัฐเริ่มทำหน้าที่ฟ้องประชาชนที่ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง ตั้งแต่เริ่มมีการขับไล่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การปรบมือมอบดอกไม้ให้ยึดอำนาจและจนถึงตั้งแต่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง .

ทำไมประชาธิปไตยบ้านเรา จึงไม่สามารถเกิดขึ้นหรือมีพัฒนาการที่ดูน่าสมเหตุสมผลกับการเวลา ทำไมจึงดูเหมือนว่าเดินหนึ่งก้าวถอยหลังสองก้าวอยู่เสมอ และทำไมจึงดูเหมือนว่า เราไม่ชอบระบอบประชาธิปไตย จริงๆจังๆ นั่นเพราะเราคิดว่า เมื่อเรายอมรับหลักการ เราเลือกตั้งแล้ว เราก็จะเป็นสังคมประชาธิปไตย เราจะได้บ้านเมืองที่ดี เราจะพบชีวิตที่มีความสุขภายใต้รัฐบาลที่ดีและราชการที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ความจริงที่ปรากฏ คือ ไม่เป็นเช่นนั้นหรือตรงกันข้าม นั่นเพราะภาคประชาชนยังขาด กระบวนการที่สำคัญ คือ .

ประการแรกคือ การมีส่วนร่วม อย่างแท้จริงๆ ในทุกๆ ขั้นตอน ซึ่งความจริงประชาชนคนไทยมีความพร้อมและมีทักษะมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง อย่างน้อยตระหนักในสิทธิ์ของตนเองซึ่งพอสร้างสรรค์ประชาธิปไตยได้ แต่ยังถูกจำกัดจากความเคยชินของระบบราชการและฝ่ายบริหารของท้องถิ่น ดังนั้น ประชาชนต้องพยายามทำให้ตนเองคุ้นเคยและทำให้หน่วยงานทั้งราชการและการเมืองคุ้นเคย .

ประการที่สอง คือ เรื่องการควบคุมตรวจสอบ การตรวจสอบการทำงาน ไม่ใช่แค่หน้าที่ในสภา เท่านั้น แต่ประชาชนที่ซึ่งอยู่นอกสภาเองก็ต้องติดตาม สืบเสาะหา และนำเสนอวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของราชการและการเมือง เพื่อให้การบริหาร การกำหนดนโยบาย ตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพ นี่เป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย และการเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์การเมืองให้มีคุณภาพ ภาคประชาชนยังอ่อนแอ และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในเรื่องนี้ ที่สำคัญยังร่วมมือกันในทุกๆระดับได้ไม่ดีพอ ทั้งท้องถิ่นและระดับชาติ .

ประการที่สาม คือ ต้องมีความพยายามรักษาไว้ซึ่งบรรยากาศประชาธิปไตย เรื่องนี้สังเกตได้จากหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด เกิดการเก็บเงียบและหันหลังให้การเมือง ทำให้กระบวนการใช้อำนาจของรัฐบาทหาร ไร้ขอบเขต รุกคืบจำกัดเสรีภาพ ร่างและใช้กฎหมายที่ก้าวล้ำสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนอย่างมาก ทำลายหลักการทางกฎหมาย ทำลายกระบวนการยุติธรรม ใช้ดุลยพินิจตนเองแทนกฎหมาย ที่สำคัญทำลายบรรยากาศประชาธิปไตย ทำให้สังคมก้มหน้าเก็บงำซึ่งลดทอนพลังการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ประชาธิปไตย ดังนั้น การเงียบคือภัยร้ายแรงสำหรับการพัฒนาประชาธิไตย .

ประการที่สี่ภาคประชาชนต้องมีจินตนาการร่วมกัน ถึงสังคมประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น หรืออนาคตสังคมไทย ตอนนี้ รากลึกความขัดแย้งมันไม่ได้ยุติอย่างที่เข้าใจ แต่กลับยังคงอยู่ และพร้อมเผชิญหน้า ดูจากท่าทีและคำประกาศของผู้นำพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่กำลังเปิดตัว ทำให้ยังคงเห็นภาพว่า คนไทยแตกแยกไปจนถึงอนาคต หมายถึง ต่างฝ่ายต่างมองประชาธิปไตยคนละแบบ ไม่มีจุดเชื่อมร่วม ไม่สร้างหลักการสำคัญให้เป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย .

ดังนั้น ในเวลานี้ ต่อให้มีการเลือกตั้ง มีบรรยากาศประชาธิปไตยกลับมา แต่ก็จะเป็นบรรยากาศแบบปลอมๆ เพราะความคิด ความเข้าใจ ในหลักการสำคัญๆ อาทิ ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ว่าจะเลือกใคร เลือกอะไร เลือกนโยบายอย่างไร หากไม่ยุติและยอมรับหลักการสำคัญๆ ร่วมกัน ก็ยากที่สถาปนาประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพจริงๆ ขึ้นมาได้ ภาคประชาชนก็จะได้แต่ประชาธิปไตยปลอมๆ ที่พร้อมจะฉีก และเอารถถังออกมา !!

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112